Sunday, March 18, 2012

ชีวิตนี้ไม่มีตัวตน ตอน 2 โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

ฉะนั้นผู้ปฏิบัตินี่บางครั้งเข้าใจว่ากลัวว่าจะไม่รู้    ความที่ไม่รู้ก็กลัวว่าจะไม่รู้  เข้าใจว่าการที่จะรู้นั้นจะต้องให้เห็นให้นึกเป็นชิ้นเป็นอันเป็นเรื่องเป็นราว  นั่นคือการที่มันเลยไปหมด    รับรู้ปรมัตถ์อยู่แค่นิดเดียวก็เข้าใจว่ายังไม่พอจะต้องบอกลงไปว่านี่คืออะไร    นั่นคือสมมุติเข้ามาแล้วนี่น่ะปุถุชน  ความติดยึดในสมมุติบัญญัติจึงเข้าใจว่ามันเป็นของจริง  ก็จะเลยเข้าไปหาความจริงที่เป็นสมมุติอยู่เรื่อย คือชื่อคือความหมายอยู่เรื่อย   รับรู้ปรมัตถ์นิดเดียวแค่ความรู้สึก  หลงเข้าใจว่ามันยังไม่รู้อะไร  ก็เลยพยายามที่จะเลยไป  คือพยายามที่จะนึก พยายามที่จะเน้นลงไปอีก  มันเลยไปหมด    ฉะนั้นจะเห็นว่าความรู้สึกที่กาย ที่ตึงที่ไหว ที่แข็งที่อ่อนที่รู้สึกอยู่นั้น    พอสติเข้าไปรับรู้ที่จะไม่ให้เห็นเป็นรูปร่างนี้มันยังยากอยู่แล้ว  พยายามที่จะไม่นึกถึงรูปร่างมันยังจะไปอยู่แล้ว    เพราะฉะนั้นถ้าหากปฏิบัติไม่เข้าใจ  พยายามที่จะไปนึกในรูปร่างความหมาย    มันก็แน่นอน  เลยไปหมดเลย

          การที่สติรับรู้ในปรมัตถ์ที่กายไม่อยู่แค่ปรมัตถ์ก็เพราะว่ามันมีการเข้าไปเน้นเข้าไปจ้องดู  ขาดความเป็นกลางขาดความพอดี  มันจึงส่งออกไปที่รูปร่าง  ส่งไปที่สมมุติบัญญัติ    ฉะนั้นการเจริญสติเจริญวิปัสสนานี้จำเป็นที่จะต้องระลึกรู้ในรูปต่าง นามต่าง    ถ้าไปเน้นอยู่ที่เดียวแล้วก็บัญญัติจะต้องเข้ามา    จะต้องรู้รูปรู้นาม  รู้รูปรู้นามต่าง เรื่อยไปด้วยความเป็นปรกติ  ไม่จ้องลงไป

          เพราะฉะนั้นในที่สุดแล้ว  สติก็จะต้องมารับรู้จิตใจไปด้วยกัน    รู้ความรู้สึกที่กายแล้วก็รู้ความรู้สึกที่จิตใจ  รู้จิตรู้ความรู้สึกในจิต  รู้กายรู้ความรู้สึกในกายอยู่   จึงจะมีความรู้พร้อมทั่วถึง  พอรับรู้อารมณ์หนึ่งแล้วก็เปลี่ยน  รับรู้อารมณ์หนึ่ง  รับรู้อารมณ์ๆๆ ต่าง รูปต่าง นามต่าง มันก็จะไม่เน้นไปสมมติบัญญัติ  รับแล้วไป  รับแล้วก็ปล่อย  รับรู้แล้วก็ปล่อย  รับรู้แล้วก็ปล่อยไป อย่าไปติดตามอย่าไปเน้น อย่าไปจ้อง  บัญญัติมันจะเข้ามา

