Sunday, April 22, 2012

ตำนานรัตนสูตร (ยังกิญจิ)

รัตนสูตร (ยังกิญจิ) คือ พระธรรมบท ปรากฎในอรรถกถารัตนสูตร


เดิม กรุงเวสาลี นครหลวงแห่งแคว้นวัชชี มั่งคั่งด้วยข้าวปลาธัญญาหาร อาณาประชาราษฎร์ร่มเย็นเป็นสุข จวบจนคราวหนึ่งในสมัยพุทธกาล เกิดฝนแล้งขาดแคลนอาหารถึงขนาดคนยากจนอดตาย ซากศพถูกทิ้งเกลื่อน พวกอมนุษย์ได้กลิ่น ก็พากันเข้าไปทำอันตรายซ้ำเติมทำให้คนตายมากขึ้น อหิวาตกโรคก็เกิดระบาด ทำให้คนตายเหลือที่จะคณานับ นครเวสาลีประสบภัย ๓ ประการพร้อมกัน คือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง) อมนุษย์ภัย (ผีรบกวน) และโรคภัย (เกิดอหิวาตกโรค)

ชาวเมืองชวนกันร้องทุกข์ต่อพระราชาว่า การเกิดภัยร้ายแรงนี้ชะรอยผู้ครองรัฐจะประพฤติมิชอบ จึงเกิดยุคเข็ญเช่นนี้ พระราชาจึงโปรดให้ชาวเมืองประชุมกันที่ศาลากลางเมือง เพื่อวิจัยความผิดของพระองค์ก็ไม่พบความผิดของพระราชาเลย จึงปรึกษากันต่อไปว่าทำอย่างไรภัยร้ายแรง ๓ ประการนี้จึงจะสงบ ผลสุดท้าย จึงตกลงให้เชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาโปรด

เวลานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยพระเจ้าพิมพิสาร ชาววัชชีเกรงพระเดชานุภาพของพระเจ้าพิมพิสาร จึงแต่งให้เจ้าลิจฉวี ๒ องค์เป็นราชฑูตคุมเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร ทูลความให้ทรงทราบ แล้วขอพระราชทานวโรกาสกราบทูลเชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปโปรดชาววัชชี ซึ่งก็ได้รับพระราชานุเคราะห์เป็นอันดี ทูตชาววัชชีได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์กราบทูลเล่าความทุกข์ยาก แล้ววิงวอนเชิญเสด็จไปโปรดชาวเวสาลีให้พ้นภัย

พระบรมศาสดาทรงสดับดัง นั้นแล้ว ทรงคำนึงเห็นว่า หากพระองค์ไปกรุงเวสาลีในครั้งนี้ จะได้ประโยชน์ถึง ๒ อย่าง คือ ภัยจะสงบไปอย่างหนึ่ง และชาววัชชีได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วจะได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผลเป็นอันมาก อีกอย่างหนึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการแผ่พระศาสนา จึงทรงรับนิมนต์พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเช่นนั้น ก็โปรดให้รีบแต่งทางเสด็จพระพุทธดำเนินระยะทางจากกรุงราชคฤห์ถึงแม่น้ำคงคา อันเป็นพรมแดนแห่งแคว้นทั้งสองนั้น ๕ โยชน์ รับสั่งให้ปราบพื้นถมดิน ทำทางให้เรียบ ให้ปลูกที่ประทับแรมทุกโยชน์ เตรียมให้เสด็จวันละโยชน์ แล้วทูลเชิญเสด็จพระสังฆาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป มีการส่งเสด็จอย่างเอิกเกริกมโหฬาร

ฝ่ายกรุงเวสาลีมีความ ยินดีหาที่เปรียบมิได้ เตรียมการรับเสด็จเป็นการใหญ่ เมื่อเรือส่งเสด็จใกล้ฝั่งวัชชีเข้าไป บัดดลก็มีเมฆฝนมืดมาทั้ง ๔ ทิศ ฟ้าแลบแปลบปลาบ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่างพระบาทแรกเหยียบดินที่ฝั่งแม่คงคาแดนวัชชี ฝนโบกขรพรรษก็ตกพรูลงมา ใครอยากเปียกก็เปียกใครไม่อยากเปียกก็ไม่เปียก ฝนตกมากและนาน น้ำไหลนองพัดพาสิ่งโสโครกต่าง ๆ ลงแม่น้ำลำคลองไปสิ้น ก็ชุ่มเย็นและสะอาดทั่วไปในแดนวัชชี โดยเฉพาะบริเวณกรุงเวสาลีอันเป็นแดนภัย การนำเสด็จจากฝั่งแม่คงคาถึงกรุงเวสาลีเป็นเวลา ๓ วันพอดี

