Thursday, April 26, 2012

บทกล่าวอัญเชิญและบูชาพระธาตุ


คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

ปูชิตา นะระเทเวหิ,
สัพพัฏฐาเน ปะติฎฐิตา,
สิระสา อาทะเรเนวะ,
อะหัง วันทามิ ธาตุโย,

โย โทโส โมหะจิตเตนะ,
วัตถุตตะเย กะโต มะยา,
โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
สัพพะปาปัง วินัสสะตุ,

ธาตุโย วันทะมาเนนะ*,
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม,
มาเหสุง ตัสสะ เตชะสาฯ


(* ถ้าผู้สวดเป็นหญิง เปลี่ยนคำว่า วันทะมาเนนะ เป็น วันทะมานายะ)
..........ข้า พระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้านมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานในที่ทุกสถาน ด้วยเศียรเกล้า
..........แม้บาปทั้งปวง ที่เคยล่วงเกินด้วยใหลหลง ข้าพระองค์ขอขมาโทษ ได้ทรงโปรดงดโทษนั้น ให้มีอันวินาศสิ้นสูญไป
..........ด้วย เดชะกุศลผลบุญ ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้น้อมเกล้านมัสการพระบรมสารีริกธาตุในกาลครั้งนี้ แม้สรรพอันตรายทั้งปวง จงอย่างได้บังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ.






  
คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

(นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง)
อะหัง วันทามิ อิธะ ปะติฏฐิตา พุทธะธาตุโย
ตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.

ข้าพเจ้า ขอนมัสการกราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผลบุญนี้ ขอให้ข้าพเจ้าประสบแต่ความสุขสวัสดี ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

  
คำไหว้พระธาตุ

ยาปาตุภูตา
อะตุลา
นุภาวาจีรัง
ปะติฏฐา
สัมภะกัปปะ
ปุเรเทเวนะ
ตุตตา
อุตตะราภีทับยานะมานิ
หันตัง
วะระชินะธาตุง