          นอกจากว่าผู้ปฏิบัติต้องการความสงบ   อันนั้นก็เข้าไปจ้องไปเน้นไปเพ่ง  เพ่งบัญญัติก็ทำให้เกิดความสงบได้    แต่ถ้าหวังให้เกิดปัญญาแล้วก็จะต้องรู้ตรงต่อปรมัตถธรรม   การรู้ตรงต่อปรมัตถธรรมมันจะรู้อย่างเดียวไม่ได้  ต้องรับรู้ไปต่าง     เพราะว่าทุกขณะมันมีรูปมีนามปรากฏหมดไป  ปรากฏหมดไปต่าง    ในกระแสของจิตรับอารมณ์อยู่เสมอ  เปลี่ยนอารมณ์ไป
ต่าง มีธรรมชาติปรากฏการณ์ต่าง     ฉะนั้นก็ต้องทำความเข้าใจในการที่จะปฏิบัติ หรือว่าในการที่จะเข้าไปพิสูจน์ธรรมะในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า    พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้แล้วให้ผู้ฟังได้ปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น  มีข้อสังเกตมีแนวทางมีคำสอนอยู่แล้ว   ที่นี้ถ้าหากว่าไม่ได้ยินได้ฟังเลยนี่ มันยากที่สุดที่จะปฏิบัติได้ถูกต้อง   เพราะขนาดที่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว  ก็ยังโผล่ไปสมมุติบัญญัติอยู่ ไปในทางผิดอยู่   ที่จะมาสู่ในทางที่ตรงนี่มันยากอยู่แล้ว    ถ้าไม่ได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วก็คงยากที่จะปฏิบัติให้ถูกให้ตรง  นอกจากบุคคลนั้นจะบำเพ็ญบารมีมาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือว่าพระพุทธเจ้า    ถ้าสองบุคคลนี้แล้วก็ต้องฟังละ  ต้องศึกษาต้องทำความเข้าใจจากคำสอนของพระพุทธเจ้า    ถ้าไม่ได้เป็นผู้บำเพ็ญบารมีมาเป็นพระพุทธเจ้ามาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วก็ต้องฟังต้องศึกษาต้องทำความเข้าใจอย่างแยบคาย    มิฉะนั้นแล้วก็ไม่ถูกหรอก  ปฏิบัติไม่ถูก   ขนาดฟังแล้วฟังอีกยังยากต่อการที่จะให้เข้าใจ

          ความรู้ความเข้าใจจากการฟังที่ว่ายาก ก็ยังง่ายกว่าความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการปฏิบัติ  จะให้เห็นจริงรู้จริง นั้นก็เป็นอีกระดับหนึ่ง    ซึ่งต้องอาศัยกัน   ต้องมีความเข้าใจในระดับของการฟังก่อน  แยกออกเข้าใจออก  บัญญัติอย่างนี้  ปรมัตถ์อย่างนี้    รูปร่างสัณฐานความหมายชื่อภาษานี่คือบัญญัติ   ปรมัตถ์นั้นมันต่างจากสิ่งเหล่านั้น  คือสิ่งที่มีอยู่จริง ไม่ใช่รูปร่างไม่ใช่ชื่อไม่ใช่ความหมาย  อันนี้เข้าใจด้วยการฟัง    แต่เวลาปฏิบัตินั้นต้องแยกได้จริง    จิตไปอยู่กับบัญญัติก็รู้ว่า  อ้อนี่บัญญัติ  ปล่อยจากบัญญัติเข้าสู่ปรมัตถ์  หรือรู้ปรมัตถ์ก็รู้ว่าปรมัตถ์   ปรมัตถ์ต่าง ที่เป็นรูปต่าง นามต่าง    สติระลึกรู้ตรงต่อปรมัตถ์ก็รู้ว่านี่คือปรมัตถ์จริง   ไปสู่บัญญัติก็รู้ว่านี่คือบัญญัติ   อันนี้ก็เป็นความเข้าใจอีกระดับหนึ่ง

          อีกระดับหนึ่งก็คือการที่จะฝึกหัดให้สตินั้นอยู่กับปรมัตถ์ได้มากขึ้น    เมื่อมันไปสู่บัญญัติก็ปล่อยจากบัญญัติเข้าสู่ปรมัตถ์ได้ชำนาญขึ้น    ในระยะการที่ปฏิบัติฝึกหัดอยู่  แม้ว่ารู้ว่านี่คือบัญญัติบางทีก็ปล่อยไม่ออก   แม้รู้ว่าปรมัตถ์มันมีลักษณะอย่างไรต่าง แต่ก็ระลึกตรงต่อปรมัตถ์ได้ต่อเนื่องได้บ่อยไม่ได้  คอยจะพลาดไปบัญญัติทั้ง ที่รู้อยู่  แต่ว่าความชำนาญมันไม่พอ   ในระดับนี้ก็ต้องฝึกไป  ทำความเพียรฝึกสติ  ฝึกไปเรื่อย ฝึกให้มันตรง  ฝึกที่จะพยายามระลึกรู้ให้ตรงต่อปรมัตถ์  ปล่อยจากบัญญัติอยู่เรื่อย ไป   นี่มันก็เป็นระดับขั้นไป  ความเก่งก็เป็นต่างระดับกันไป

