Sunday, April 22, 2012

รัตนสูตร, รัตนปริต, RATANA SUTRA




รัตนสูตร (รัตนปริต) ว่าด้วยรัตนทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวันตรายให้หมดไป - youtube

รัตนสูตร
รัตนปริตร (รัตนสูตร)
เป็นบทสวดเพื่อป้องกันภัย ๓ ประการ
๑. โรคภัย ๒. อมนุษย์ ๓. ความทุกข์ยาก
 
ประวัติของพระปริตร
พระปริตรแปล ว่าเครื่องคุ้มครอง คือป้องกันอันตรายภายนอก มีโจร ยักษ์ สัตว์เดรัจฉาน และป้องกันอันตรายภายใน มีโรคภัยไข้เจ็บเป็นต้น อานิสงส์ที่ได้รับจากการสวดพระปริตรนี้เกิดมาจากอานุภาพของพระรัตนตรัยและ อานิสงส์จากการเมตตา เพราะพระปริตรกล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัยและการเจริญเมตตาภาวนา ดังนั้น ผู้หมั่นสาธยายพระปริตรจึงได้รับผลานิสงส์ต่างๆ เช่น ประสบความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรือง ได้รับชัยชนะ แคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตราย มีสุขภาพอนามัยดี และมีอายุยืน ดังพุทธดำรัสว่า
 
"เธอจงเจริญพุทธานุสสติ ภาวนายอดเยี่ยมในภาวนาธรรม เพราะผู้เจริญในภาวนานี้จะสมหวังดังมโนรถ"
 
"อมนุษย์ที่ต้องการจะทำร้ายผู้เจริญเมตตา ย่อมประสบภัยพิบัติเอง เปรียบเหมือนคนที่ใช้มือจับหอกคม จะได้รับอันตรายจากการจับหอกนั้น"
 
ตำนานรัตนปริตร
รัตน ปริตรคือปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบสองของมหาราชปริตร (สิบสองตำนาน) แล้วอ้างคุณนั้นมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี มีประวัติเล่าว่าในสมัยหนึ่ง เมืองเวสาลีเกิดฝนแล้ง ขาดแคลนอาหาร มีคนอดอยากล้มตายมากมาย ซากศพถูกโยนทิ้งนอกเมือง พวกอมนุษย์ได้กลิ่นศพก็พากันเข้ามาในเมือง ทำอันตรายคนให้ตายมากขึ้น และยังเกิดอหิวาตกโรคระบาดอีกด้วย ทำให้เมืองเวสาลีประสพภัย ๓ อย่าง ได้แก่ ทุพภิกขภัยคือข้าวยากหมากแพง, อมนุสสภัยคืออมนุษย์ และโรคภัยคือโรคระบาด

ใน ขณะนั้นชาวเมืองคิดว่าเมืองนี้ไม่เคยเกิดภัยพิบัติเช่นนี้ถึง ๗ รัชสมัย จึงกราบทูลเจ้าผู้ครองนครว่า ภัยนี้อาจเกิดจากการที่พระองค์ไม่ทรงธรรม เจ้าผู้ครองนครจึงมีรับสั่งให้ชาวเมืองประชุมกันพิจารณาหาโทษของพระองค์ แต่ชาวเมืองไม่สามารถพิจารณาหาโทษได้ ทั้งหมดจึงปรึกษากันว่าควรจะนิมนต์ศาสดาองค์หนึ่งมาดับทุกข์ภัยนี้ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์เดียรถีย์ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์พระพุทธเจ้า ในที่สุดทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าควรนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จมาโปรด ดังนั้น จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวีสองพระองค์มาทูลนิมนต์เพื่อระงับภัยพิบัตินั้น

เมื่อ พระพุทธองค์ทรงเสด็จถึงเมืองเวสาลี พระอินทร์พร้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมากได้มาเฝ้าในสถานที่นั้น ทำให้พวกอมนุษย์ต้องหลบหนีออกจากเมือง จากนั้นพระพุทธองค์ทรงสอนพระปริตรนี้แก่พระอานนท์ และรับสั่งให้ท่านสาธยายรอบเมืองที่มีกำแพงสามชั้นตลอดสามยาม พวกอมนุษย์ที่ยังเหลืออยู่ได้หลบหนีไปหมด เพราะกลัวอานุภาพพระปริตร ครั้นอมนุษย์หนีไปและโรคระบาดสงบลงแล้ว ชาวเมืองได้มาประชุมกันที่ศาลากลางเมือง และได้นิมนต์พระพุทธองค์เสด็จมายังเมืองนี้ ในเวลานั้นพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรัตนปริตรนี้แก่พุทธบริษัทที่มาประชุมกันใน ที่นั้น (ขุทฺทก. อฏฺ. ๑๔๑-๔)

