Tuesday, March 20, 2012

วินัยสงฆ์

วินัย สงฆ์ คือ พระวินัย อันเป็นกฎหมายของพระภิกษุ เป็นเครื่องควบคุมการปฏิบัติตนของภิกษุ ให้เป็นนักบวชที่น่าเคารพ ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความศรัทธาเลื่อมใส พระวินัยที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติขึ้นตามเหตุที่บังเกิดขึ้น เช่น เมื่อมีภิกษุทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมหรือทำให้เกิดความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง พระพุทธองค์ก็จะประชุมสงฆ์ ตรัสถามเรื่องราวจาก ภิกษุผู้กระทำผิดให้ได้ความกระจ่าง แล้วทรงชี้ให้เห็นโทษพร้อมกับทรงชี้ทางที่ควรประพฤติให้สงฆ์ได้ทราบ แล้วจึงมีพุทธบัญญัติขึ้นเป็นพระวินัย ห้ามมิให้ภิกษุทำอีกต่อไป การทำผิดพระวินัยเรียกว่า อาบัติ พระภิกษุที่อาบัติต้องรับโทษหนักเบาตามความรุนแรงของอาบัติที่กระทำ

              หลวงพ่อได้เมตตาเตือนไว้ว่า : : "พระวินัยนี้ ท่านผู้ใดจะบอกว่าไม่รู้ไม่ได้ สำหรับภิกษุสามเณร ก่อนบวชต้องศึกษา
พระวินัยก่อน ทุกคนจะต้องอ่านวินัยให้ครบถ้วนและปฏิบัติได้ทุกสิกขาบท" สำหรับวินัยมีดังนี้คือ อนุศาสน์ ๘ อย่าง (นิสสัย ๔,
อกรณียกิจ ๔) : ท่านบอกว่า ปัจจัยเป็นเครื่องอาศัยของบรรพชิต เรียกว่า นิสสัย มี ๔ อย่างคือ เที่ยวบิณฑบาต ๑, นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๑, อยู่โคนไม้ ๑, ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑ นี่เป็นกิจที่บรรดาพระสงฆ์จะต้องปฏิบัติเป็นประจำ.. ส่วนกิจที่ไม่ควรทำ ท่านเรียกว่า อกรณียกิจ มี ๔ อย่างคือ เสพเมถุน ๑, ลักของเขา ๑, ฆ่าสัตว์ ๑, พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ๑, กิจ ๔ อย่างนี้บรรพชิตทำไม่ได้

             ต่อไปก็เป็นสิกขาของภิกษุ คำว่า สิกขา แปลว่า ต้องศึกษา คือต้องปฏิบัติได้ พอเริ่มบวชเข้ามาแล้ว ต้องปฏิบัติได้ทันที
มี ๓ อย่าง คือ
                          ๑.
ศีล
ได้แก่ ศีลที่มาในพระปาติโมกข์ (วินัยที่มาในพระปาติโมกข์) และอภิสมาจารต้องครบถ้วน
                          ๒.
สมาธิ ต้องมีสมาธิทรงตัวในด้านของอารมณ์ดี กำจัดนิวรณ์ ๕
                          ๓.
ปัญญา พิจารณาขันธ์ ๕ เพื่อตัดกิเลส คือ ตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการ

             ท่านอธิบายว่า การสำรวมกาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย ชื่อว่า ศีล การรักษาใจมั่น ชื่อว่า สมาธิ ความรอบรู้ในกองสังขาร
ชื่อว่า ปัญญา ท่านบอกว่า โทษที่เกิดเพราะความละเมิดข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม เรียกว่า อาบัติ อาบัติทุกสิกขาบทได้โปรดทราบ
ถ้าละเมิดก็ถือว่าศีลท่านขาด เมื่อศีลท่านขาด ท่านจะไปไหน ท่านก็ไปนรก

อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติมี ๖ อย่าง คือ

                          ๑. ต้องด้วยไม่ละอาย คือ ใจด้าน จำให้ดีนะ โกนหัวห่มผ้าเหลือง ยังสร้างความชั่ว เรียกว่า คนไม่ละอาย
                          ๒. ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอาบัติ นี่บวชเข้ามาแล้วไม่ศึกษา ความเป็นพระมันก็ไม่มี บางท่านบวชเข้ามาแล้ว มันขาดตั้งแต่วันแรก ไม่มีความเป็นพระ เพราะไปหยิบของเขาเข้า ราคาตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป ก็พ้นจากการเป็นพระแล้ว บวชใหม่ก็ไม่เป็นพระ
                          ๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำ นี่ไม่ศึกษาให้ดี
                          ๔. ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ควร
                          ๕. ต้องด้วยสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร
                          ๖. ต้องด้วยลืมสติ