          ไม่ใช่ว่าเราปฏิบัติแล้วก็เข้าไปนั่งเฉย...เฉย  พยายามที่จะนั่งให้มันสงบนิ่งเท่านั้น  อย่างนี้ไม่ได้เกิดปัญญาอะไรขึ้นมา  ตัดกิเลสไม่ได้  ละอุปาทานละความเห็นผิดไม่ได้    นั่งได้แต่มุ่งเพื่อจะให้มันนิ่งมันสงบแต่ไม่ใช้การพิจารณาไม่ได้ใช้ความสังเกตในปรมัตถธรรมในสภาพธรรม  มันก็ไม่ได้เกิดปัญญา    แต่ก็ยังดีสำหรับเปรียบเทียบกับบุคคลที่ไม่ได้ปฏิบัติ   บุคคลอื่นที่ไม่ได้ปฏิบัติจิตใจเขาวุ่นวายสับสนเร่าร้อนไป  ไม่รู้จะทำจิตให้สงบได้อย่างไร    แต่บุคคลที่มาทำกรรมฐานแม้
ว่ายังทำปัญญาไม่ได้ ทำวิปัสสนายังไม่เป็น  แต่ว่าทำจิตให้สงบได้  ก็ยังมีที่พึ่ง  ยังรู้จักมีที่พึ่งที่พัก  ก็ได้รับความสุข    ความสุขในระดับสมาธิความสงบแต่เพียงว่ายังละกิเลสอะไรไม่ได้  สงบเฉพาะ
เวลานั่งกรรมฐาน    เวลาไม่ได้นั่งกรรมฐานก็วุ่นวาย  ก็ยังโกรธยังโลภยังหลงยังเร่าร้อนไปตามอารมณ์  ก็ยังเป็นปัญหายังทุกข์ยังร้อนต่อไปไม่จบ

          แต่ที่ต้องปฏิบัติวิปัสสนาก็คือเพื่อจะให้มันเข้าไปถึงจุดในการทำลายกิเลส   เชื้อของกิเลสที่เป็นความโลภโกรธหลงนี่  ที่เป็นตัวอนุสัยตัวที่มันนอนเนื่องอยู่นี่   ถ้าตัดมันออกไปได้มันก็จะไม่เกิดขึ้นอีก  จิตใจไม่เกิดความโลภโกรธหลง  นั่นถึงจะพ้นทุกข์   ถ้าจะอุปมาแล้วก็เหมือนกับว่าน้ำที่มันมีตะกอน  เราจะทำยังไงจะให้น้ำมันสะอาดบริสุทธิ์    บางคนก็อาจจะตั้งวางไว้  นาน เข้ามันก็ตกตะกอนหรือเอาสารส้มไปแกว่งสิ่งที่เป็นความขุ่นมัวสิ่งที่เป็นปฏิกูลเหล่านั้นมันก็จะตกตะกอนลง  น้ำซึ่งธาตุแท้ของมันใสสะอาดอยู่แล้ว  มันก็ปรากฏตัวของมัน  ปรากฏความใสเพราะว่าสิ่งที่มาทำให้น้ำมันขุ่นมัวมันตกตะกอนลงไป    คนนั้นก็ได้รับประโยชน์คือเอาน้ำสะอาดข้างบนเหนือตะกอนไปใช้ได้   แต่ก็ต้องระวังเพราะว่าถ้าไปเขย่าไปกวนมันก็ฟูขึ้นมาได้อีก