ครั้นพระ ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี พระอินทร์พร้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมากก็มา ณ ที่นั้น ทำให้พวกอมนุษย์ต้องถอยร่นหลบหลีกไปเป็นอันมากพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับยืน ที่ประตูพระนครเวสาลี รับสั่งให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตรแล้วให้เข้าไปทำปริตรภายในกำแพงสามชั้นแห่ งกรุงเวสาลี พร้อมด้วยเจ้าชายลิจฉวีทั้งหลายติดตามห้อมล้อมไปด้วย พระอานนท์เรียนจำรัตนสูตร ซึ่งพระผู้มีพระภาคประทับยืนตรัสบอกที่ประตูเมืองได้แล้ว ก็ขอพุทธานุญาตใช้บาตรของพระองค์ใส่น้ำ เดินสวดรัตนสูตรพลางซัดน้ำในบาตรไปจนทั่วพระนคร

พอพระเถระเจ้าสวด ขึ้นบทยังกิญจิ วัตตัง พวกอมนุษย์หัวดื้อที่ไม่ยอมหนีไปแต่แรก ก็ทนอยู่ไม่ไหวอีกต่อไป ชิงกันหนีออกทางประตูเมืองทั้ง ๔ แน่นอัดยัดเยียด พอพวกอมนุษย์ออกไป โรคในตัวมนุษย์ก็หาย จึงพากันลุกออกมาบูชาพระเถรเจ้าด้วยเครื่องบูชาต่างๆได้เชิญเสด็จพระ พุทธองค์ไปประทับที่ศาลากลางเมือง ภิกษุสงฆ์ คณะเจ้าลิจฉวี และราษฎรก็ไปเฝ้าที่นั่น แม้ท้าวสักกเทวราชก็ทรงพาเทวดาทั้งปวงมาเฝ้าด้วย ฝ่ายพระอานนท์เที่ยวทำการรักษาทั่ว

กรุงเวสาลีแล้วก็มาเฝ้าที่นั่นมี ชาวนครเวสาลีติดตามมาเฝ้าเป็นอันมากรวมเข้าด้วยกันเป็นมหาสมาคมพระผู้มีพระ ภาคเจ้าได้ตรัสรัตนสูตรซ้ำอีกในมหาสมาคมนั้น เมื่อจบเทศนาสรรพอุปัทวันตรายภัยพิบัติก็สงบหาย ความสวัสดีและสุขกายสบายใจแผ่ไปทั่ว พุทธเวไนยได้ศรัทธาปสาทะและเกิดความรู้ธรรมเป็นอันมาก ฯลฯ แต่นั้นฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารกลับอุดมเหมือนดังเดิม ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธปริตร คือ รัตนสูตร ดังพรรณนามาฉะนี้

รัตนสูตร เป็นบททำน้ำมนต์ พระที่เป็นหัวหน้าจะเริ่มหยดเทียนลงในน้ำมนต์ตั้งแต่ "เย สุปปะ ยุตตา" หรือ "ขีณัง ปุราณัง" เป็นอย่างช้า พอถึง "นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป" ก็ดับเทียนโดยจุ่มลงในน้ำมนต์ (ดูคาถารัตนสูตร )
พระคาถาบาลี
.ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ

ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข

สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ

อโถปิ สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ

ตสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ

เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ฯ

ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ

ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา ฯ

๒.ยํ กิญฺจิ วิตฺตํ อิธ วา หุรํ วา

สคฺเคสุ วา ยํ รตนํ ปณีตํ

น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน

อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๓.ขยํ วิราคํ อมตํ ปณีตํ

ยทชฺฌคา สกฺยมุนี สมาหิโต

น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ

อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๔.ยมฺพุทฺธเสฏฺโฐ ปริวณฺณยี สุจึ

สมาธิมานนฺตริกญฺญมาหุ

สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ

อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๕.เย ปุคฺคลา อฏฺฐสตํ ปสฏฺฐา

จตฺตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ

เต ทกฺขิเณยฺยา สุคตสฺส สาวกา

เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๖.เย สุปฺปยุตฺตา มนสา ทฬฺเหน

