Tuesday, March 20, 2012

ปัญหาวินัยมุข นักธรรมชั้นตรี กัณฑ์ที่ ๓ - ๔ อบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดพระธรรมกาย

.         .     อาทิพรหมจริยากาสิกขา  คืออะไร ?  ๒๕๓๘
            .    อภิสมาจาริกาสิกขา  คืออะไร ? ๒๕๓๘
.        .    ภิกษุฆ่าสัตว์ให้ตายเป็นอาบัติอะไร ? ๒๕๔๔
            .   ภิกษุพยายามจะฆ่าตนเองเป็นอาบัติอะไร ? ๒๕๔๔
.        .     อุตตริมนุสสธรรมคืออะไร  มีอะไรบ้าง ? ๒๕๔๓
            .    ปาราชิก ๔ ข้อไหนเป็นสจิตตกะ  ข้อไหนเป็นอจิตตกะ  ทำไมเป็นเช่นนั้น ? ๒๕๔๓
.        .     ภิกษุทำอะไรบ้าง  จึงขาดจากความเป็นภิกษุ  ภายหลังกลับอุปสมบทอีกได้
หรือไม่ ? ๒๕๔๒
            .    ปาราชิกนั้นต้องล่วงละเมิดทั้ง ๔ ข้อ  หรือเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง  จึงเป็น
ปาราชิก  จงแถลงมาดู ? ๒๕๔๒
.        .    ภิกษุพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมอย่างไร  จึงต้องอาบัติ ? ๒๕๔๑
            .   ปาราชิก ๔ สิกขาบท สิกขาบทไหนเป็นสาณัตติกะ อนาณัตติกะ ? ๒๕๔๑
.         .     ทรัพย์ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์  เมื่อรวมแล้วมีกี่ประเภท  อะไรบ้าง ?  ๒๕๓๙
            .    ภิกษุที่ต้องอาบัติเพราะทรัพย์ของตนเองนั้นมีหรือไม่  จงชี้แจง ? ๒๕๓๙
.        .    จงบอกสิกขาบทที่ ๑ และที่ ๒ แห่งปาราชิกมาให้ดู ? ๒๕๔๓
            .   จงบอกสิกขาบทที่ ๓ และที่ ๔ แห่งปาราชิกมาให้ดู ? ๒๕๔๓
.        .     ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว  มีผลอย่างไร ? ๒๕๓๘
            .    ภิกษุถูกข่มขืนต้องอาบัติอะไร ? ๒๕๓๘
.         .     คำว่า  ลักสับ  หมายความว่าอย่างไร ? ๒๕๓๘
            .    อาการที่ไม่เป็น อทินนาทานมี ๔ คืออะไรบ้าง ?  ๒๕๓๖
๑๐.      ๑๐.   ทรัพย์ราคา ๕ มาสก  เทียบเท่าราคาทองคำหนักกี่เมล็ดข้าวเปลือก ? ๒๕๓๖
            ๑๐.  จงอ้างสิกขาบทที่บัญญัติไว้ไม่ให้โหดร้าย  และใจความข้อนั้นมีว่าอย่างไร ? ๒๕๔๑

เฉลยวินัยมุข  นักธรรมชั้นตรี

กัณฑ์ที่  -
อบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง    วัดพระธรรมกาย
*************************************
.         .     อาทิพรหมจริยกาสิกขา  คือ ข้อศึกษาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
            .    อภิสมาจาริกาสิกขา คือ ข้อศึกษาเนื่องด้วยอภิสมาจารคือมารยาทอันดีงาม
.        .    ถ้าเป็นสัตว์มนุษย์  เป็นอาบัติปาราชิก  สัตว์ที่เรียกว่า  อมนุษย์  เช่น ยักษ์ 