             แต่บางครั้ง คฤหัสถ์ หรือ ชาวบ้าน ก็มีส่วนทำให้พระภิกษุต้องอาบัติได้เหมือนกัน เช่น ในการถวายสิ่งของเพื่อทำบุญ แต่ทำไม่ถูกต้องตามพระวินัย ภิกษุเกรงใจคฤหัสถ์บางทีคฤหัสถ์เกรงใจภิกษุ จึงทำให้พระต้องอาบัติ คือต้องโทษทางพระวินัย อย่างนี้ผู้ทำบุญได้บุญก็จริง แต่ได้น้อยเพราะขณะเดียวกันนั้นพระได้บาปต้องโทษไม่บริสุทธิ์
ประเภทของอาบัติ

               อาบัติ มา จากภาษาบาลีว่า "อา+ปตติ" แปลว่า ตกลงไป, รุดไป, ลื่นลงไป หมายถึง  "การต้อง, การล่วงละเมิด" พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติชั้นความผิดของการละเมิด สิกขาบท (ไม่ประพฤติตาม) แยกประเภทตามความหนักเบาของอาบัติได้ดังนี้ คือ ความผิดขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก รองลงมาตามลำดับคือ สังฆาทิเสส, อนิยต, นิสสัคคิยปาจิตตีย์, ปาจิตตีย์, ปาฏิเทสนียะ, เสขิยะ และข้อปลีกย่อย ซึ่งแต่ละบัญญัติมีจำนวนและรายละเอียดต่างกันไป รวมกันได้ ๒๒๗ สิกขาบท หรือที่เรียกว่า "พระปาฏิโมกข์" ที่พระภิกษุทุกรูปต้องถือปฏิบัติให้เคร่งครัดนั่นเอง
อาบัติ ที่ยกขึ้นเป็นสิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์ มี ๗ สิกขาบท และที่ไม่ได้มาในพระปาฏิโมกข์อีก ๑ สิกขาบท ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ

๑.ครุกาบัติ
หมายถึง อาบัติหนัก ที่มีโทษร้ายแรง มี ๒ อย่างคือ
                ๑. ปาราชิก ๔ แปล ว่า (ผู้พ่ายแพ้) ซึ่งหมายถึง ผู้แพ้แก่หนทางชีวิตการเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา อาบัติปาราชิก เป็นอาบัติหนักที่สุด  ภิกษุใดเมื่อต้องอาบัติปาราชิกแล้วจะ ขาดจากความเป็นภิกษุ ทันที ถ้าสึกออกไปแล้วและกลับเข้ามาบวชใหม่ ก็ไม่เป็นพระ แต่ถ้ายังไม่สึกออกไปและถ้าร่วมทำสังฆกรรมใดๆ ก็จะทำให้สังฆกรรมนั้นๆ เสียทั้งหมด แต่ถ้ายังอยู่ครองผ้าเหลืองหลอกให้คนกราบไหว้อยู่ ก็จะยิ่งเป็นบาปหนาขึ้นเรื่อยๆ
               ๒. สังฆาทิเสส ๑๓  แปลว่า (อาบัติอันจำปรารถนาสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ) มูลเหตุแห่งอาบัติ นี้มี ๑๓ สิกขา ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ต้องรับโทษที่เรียกว่า การอยู่  “ปริวาสกรรม (อยู่กรรม)” เป็นอาบัติที่หนักรองลงมา
๒.ลหุกาบัติ หมายถึง อาบัติเบา มี ๕ อย่าง คือ
               ๓. อนิยต ๒ แปลว่า (ไม่แน่, ไม่แน่นอน) เป็นอาบัติที่อยู่ระหว่าง "ปาราชิก หรือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์" ดังสาระโดยสังเขปคือ "ภิกษุผู้เดียวสำเร็จการนั่งอยู่กับมาตุคาม (สตรี) ผู้เดียว ในที่ลับหู ๑, หรือในที่ลับตา ๑ "
               ๔. นิสสัคคิยะปาจิตตีย์ ๓๐ แปล ว่า (จำต้องสละ) อาบัติสิกขานี้ภิกษุจำต้องสละสิ่งของที่เป็นมูลเหตุแห่งอาบัติก่อน (ประกอบด้วย จีวรวรรค ๑๐, โกสิยวรรค ๑๐, ปัตตวรรค ๑๐)
               ๕. ปาจิตตีย์ ๙๒ แปล ว่า (การละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก) ย่อมฝืนต่ออริยมรรค เป็๋นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิดนั้นว่า ปาจิตตีย์ (ประกอบด้วย มุสาวาทวรรค ๑๐, ภูตคามวรรค ๑๐, โอวาทวรรค ๑๐, โภชนวรรค ๑๐, อเจลกวรร ๑๐, สุราปานวรรค ๑๐, สัปปาณวรรค ๑๐, สหธรรมมิกวรรค ๑๒, รตนวรรค ๑๐)
               ๖. ปาฏิเทสนียะ ๔  แปล ว่า (จะพึงแสดงคืน) หมายถึงธรรมที่น่าติเตียนในศาสนาของพระสุคต. ความผิดที่ต้อง”แสดงคืน” คือ ต้องอาบัติเกี่ยวกับบุคคลใด ให้แสดงกับบุคคลนั้น
                ๗. เสขิยะ ๗๕ แปล ว่า (สิ่งที่พึงศึกษาอันควรปฏิบัติ) ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นพุทธบัญญัติที่ได้เตือนสติให้ ภิกษุสงฆ์พึงสำรวมกาย วาจา ใจ เมื่อเข้าไป อยู่ในที่ชุมชนหรือในละแวกบ้านของผู้อื่น เพื่อยังให้เกิดความเลื่อมใสของบุคคลในชุมชนนั้นๆ จะได้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา (ประกอบด้วย สารูป ๒๖, โภชนปฏิสังยุต ๓๐, ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ๑๖, ปกิณกะ ๓)
          นอกจากนี้ยังมีความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า "อาบัติถุลลัจจัย, อาบัติทุกกฎ, และ อาบัติทุพภาษิต" ซึ่งเป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์
               - ถุลลัจจัย แปล ว่า (ความล่วงละเมิดที่หยาบ) ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัยในที่ใกล้ภิกษุรูปหนึ่ง และภิกษุรับอาบัตินั้น โทษเสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี ฉะนั้นจึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย เป็นอาบัติหนักรองลงมาจากปาราชิก และสังฆาทิเสส มูลเหตุเกิดขึ้นเมื่อตั้งใจจะละเมิดอาบัติ ๒ อย่างนั้น แต่ทำไม่สำเร็จสมบูรณ์ เพียงแต่คิดเจตนาจะกระทำ เช่นมีความกำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ มีอารมณ์เพศ คิดจะร่วมเพศ แต่ยังไม่ได้ทำ ก็จะอาบัติถุลลัจจัย
               - ทุกกฏ  แปล ว่า (ทำไม่ดี) กรรมใดผิดพลั้งและพลาด กรรมนั้นชื่อว่าทำไม่ดี คนทำชั่วอันใดในที่แจ้งหรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนว่าเป็นคนทำชั่ว ทำไม่ดี ทำผิด เพราะเหตุนั้น กรรมนั้นจึงเรียกว่าทุกกฏ เป็นอาบัติเบา ส่วนมากเกี่ยวกับมารยาทต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม
               - ทุพภาสิต แปล ว่า (พูดไม่ดี, คำชั่ว, คำเสียหาย) บทใด อันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี และเศร้าหมอง วิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียน บทใด เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า ทุพภาสิต “พูดไม่ดี” เป็นอาบัตที่เกิดจากความ ผิดพลาดในการพูดไม่เหมาะสม
            การ ปรับ อาบัติทุกกฏ หรืออาบัติทุพภาสิต เป็นการลงโทษขั้นพื้นฐาน จนเป็นที่เสื่อมเสียแก่ตนเองและหมู่คณะ ขาดความเป็นระเบียบร้อยและขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ทั้งยังให้ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาขาดความเลื่อมใสศรัทธา เป็นเหตุให้พระ ศาสนาเสื่อมได้
             เมื่อ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติ ก็ถือว่าภิกษุรูปนั้นไม่บริสุทธิ์ จะไม่สามารถลงโบสถ์ร่วมทำสังฆกรรมกับภิกษุอื่นๆ ได้ จึงต้องแก้อาบัติให้ตนกลับมีความบริสุทธิ์เสียก่อน การไม่กระทำความผิดข้อใดๆ ก็คือการรักษาศึลให้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัดนั่นเอง



ที่มา http://vimuttisuk.com

No comments:

Post a Comment