นิกฺกามิโน โคตมสาสนมฺหิ

เต ปตฺติปตฺตา อมตํ วิคยฺห

ลทฺธา มุธา นิพฺพุตึ ภุญฺชมานา

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ ฯ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๗.ยถินฺทขีโล ปฐวึ สิโต สิยา

จตุพฺภิ วาเตภิ อสมฺปกมฺปิโย

ตถูปมํ สปฺปุริสํ วทามิ

โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๘.เย อริยสจฺจานิ วิภาวยนฺติ

คมฺภีรญฺเญน สุเทสิตานิ

กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสปฺปมตฺตา

น เตภวํ อฏฺฐมาทิยนฺติ

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๙.สหาวสฺส ทสฺสนสมฺปทาย

ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ

สกฺกายทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉิญฺจ

สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ

จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต

ฉ จาภิญญานานิ อภพฺโพ กาตุง(อํ)

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๑๐.กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ

กาเยน วาจายุท เจตสา วา

อภพฺโพ โส ตสฺส ปฏิจฺฉทาย

อภพฺพตา ทิฏฺฐปทสฺส วุตฺตา

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๑๑.วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค

คิมฺหานมาเส ปฐมสฺมึ คิมฺเห

ตถูปมํ ธมฺมวรํ อเทสยิ

นิพฺพานคามึ ปรมํ หิตาย

อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๑๒.วโร วรญฺญู วรโท วราหโร

อนุตฺตโร ธมฺมวรํ อเทสยิ

อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๑๓.ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ

วิรตฺตจิตฺตายติเก ภวสฺมึ

เต ขีณพีชา อวิรุฬฺหิฉนฺทา

นิพฺพนฺติ ธีรา ยถายมฺปทีโป

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๑๔.ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ

ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข

ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ

พุทฺธํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๑๕.ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ

ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข

ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ

ธมฺมํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ฯ

๑๖.ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ

ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข

ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ

สงฺฆํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ฯ

รตนสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ฯ


ถอดความรัตนสูตร ในขุททกปาฐะ จาก พระมหานพดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก

( ขุ.ขุ.๒๕/๕ )

๑.ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา เหล่าใดประชุมกันแล้ว

ในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดยเคารพ

ดูกรภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตาจิตในหมู่มนุษย์

มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวันทั้งกลางคืน

เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น

๒.ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น

หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๓.พระศากยมุนีมีพระหฤทัยดำรงมั่น

ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรม

อันประณีต ธรรมชาติอะไรๆเสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะ

แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๔.พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับสมาธิ อื่นเสมอด้วยสมาธินั้น

ย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๕.บุคคล ๘จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้น

ควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระตถาคต ทานที่บุคคลถวายแล้ว

ในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๖.พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระโคดมประกอบดีแล้ว [ด้วยกายประโยคและ

วจีประโยคอันบริสุทธิ์] มีใจมั่นคง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย [ในกายและชีวิต]

พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุหยั่งลงสู่อมตนิพพาน

ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่า เสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๗.เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย

เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะนี้

เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๘.พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรง แสดงดีแล้ว

ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง

ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ เหล่านี้

๙.สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรามาสอันใดอันหนึ่งยังมีอยู่

ธรรมเหล่านั้น อันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น

[นิพพาน] ทีเดียว อนึ่ง พระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควร

เพื่อจะทำอภิฐานทั้ง ๖ [คืออนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีด] สังฆรัตนะแม้นี้

เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๑๐.พระอริยบุคคลนั้นยังทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ก็จริง ถึงกระนั้น

ท่านไม่ควร เพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพาน

อันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว

สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๑๑.พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใด พระผู้มีพระภาค

ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง เป็นเครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อ***ล

มีอุปมา ฉันนั้น พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๑๒.พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ

ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ

พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๑๓.พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว ไม่มีกรรมใหม่

เป็นเครื่องสมภพ พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่งอกงามแล้ว

เป็น นักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เหล่านี้

๑๔. ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว

ใน อากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่ เหล่านี้

๑๕.ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว

ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและ

มนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่ เหล่านี้

๑๖.ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว

ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระสงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและ

มนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่ เหล่านี้ ฯ

จบรัตนสูตร ฯ


ที่มา http://www.dhamboon.com/board/index.php?topic=1387.0

No comments:

Post a Comment