          ข้อนี้อุปมาเหมือนกับผู้ที่เจริญสมาธินั่นแหละ  ทำจิตให้สงบกิเลสก็ตกตะกอนลงไป  กิเลสเหมือนกับตะกอนเหมือนกับสิ่งปฏิกูลมันตกตะกอน  ใจเราก็รู้สึกว่า เออสบาย   แต่ว่าเผลอไม่ได้นะ  พอมีอารมณ์อะไรมากระทบตะกอนนั้นฟูขึ้นมาอีกแล้ว  ใจก็ขุ่นมัวได้อีก    ถ้ามานั่งกรรมฐานเจริญภาวนาเพ่ง  ตะกอนสงบตกตะกอน  กิเลสมันตกตะกอนลงไป  จิตใจซึ่งสภาพเดิมของมันจะต้องผ่องใส  มันก็แสดงความผ่องใสขึ้นมา  รู้สึกสบายใจขึ้นมา   ที่ว่าจิตเดิมมันผ่องใสไม่ได้หมายถึงว่าจิตครั้งก่อนๆ ดั้งเดิมมันบริสุทธิ์ ไม่ใช่  หมายถึงว่าเฉพาะลักษณะธรรมชาติจิตจริง มันจะผ่องใสแต่ที่มันขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะว่ามันมีกิเลสจรเข้ามา   มาทำให้จิตมันเศร้าหมอง

          ที่นี้ถ้าหากว่าบุคคลที่จะทำน้ำให้มันสะอาดบริสุทธิ์จริง มันก็จะต้องหาทางกรองเอาตะกอนนั้นออกไปให้หมด  ไม่ใช่เพียงแค่มันตกตะกอนเท่านั้น   ทำยังไงถึงจะกรองมันออกไปได้  ต้องหาเครื่องกรอง  สมัยนี้เขาก็มีเครื่องกรองน้ำ  เช่นว่า  เอาน้ำในลำคลองที่ขุ่นมัวขึ้นมาแล้วก็กรองออกไปหรือกลั่นออก   น้ำที่ถูกกรองหรือกลั่นออกมาแล้วไม่มีตะกอนหลงเหลืออยู่ ใสสะอาด  ถึงแม้ว่าจะถูกเขย่าถูกกวนอย่างไรมันก็ไม่ขุ่นเพราะมันไม่มีสิ่งปฏิกูลอยู่ในน้ำแล้ว    อุปมาเหมือนกับผู้ที่เจริญวิปัสสนาจนถึงขั้นสูงแล้ว  ท่านกรองเอากิเลสออกไป   วิปัสสนาคือปัญญามันจะกรองเอากิเลสออกไปจากใจ   เพราะฉะนั้นจิตที่ถูกกรองกิเลสออกไปแล้ว  แม้จะประสบอารมณ์อย่างไรก็จะไม่มีความทุกข์ความเศร้าหมอง  ไม่มีกิเลสไม่มีความขุ่นข้องหมองใจ  ไม่มีความโลภโกรธหลง  เพราะว่าเชื้อของกิเลสมันถูกกรองไปหมดแล้ว    จิตก็สะอาดบริสุทธิ์  จิตก็เบาสบายตลอด  นี่คือผลของการเจริญวิปัสสนา   เมื่อจิตอยู่ในลักษณะอย่างนั้นมันก็พ้นทุกข์   จิตมีปัญญาพัฒนารู้แจ้งตามความเป็นจริง

          แต่ว่ามันก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำกันได้ง่ายที่จะทำให้กรองเอากิเลสออกไปจากใจได้หมดสิ้น  ก็ดังที่กล่าวแล้วว่า   การปฏิบัติเจริญสติเพื่อจะเพิกสมมุติออกไปเพื่อจะกำหนดให้ตรงปรมัตถ์ยังทำไม่ค่อยเป็น  ยังทำไม่ถูก  มันจึงยาก   รู้อะไรเป็นสมมุติอะไรเป็นปรมัตถ์   แต่ก็เวลาปฏิบัติสติก็ไม่ค่อยระลึกถึงปรมัตถ์คอยจะไปบัญญัติ  คอยจะเผลอคอยจะล่องลอยไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้  ซึ่ง
เป็นบัญญัติทั้งหมด    จิตที่คิดไปเรื่องคนนั้นคนนี้เรื่องการงานเรื่องอดีตอนาคต  มันเป็นบัญญัติ
อารมณ์ทั้งหมด   มันคอยจะไป มันจึงยาก   แต่ว่ามันก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะทำไม่ได้    บุคคลที่ทำสำเร็จไปแล้วก็มากมาย   มันมีทางที่จะทำได้  แต่ว่าต้องอาศัยความพากเพียรเท่านั้นแหละ