  
พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ

อะหังวันทามิธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุทั้งหลายที่สถิตอยู่ในจักรวาลทั้งหลาย ทั้งพรหมโลกและดาวดึงส์
อะหังวันทามิสัพพะโส ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายทั้งปวงด้วยเทอญ
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอ วังธาตุโย จัตตารี สะ สะ มาทันตา เกสา โลมา นะขา ขีจะ อะหังวันทามิธาตุโย
 คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ
..........อุ กาสะ ข้าพเจ้าจะขอยอกรบวรวันทนา ประนมนิ้วหัตถาขึ้นเหนือเศียร ต่างรัตนประทีปธูปเทียนแก้วเจ็ดประการ แลโกสุมสุมามาลย์ประทุมชาติอันโชติช่วงช่อชั้นวิจิตร แจ่มจำรัสสุนทโรภาส ด้วยเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้า เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน พระองค์ทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ สิริพระบรมธาตุทั้งหลายน้อยใหญ่ตวงได้สิบหกทะนานทอง พระรากขวัญทั้งสองพระเขี้ยวแก้วสี่ กับพระศรีอุณหิศหนึ่ง นับรวมกันได้ครบเป็นเจ็ดองค์ นี้แลคงตามสภาวะเดิม อันจะแหลกลาญด้วยเพลิงสังหารนั้นหามิได้ แต่พระอัฐิน้อยใหญ่ทั้งหลายนั้นไซร้พลันเพลิงไหม้สังหารละเอียดลง ยังคงแต่พระบรมสารีริกธาตุสามสถาน ใหญ่น้อยปานกลางมีประมาณต่างกันพระบรมธาตุขนาดใหญ่นั้น มีประมาณเท่าเมล็ดถั่วหักตักตวงได้ห้าทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานประมาณแม้นเหมือนหนึ่งพรรณทองอุไร พระบรมธาตุขนาดกลางนั้นไซร้ มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ตักตวงได้ห้าทะนานทรงพระบวรสัณฐานประมาณเหมือนพรรณแววแก้วผลึกอันเลื่อนลอย พระบรมธาตุขนาดน้อยประมาณแม้นเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดตวงได้หกทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานดังพรรณ สีดอกบุปผชาติพิกุลอดุลย์ใสสี พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ หมู่มนุษย์และเทวะนิกรอมรอินทร์พรหมภิรมย์ พากันเชิญเสด็จไปประดิษฐานรักษาไว้ พระบรมธาตุองค์ใหญ่ คือ พระรากขวัญซ้าย สถิตอยู่ชั้นพรหมา พระรากขวัญเบื้องขวากับพระนลาตะอุณหิศ เสด็จสถิตอยู่เมืองอนุราชสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องบน อยู่ดาวดึงษาสวรรค์ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องล่างนั้น สถิตอยู่เกาะแก้วลังกาสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องบนอยู่เมืองคันธาระวิไสย พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องล่างนั้นไซร้ สถิตอยู่เมืองนาคสถาน แต่พระบรมสารีริกธาตุทั้งสิบหกทะนานนั้น ประดิษฐานไว้ในแผ่นพื้นภูมิภาคแห่งพระนครทั้งแปด คือ เมืองราชคฤหบุรี เมืองเวสาลีสวัสดิ์ เมืองกบิลพัสดุ์มหานคร เมืองอัลปะกะบุรีรมย์ แลบ้านพราหมณ์นิคมเขต เมืองเทวะทะหะประเทศ เมืองปาวายะบุรินทร์ และเมืองโกสินรายน์ พระเกศา โลมา นะขา ทันตา ทั้งหลาย เรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทุกทิศทั่วทั้งจักรวาล ฝ่ายพระพุทธบริขารคือ บาตรแลจีวรท่อนผ้าสันถัตรัดประคดใน สมุกเหล็กไฟกล่องเข็มผ้ากรองน้ำธะมะการก วัสสิกะสาฏก ผ้าชุบสรง หนังนิสิทน์มีดโกนตลกบาตรเครื่องลาด แท่นพระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาทธาตุบริขารทั้งหลายนี้ องค์ขัติยาธิบดีพราหมณ์มหาศาลผู้เลื่อมใสกมลมาล ประกอบไปด้วยศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ได้อัญเชิญพระบรมธาตุบริขารสิบหกสิ่งนี้ไปประดิษฐานไว้ทั้งสิบเมือง ต่างกระทำสักการบูชารุ่งเรืองเห็นปรากฏ