อนึ่ง สามคาถาสุดท้าย คือคาถา ๑๖, ๑๗, ๑๘ เป็นคาถาที่พระอินทร์ตรัสขึ้นเองโดยดำริว่าพระพุทธเจ้าทรงกระทำให้ชาวเมือง ประสบสุข โดยอ้างสัจวาจาที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย เราก็ควรจะกระทำให้ชาวเมืองประสบสุข โดยอ้างคุณของพระรัตนตรัยเช่นกัน ฉะนั้น พระอินทร์จึงได้ตรัสสามคาถาเหล่านั้น (ขุทฺทก. อฏฺ. ๑๗๒)
 
บทขัดรัตนปริตร
บท ขัดพระปริตรหมายถึงบทที่เข้ามาคั่นการสวดพระปริตร คือเมื่อประสงค์จะสาธยายพระปริตรใด ก็ควรสวดบทขัดพระปริตรนั้นก่อนที่จะสาธยายพระปริตรที่ต้องการ ที่ประเทศศรีลังกา พระเถระผู้นำสวดมนต์จะสาธยายบทขัดพระปริตรก่อน หลังจากนั้นผู้ร่วมสวดจึงสาธยายพระปริตรพร้อมกัน ประเพณีนี้ได้สืบทอดมายังประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ที่มีเวลาในการสวดมนต์ไม่มากนัก จึงไม่จำเป็นต้องสวดบทขัดพระปริตร
 
ปะ ณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะปารามิโย, ทะสะ อุปะปาระมิโย, ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย, ปัญจะ มะหาปะริจจาเค, โลกัตถะจะริยา ญาตัตถะจะริยา พุทธัตถะจะริยาติ ติสโส จะริยาโย, ปัจฉิมะภะเว คัพภะโวกกันติง, ชาติง, อะภินิกขะมะนัง, ปะธานะจะริยัง, โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง, สัพพัญญุตัญญาณัปปะฏิเวธัง, ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง, นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชเชตตะวา เวสาลิยา ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโตอายัสสะมา อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตตะวา
 
๑. โกฏิสะตะสะหัสเสสุ          จักกะวาเฬสุ เทวะตา
ยัสสาณัง ปะฏิคคัณหันติ       ยัญจะ เวสาลิยา ปุเร.
 
๒. โรคามะนุสสะทุพภิกขะ     สัมภูตัง ติวิธัง ภะยัง
ขิปปะมันตะระธาเปสิ             ปะริตตัง ตัง ภะณามะเห.
 
เหล่า เทวดาในแสนโกฏิจักรวาลยอมรับอำนาจของพระปริตรที่สามารถขจัดภัย ๓ ประการ คือความเจ็บป่วย อมนุษย์ และข้าวยากหมากแพง ให้หมดสิ้นไปโดยพลัน ขอเราทั้งหลายจงตั้งอยู่้ในการุณยจิตร่วมกันสวดพระปริตร เหมือนท่านพระอานนท์เจริญพระพุทธคุณที่พระตถาคตทรงบำเพ็ญนับแต่ทรงตั้ง ปณิธานทั้งปวงเหล่านี้ คือบารมี ๑๐, อุปบารมี ๑๐, ปรมัตถบารมี ๑๐, การบริจาคใหญ่ทั้ง ๕, จริยาวัตร ๓ อันจำแนกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อโลก ญาติ และความเป็นพระพุทธเจ้า การเสด็จลงสู่พระครรโภทรในภพสุดท้าย การประสูติ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบำเพ็ญเพียร การเอาชนะพญามารเหนือโพธิบัลลังก์ การตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ การหมุนกงล้อธรรม และโลกุตตรธรรม ๙ เมื่อพระอานนท์เจริญพระพุทธคุณดังนี้ ได้สาธยายพระปริตรภายในกำแพงทั้ง ๓ ชั้น ของเมืองเวสาลี ตลอดยามทั้ง ๓ แห่งราตรี

บทสวดและบทแปลรัตนปริตร
๑. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง.

ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ทั้งหมด จงเป็นผู้เบิกบานใจ รับฟังถ้อยคำด้วยความเคารพเถิด

๒. ตัสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสฺมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา.

ดัง นั้น ขอเทวดาทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้า จงมีเมตตาจิตในหมู่มนุษย์ เพราะเขาเซ่นพลีกรรมทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านจงอย่าประมาท คุ้มครองพวกเขาด้วยเถิด

๓. ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

ทรัพย์ ในโลกนี้ หรือโลกอื่น หรือรัตนะอันประณีตในสวรรค์ มีสิ่งใดที่จะเสมอกับพระตถาคตนั้นไม่มีเลย ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๔. ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักฺยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระ ศากยมุนีผู้มีพระทัยตั้งมั่น ทรงบรรลุธรรมอันสิ้นกิเลสปราศจากราคะ ไม่ตาย และประณีต มีสิ่งใดที่จะเสมอด้วยพระธรรมนั้นไม่มีเลย ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๕. ยัง พุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระ พุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงสรรเสริญสมาธิอันผ่องแผ้ว นักปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญสมาธิอันประเสริฐที่ให้ผลทันที มีสิ่งใดที่จะเสมอด้วยสมาธินั้นไม่มีเลย ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี.

