Tuesday, March 20, 2012

อาบัติปาราชิก - โทษประหารของพระภิกษุ

อาบัติ คืออะไร
อาบัติ คือกิริยาที่ล่วงละเมิดสิกขาบท และต้องได้รับโทษต่อตน กล่าวโดยชื่ออาบัติมี ๗ อย่าง คือ ๑ ปาราชิกสังฆาทิเสสถุลลัจจัยปาจิตตีย์ ๕ ปาฏิเทสนียะทุกกฏทุพภาสิต กล่าวโดยโทษมี ๓ สถานคือ
๑.อาบัติอย่างหนัก ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นขาดจากความเป็นภิกษุ อันหมายถึงอาบัติปาราชิก
๒.อาบัติอย่างกลาง ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องอยู่กรรม โดยประพฤติวัตรอย่างหนึ่งเพื่อทรมานตน อันหมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส
๓.อาบัติอย่างเบา ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน แล้วจึงจะพ้นโทษนั้นได้ อันได้แก่อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต โดยอาบัติ
ปาราชิก โทษประหารชีวิต ของพระภิกษุ
ภิกษุล่วงอาบัติปาราชิกเพียงข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมไม่สามารถอยู่กับภิกษุทั้งหลายเหมือนก่อนได้อีก เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้ แม้จะอุปสมบทอีก ก็ไม่เป็นภิกษุโดยชอบด้วยพระวินัยตลอดชาติ อาบัติในสิกขาบทนี้ จึงเป็น อเตกิจฉา คือแก้ไขไม่ได้  เป็น อนวเสสา คือหาส่วนเหลือมิได้ เป็น มูลเฉท คือตัดรากเหง้า ภิกษุจะล่วงมิได้เลยเด็ดขาด

สิกขาบทที่  ภิกษุใด ถึงพร้อมซึ่งสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย แล้วไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทที่ ๒ ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ เป็นส่วนแห่งโจรกรรม จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทที่ ๓ ภิกษุใด จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิต ให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทที่ ๔ ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ [คือไม่รู้จริง] กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตน อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม [คือเชื่อก็ตาม ไม่เชื่อก็ตาม ถูกซักถามก็ตาม ไม่ถูกซักถามก็ตาม] เป็นอันต้องอาบัติแล้ว แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ


Download รายละเอียดฉบับเต็ม พร้อมต้นบัญญัติ (.pdf)


ที่มา  ไม้เจีย

No comments:

Post a Comment