..........‘กาย นทนธนํพระพุทธรัดประคด อยู่ ณ เมืองเทวะทะหะราฐ ปตฺโตบาตร อยู่เมืองอนุราธสิงหฬทวีปลังกา อุทกสาฏกํผ้าชุบสรงสถิตอยู่ ณ เมืองปัญจาละนคร จิวรผ้าจีวร อยู่เมืองพันทะวิไสย หรนีสมุกเหล็กไฟ อยู่เมืองตักสิลา วาสีสูจิฆรมีดโกนแลกล่องเข็ม ประดิษฐานอยู่เมืองอินระปัตมะไหสวรรค์ จมมํหนังนิสิทน์สันถัต สถิตอยู่เมืองคันธาระราฐถวิกาตลกบาตร แลเครื่องลาดที่พระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาททั้งคู่ อยู่บ้านอุสิระคาม ยังพระธาตุบริขารอื่นอีกหกสิ่ง คือพระอังคาร ถ่านเถ้าเสาเชิงตะกอนนั้นสถิตอยู่ ณ เมืองโมรียะประเทศ จุฬามุนีบรมเกษธาตุ ประดิษฐานอยู่ดาวดึงษาสวรรค์ กาสายะวัตถังผ้าทรง นั้นอยู่ ณ ชั้นพรหมาสุวณฺณโฑณทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุ สถิตอยู่นครโกสินรายน์รัตนมไหสวรรค์ พระบรมธาตุทั้งยี่สิบสองประการนั้นทรงพระคุณเป็นอันยิ่ง พระองค์ทรงอนุญาตประทานไว้ทุกสิ่งด้วยพระมหากรุณา หวังพระทัยเพื่อจะให้เป็นที่สักการบูชาเกิดผลานิสงส์อันเป็นสวัสดิมงคลแก่ ฝูงเทพามนุษย์ กว่าจะยุติสิ้นสุดพระพุทธศาสนา
..........ครั้น กาลล่วงนานมาในห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้เสด็จไปสู่ลังกาเกาะ เพื่อที่จะทรงสงเคราะห์ชาวสิงหฬ ให้เกิดสวัสดิมงคลด้วยกระทำสักการบูชาพระคุณ เมื่อถึงกาลพระพุทธศาสนาใกล้จะสิ้นสูญครบจำนวนถ้วนห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้จะเสด็จไปสู่ที่พระเจดีย์ฐานดำรงอยู่โดยจำเนียรกาลบ่ มิได้คลาด ครั้นถึงพระพุทธศักราชล่วงได้สี่พันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าพรรษาเศษ สังขยาเดือนล่วงได้สิบเอ็ดเดือนกับยี่สิบสองวัน วันพฤหัสบดีเดือนหกขึ้นเก้าค่ำ คิมหันตฤดูปีชวดนักษัตรอัฐศก เวลารุ่งอรุโณทัย พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ไซร้ จะเสด็จไปสู่สถานที่สันนิบาตมิทันนาน ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ด้วยพุทธฤทธิ์อันพิเศษ บังเกิดเป็นพุทธนิเวศน์ แลพระพุทธวรกายสูงได้สิบแปดศอก เปล่งพระรัศมีออกสิบหกประการ มีพระบวรสัณฐานวิจิตรจำรัสศรีสุนทโรภาส ทรงพระสิริวิลาศอันเพริศแพร้ว ดวงพระพักตร์ผุดผ่องแผ้ว ดังสีสุวรรณทองแท่งธรรมชาติ พระรูปองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ เสด็จขึ้นสถิตนั่งเหนือรัตนบัลลังก์อาสน์ทรงพระสมาธิมั่นในควงต้นไม้พระศรี มหาโพธิ์ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ โปรดสัตว์คนธรรพ์เทวะนิกรอมรฤษีสิทธิ์พิทยาธรกินนรนาคราช ทั้งหมู่อสุระเดียรดาษนั่งแน่นเหนือพื้นแผ่นพสุธา สตฺตาห ทรงตรัสพระธรรมเทศนาโปรดสัตว์อีกเจ็ดวัน ในครั้งนั้นได้สี่อสงไขยสองล้านสามแสนหกสิบเจ็ดพันโกฏิแล้ว พระเตโชธาตุก็พวยพุ่งรุ่งโรจน์โชตนาการ สังหารพระบวรพุทธสริรธาตุให้สิ้นสุดในวันพุธเดือนหกขึ้นสิบ(ห้า)ค่ำ ปีชวดนักษัตรอัฐศก พระพุทธศาสนาก็บรรจบครบจำนวนถ้วนห้าพันพรรษา
..........อหํ วนฺทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น, อหํ วนฺทามิ สพฺพโส ข้าพเจ้า ขอนมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ด้วยประการทั้งปวง
 

 บทนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ คำอธิบาย: http://www.relicsofbuddha.com/pics/dok_orange.gif

อิติปิโส ภะคะวา
มือข้าพเจ้าสิบนิ้ว

ยกเหนือหว่างคิ้ว
ต่างธูปเทียนทอง

วงภักตร์โสภา
ต่างมาลากรอง

ดวงเนตรทั้งสอง
ต่างประทีบถวาย

 


ผมเผ้าเกล้าเกศ


ต่างประทุมเมศ
บัวทองพรรณราย

วาจาเพราะผ่อง
ต่างละอองจันทร์ฉาย

ดวงจิตขอถวาย
ต่างรสสุคนธา




พระบรมธาตุ


พระโลกนาถ
อรหันตสัมมา

ทั้งสามขนาด
โอภาสโสภา

ทั้งหมดคณนา
สิบหกทะนาน




พระธาตุขนาดใหญ่


สีทองอุไร
ทรงพรรณสัณฐาน

เท่าเมล็ดถั่วหัก
ตวงตักประมาณ

ได้ห้าทะนาน
ทองคำพอดี




พระธาตุขนาดกลาง


ทรงสีสรรพางค์
แก้วผลึกมณี

เท่าเมล็ดข้าวสารหัก
ประจักษ์รัศมี

ประมาณมวลมี
อยู่ห้าทะนาน




ขนาดน้อยพระธาตุ


เท่าเมล็ดผักกาด
โอภาสสัณฐาน

สีดอกพิกุล
มนุญญะการ

มีอยู่ประมาณ
หกทะนานพอดี




พระธาตุน้อยใหญ่


สถิตอยู่ใน
องค์พระเจดีย์

ทั่วโลกธาตุ
โอภาสรัศมี

ข้าฯขออัญชลี
เคารพบูชา




พระธาตุพิเศษ


เจ็ดองค์ทรงเดช
ทรงคุณเหลือตรา

อินทร์พรหมยมยักษ์
เทพพิทักษ์รักษา

ข้าฯขอบูชา
วันทาอาจิณ




หนึ่งพระรากขวัญ


เบื้องขวาสำคัญ
อยู่ชั้นพรหมินทร์

มวลพรหมโสฬส
ประณตนิจสิน

บูชาอาจิณ
พร้อมด้วยกายใจ




สองพระรากขวัญ


เบื้องซ้ายสำคัญ
นั้นอยู่เมืองไกล

สามพระอุณหิส
สถิตร่วมใน

เจดีย์อุไร
อนุราธะบุรี




สี่พระเขี้ยวแก้ว


ขวาบนพราวแพรว
โอภาสรัศมี

อยู่ดาวดึงส์สวรรค์
มหันตะเจดีย์

พระจุฬามณี
ทวยเทพสักการ




ห้าพระเขี้ยวแก้ว


ขวาล่างพราวแพรว
โอภาสไพศาล

สถิตเกาะแก้ว
ลังกาโอฬาร

เป็นที่สักการ
ของประชากร




หกพระเขี้ยวแก้ว


ซ้ายบนพราวแพรว
เพริดพริ้งบวร

สถิตคันธาระ
วินัยนคร

ชุมชนนิกร
นมัสการ




เจ็ดพระเขี้ยวแก้ว


ซ้ายล่างพราวแพรว
รัศมีโอฬาร

สถิต ณ พิภพ
เมืองนาคสถาน

ทุกเวลากาล
นาคน้อมบูชา




พระธาตุสรรเพชร


เจ็ดองค์พิเศษ
นิเทศพรรณนา

ทรงคุณสูงสุด
มนุษย์เทวา

พากันบูชา
เคารพนิรันดร์

ด้วยเดชบูชา
ธาตุพระสัมมา

สัมพุทธภควันต์
ขอให้สิ้นทุกข์

อยู่เป็นสุขสันต์
นิราศภัยอันตราย บีฑา

แม้นเกิดชาติใด
ขอให้อยู่ใน พระศาสนา

รักธรรมดำเนิน
จำเริญเมตตา

ศีลทานภาวนา
กำจัด โลโภ

พ้นจากอาสวะ
โทโส โมหะ




ตามพระพุทโธ


อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส

ที่มาได้มาจาก  http://www.relicsofbuddha.com/

ที่มาได้มาจาก http://www.intaram.org/




No comments:

Post a Comment