๖. เย ปุคคะลา อัฎฐะ สะตัง ปะสัตถา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระ สาวกของพระสุคตเจ้า ผู้เป็นพระอริยบุคคล ๘ จำพวก อันแบ่งเป็น ๔ คู่ ที่สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลเหล่านั้นมีผลมาก ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยวาจาสัจนี้ ขอจงมีความสวัสดี

๗. เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระ อรหันต์ผู้บำเพ็ญเพียรด้วยจิตอันเข้มแข็งในพระศาสนาของพระโคดม เป็นผู้ปราศจากกิเลส ผู้เข้าถึงอมตธรรม ผู้บรรลุพระนิพพาน และผู้เสวยสันติสุข ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๘. ยะถินทะขีโล ปะฐะวิสสิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระ ตถาคตตรัสเปรียบสัตบุรุษผู้เห็นแจ้ง เข้าถึงพระอริยสัจสี่ว่าเหมือนกับเสาใหญ่ปักลงดิน อันไม่ไหวติงเพราะแรงลมทั้งสี่ด้าน ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๙. เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัง ปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

บุคคล เหล่าใดเจริญอริยสัจสี่ ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระปัญญาอันลึกซึ้งตรัสไว้ดีแล้ว แม้ว่าท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้หลงเพลินอย่างมากอยู่ แต่ท่านก็จะไม่เกิดในชาติที่แปดอีก ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๑๐. สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ.

ท่านเหล่านั้นคือพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์ ๓ ประการ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ละกิเลสอื่นๆ ได้ในขณะที่เห็นธรรม

๑๑. จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉัจจาภิฐานานิ อะภัพพะ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

ท่าน เหล่านั้นเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ไม่กระทำกรรมอันไม่สมควร ๖ ประการ [คือ อนันตริยกรรม ๕ และการนับถือศาสนาอื่น] ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๑๒. กิญจาปิ โส กัมมะ กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจา อุทะ เจตะสา วา
อะภัพพะ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

แม้ ท่านเหล่านั้นยังทำความผิดด้วยกาย วาจา หรือใจ อยู่บ้างก็ตาม แต่ท่านก็ไม่ปกปิดความผิดนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าผู้เห็นพระนิพพานเป็นผู้ไม่ปกปิดความผิด ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๑๓. วะนัปปะคุมเพ ยะถะ ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสฺมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พุ่ม ไม้ในป่าที่แตกยอดอ่อนในเดือนต้นแห่งคิมหันตฤดู มีความงามฉันใด พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมให้ถึงพระนิพพานเพื่อประโยชน์สูงสุด มีความงาม ฉันนั้น ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๑๔. วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
อนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระ พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้แจ้งพระนิพพานอันเลิศ ทรงประทานธรรมอันยอดเยี่ยม ทรงแนะนำข้อปฏิบัติที่ดี พระองค์ผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงแสดงธรรมอันสูงสุดแล้ว ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๑๕. ขีณัง ปุราณัง นะวะ นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสฺมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรูฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัง ปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระ อรหันต์ผู้สิ้นเชื้อแล้ว ไม่ยินดีภพอีก มีจิตหน่ายภพเบื้องหน้า สิ้นกรรมเก่า ปราศจากกรรมใหม่ที่จะส่งไปเกิดอีก ท่านเหล่านั้นเป็นปราชญ์ ดับสิ้นไปเหมือนประทีปดวงนี้ ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๑๖. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.

ขอ เทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ จงร่วมกันนมัสการพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปอย่างงาม อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี

๑๗. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.

ขอ เทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ จงร่วมกันนมัสการพระธรรมอันเป็นไปอย่างงาม อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี

๑๘. ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.

ขอ เทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ จงร่วมกันนมัสการพระสงฆ์ผู้ดำเนินไปอย่างงาม อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี
 
เรียบเรียง: เจมส์
ตรวจทาน: พี่เปี๊ยก
วันที่อัพเดต: ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
 
ที่มา:
๑. ไฟล์เอกสาร (.pdf) ชื่อ "พระปริตร" โดยพระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง: http://www.wattamaoh.com/home/download.php
๒. ขุทฺทกนิกายฏรกถา สุตฺตนิปาตวณฺณนา (ปรมตฺถโชติกา ๒) ในพระสุตตันตปิฎก: http://www.thammapedia.com/dhamma/attha_pali.php




No comments:

Post a Comment