          เมื่อตนเองยังห่างไกลก็จะต้องพากเพียรพยายามให้มากขึ้นไป  เหมือนคนเรียนหนังสืออ่านหนังสือเรียนท่องจำอะไร   ปัญญาเราไม่ค่อยจะดีจำไม่ค่อยได้ เราก็ท่องให้มาก เข้า    คนอื่นเขาท่องสามครั้งจำได้  เราท่องสามครั้งจำไม่ได้เราก็ต้องเพียรท่องเป็นสิบเป็นร้อยครั้ง    มันก็ต้องจำได้    อันนี้ก็เหมือนกัน  ปฏิบัติคนอื่นเขาอาจจะสะสมเหตุปัจจัยมาดี  เขาปฏิบัติเขารู้สึกว่าก้าวหน้าไปได้ไว   แต่ว่าบางท่านไม่ก้าวหน้าไม่ไป  ก็ต้องพากเพียรต้องทำให้มาก  ทำปฏิบัติฝึกหัด  ฝึกหัดปฏิบัติ  ใช้เวลา   ผ่านไปมากขึ้น ก็จะต้องรู้ต้องเห็นต้องเข้าใจต้องปฏิบัติได้ถึงได้ตรง   ได้ประสบความสำเร็จจนได้

พระพุทธเจ้าจึงให้ข้อคิดว่า วิริเยน ทุกข  มจเจติ   คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร  คนจะสำเร็จได้ก็เพราะความเพียร   ถ้าขาดความเพียรเสียแล้วก็ประสบความสำเร็จไม่ได้   หรือว่าไม่ว่าเรื่องอื่น อันใดทางโลกก็ตาม ก็อาศัยความพากเพียร   และความเพียรนั้นก็เป็นกิจที่ต้องทำเสียวันนี้    เพราะอะไร  เพราะใคร ก็ไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไร    ความเพียรเป็นกิจต้องทำเสียวันนี้  ใครจะรู้ความตายที่จะมาถึงเมื่อไรก็ไม่รู้    มาถึงเราได้ทุกลมหายใจ  หายใจเข้าแล้วมันไม่ยอมออกมาก็ต้องตาย  หายใจออกแล้วมันไม่ยอมเข้าก็ต้องตายแล้วก็ระบบของร่างกายที่มันจะต้องหายใจเข้าหายใจออกนี่  ที่จริงมันเปราะบางจะตาย  การทำงานของระบบหายใจมันบอบบาง  ประกอบด้วยธาตุต่าง ที่มันทำงานมันสลับซับซ้อนกว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่มันทำขึ้นมาได้ง่าย    ร่างกายนี้มันสามารถที่จะสูดลมเข้า  คายลมออก  แล้วไปซักฟอกโลหิต  สูบฉีดให้ร่างกายหมุน   มีเลือดมี ..  มันทำงานกันมากมายหลายหน้าที่หลายอย่าง  แล้วอวัยวะต่าง มันก็ประกอบด้วยธาตุดินน้ำลมไฟซึ่งแตกดับอยู่ตลอดเวลา  เป็นของที่ไม่ได้แข็งแรงอะไร   ฉะนั้นมันพร้อมที่จะแตกดับ    พระพุทธเจ้าจึงอุปมาเหมือนกับเป็นภาชนะดินนะร่างกายนี้  หม้อดินน่ะ   สมัยก่อนเขาหุงข้าวเขาใช้หม้อดินบาง    บาตรพระสมัยก่อนเขาก็ต้องใช้บาตรดิน   ฉะนั้นจึงมีวินัยในการที่จะให้รักษาบาตรไว้อย่างหลายประการ  ก็เพราะว่าหม้อดินนี้มันแตก  บาตรดินนี้มันแตกง่าย  แตกหักง่าย  ร่างกายนี้ก็เช่นเดียวกันมันพร้อมที่จะแตกดับมันพร้อมที่จะตาย แต่บุคคลก็ยังประมาทยังหลงระเริงเอาร่างกายที่พร้อมจะแตกดับนี้ไปทำความชั่วต่าง ให้ทุกข์ให้โทษกับตัวเอง  จึงเป็นสิ่งที่น่าสังเวชสลดใจ   เป็นสิ่งที่น่าเสียดายชีวิต เสียดายเวลาที่เกิดมา   บางทีก็ไปหลงไปยึดในสิ่งที่จะให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใจ   ไปให้ความสำคัญกับเรื่องที่มันไม่ใช่เป็นเรื่องแห่งความดับทุกข์  ไม่ใช่เป็นเรื่องแห่งความสำคัญอะไร    แต่ปุถุชนนี่บางทีไปให้ความสำคัญกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องสำหรับผู้มีปัญญา   บางที่เราเห็นเป็นเรื่องใหญ่โตมากมายจนบางคนถึงขนาดทนไม่ไหวจะฆ่าตัวตาย   ทั้ง ที่เรื่องเหล่านั้นก็ไม่ใช่เป็นเรื่องอะไรเลยที่จะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้มีปัญญา    เรื่องสำคัญจริง มันคือเรื่องที่ว่ากิเลสในใจเรานี้ต่างหากว่าทำยังไงถึงจะชนะมันได้ละมันได้   มันคือเรื่องสำคัญที่สุด    เรื่องที่เรายึดผิดเห็นผิดมีความหลงนี้คือเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ เรื่องใหญ่ที่สุด  ซึ่งเป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งหลายแหล่    ความทุกข์อื่น ที่เราไปยึดไปเสียใจไปเศร้าหมองมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โต  ไม่ใช่เรื่องสำคัญ    มันเป็นเรื่องปลีกย่อยไปจากกิเลสต่างหาก    เรามาแก้ไขกิเลสให้ได้แล้วเรื่องเหล่านั้นก็หมดปัญหา