เปรต  และสัตว์ดิรัจฉานมีฤทธิ์  จำแลงกายเป็นมนุษย์ได้  เป็นอาบัติถุลลัจจัย 

ดิรัจฉานทั่วไป  เป็นอาบัติปาจิตตีย์
            .   ภิกษุพยายามจะฆ่าตัวเองเป็นอาบัติทุกกฏ
.        .     อุตตริมนุสสธรรม  คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์  หรือคุณอย่างยวดยิ่งของ
มนุษย์  มีฌาน  วิโมกข์  สมาธิ  สมาบัติ  มรรค  ผล  นิพพาน
            .    ปาราชิกทั้ง ๔ ข้อ  เป็นสจิตตกะ  ที่เป็นเช่นนั้น  เพราะต้องด้วยจงใจเกิดขึ้น
โดยมีเจตนาเป็นสมุฏฐาน
.        .     ภิกษุทำอย่างนี้  คือ เสพเมถุน ๑ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้มีราคา ๕
มาสก ๑   แกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ๑   อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน ๑  
จึงขาดจากความเป็นภิกษุ  ภายหลังกลับมาอุปสมบทอีกไม่ได้
            .    ปาราชิกทั้ง ๔ ข้อ  ภิกษุล่วงละเมิดเพียงข้อใดข้อหนึ่ง  แม้คราวเดียวก็ต้อง
ปาราชิก
.        .    ภิกษุพูดอวดว่า  ได้ฌานเป็นต้น  หรืออวดว่าเป็นพระโสดาบัน  เป็นต้น  ซึ่ง
ไม่มีในตน  พูดอวดแก่ผู้ใด  ผู้นั้นเข้าใจ   ต้องปาราชิก  ผู้ฟังไม่เข้าใจ  ต้อง
ถุลลัจจัย
            .   ปาราชิกทั้ง ๔ สิกขาบท  สิกขาบทที่ ๑ และ ๔ เป็นอนาณัตติกะ  คือไม่ต้อง
เพราะสั่ง  สิกขาบทที่ ๒ และ ๓ เป็นสาณัตติกะ  คือแม้สั่งให้ผู้อื่นทำ  ผู้สั่งก็ต้องอาบัติปาราชิกด้วย
.         .     มี ๒ ประเภทคือ  สังหาริมทรัพย์  ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้  ได้แก่ปศุสัตว์  และ
สัตว์พาหนะ  เช่น แพะ  แกะ  สุกร  โค  กระบือ  เป็นต้น  และ
อสังหาริมทรัพย์  ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้  ได้แก่  ที่ดิน  เรือน เป็นต้น
            .    มีคือ   ภิกษุนำสิ่งของที่ต้องเสียภาษีมา  จะผ่านที่ด่านเก็บภาษี  ซ่อนสิ่งของ
เหล่านั้นเสีย  หรือของมาก  ซ่อนให้เห็นแต่น้อย  ต้องอาบัติตามมูลค่าที่ต้อง
เสียภาษี ขณะนำของนั้นพ้นเขตที่เสียภาษี  เรียกว่าตระบัด  ในคัมภีร์วิภังค์ 
เรียกชื่อว่า  สุงฆาตะ
.        .    สิกขาบทที่ ๑ ว่า  ภิกษุเสพเมถุนต้องปาราชิก
                        สิกขาบทที่ ๒ ว่า  ภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ไห้  ได้ราคา ๕ มาสก 
                        ต้องปาราชิก
            .   สิกขาบทที่ ๓ ว่า ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย  ต้องปาราชิก
                        สิกขาบทที่ ๔ ว่า ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน  ต้องปาราชิก
.        .     มีผลเป็นผู้พ่ายจากหมู่  ไม่มีสังวาส  คือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกันกับภิกษุทั้ง
หลายอีกขาดอำนาจอันชอบธรรมที่จะถือเอาประโยชน์แห่งความเป็นภิกษุ
เช่น ขาดจากสิกขาบทอันมีเสมอกับภิกษุ  ขาดจากความปกครองไม่ได้เพื่อ
จะเข้าอุโบสถ  ปวารณาและสังฆกรรมกับสงฆ์อีก  มาบวชอีกไม่ได้
            .    ภิกษุถูกข่มขืนแต่ยินดี  ในขณะที่องค์กำเนิดเข้าไปก็ดี   เข้าไปถึงที่แล้วก็ดี 
หยุดอยู่ก็ดี  ถอนออกก็ดี  แม้ขณะใดขณะหนึ่ง  ต้องอาบัติปาราชิก ถ้าไม่มี
จิตยินดี  ไม่เป็นอาบัติ
.         .     ลักสับ  หมายความว่า  มีไถยจิตสับสลากชื่อตนกับชื่อผู้อื่นในกองของ  ด้วย
หมายจะเอาลาภของผู้อื่นที่มีราคากว่า  หรือการเอาของปลอมสับเอาของดีก็
มีความหมายเช่นเดียวกัน
            .    อาการที่ไม่เป็นอทินนาทานมี ๔ คือ
                        . ถือเอาด้วยวิสาสะ   ความคุ้นเคย
                        . ถือเอาโดยเป็นของยืม
                        . ถือเอาโดยความสำคัญว่าเป็นของตน
                        . ถือเอาโดยสำคัญว่าเป็นของทิ้ง  ที่เรียกว่า  บังสุกุล
๑๐.      ๑๐.   ราคาทรัพย์ ๕ มาสก  เทียบเท่าราคาทองคำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก
            ๑๐.  ไม่ให้โหดร้าย  อ้างสิกขาบทที่ ๓ แห่งปาราชิก  ใจความว่า  ภิกษุแกล้งฆ่า
มนุษย์ให้ตาย ต้องปาราชิก

No comments:

Post a Comment