          ฉะนั้นปุถุชนนั้นที่เศร้าโศกเสียใจในเรื่องบางอย่าง  พระพุทธเจ้าหรือปัญญาของพระพุทธเจ้าจึงมองเห็นปุถุชนเป็นเหมือนเด็ก    เหมือนผู้ใหญ่มองเห็นเด็กหรือว่าบางทีก็เหมือนกับคนบ้า  เหมือนเราเห็นคนบ้า  เหมือนเด็กหรือว่าเหมือนกับคนสติไม่ดี    อย่างปุถุชนชอบอะไรก็หัวเราะกันสนุกสนานเฮฮา   พระอริยเจ้าท่านมองก็เหมือนกับเรามองเห็นคนบ้า    เราเห็นคนบ้าเป็นอย่างไร  คนบ้าบางครั้งมันจะหัวเราะมันก็หัวเราะ  เดี๋ยวหัวเราะสนุกสนาน  เดี๋ยวเสียใจ    ปัญญาของพระอริยเจ้าท่านมองก็เป็นเช่นนั้น           ยิ่งเป็นสมณะยิ่งเป็นนักบวชด้วยแล้ว  ถ้าพระมาเล่นสนุกสนานก็เหมือนกับเด็ก  กลายเป็นเหมือนเด็ก   หรือว่าจะมาหัวเราะก็จะกลายเป็นคนสติไม่สมบูรณ์   เหมือนกับคนสติไม่สมบูรณ์   นี้สำหรับพระนักบวชท่านตำหนิไว้อย่างนั้น ทำนองอย่างนี้    เพราะว่าความเป็นสมณะจะต้องสงบจะต้องสำรวม  จะต้องข่มเป็น จะต้องอดทนอดกลั้น    เห็นสิ่งที่ดีงามเห็นสิ่งที่ยั่วยวนก็ข่มใจได้  ไม่ไปตื่นเต้นดีอกดีใจหัวเราะเริงร่า  นั่นก็ไม่ใช่วิสัยของสมณะ    ถ้าสมณะไปทำอย่างนั้นท่านจึงมองเหมือนกับไม่ใช่ผู้ใหญ่  ไม่ใช่คนสติสมบูรณ์    แต่ความจริงแล้วก็ปุถุชนเราก็มองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา    แต่มันไม่ใช่เป็นเรื่องปรกติในปัญญาของพระอริยเจ้า    หรือว่าสมณะเที่ยวหยอกล้อกันเล่นกัน  ก็จะเป็นที่น่าสังเวชสลดใจ  เพราะหน้าที่ก็คือการที่จะฝึกจิตตัวเอง  การที่ลดละการที่จะทำจิตให้ตรงให้วาง  ในการที่จะ  (เทปหมด)


ที่มา @ http://www.watmahaeyong.net
สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา

No comments:

Post a Comment