Thursday, April 26, 2012

พระอริยบุคคล ๔ จำพวก มีดังนี้


. อรหัตโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นสูงสุด) มี ๒ ประเภท
(). เจโตวิมุตติ เป็นผู้ปฎิบัติสมถกรรมฐานได้ฌานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อจนสาเร็จพระอรหันต์ หรือ ผู้ที่ปฎิบัติเฉพาะวิปัสสนา เมื่อได้มรรคผลนั้นพร้อมกับได้วิชา ๓ อภิญญา ๖ สามารถแสดงฤทธิ์ได้
(). ปัญญาวิมุตติ สาเร็จพระอรหันต์ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานล้วนๆ ไม่ได้บาเพ็ญสมถกรรมฐานมาก่อนเลย เรียกว่าสุกขวิปัสสกพระอรหันต์ คือ ผู้ปฏิบัติทาให้ฌานแห้งแล้ง ผู้ถึงภูมินี้เป็นผู้ที่สมควรแก่การบูชา ของเหล่าเทพยาดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะสิ้นกิเลสด้วยโดยตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการได้
สามารถเข้าอรหันตผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามปรารถนา และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกในวัฎสงสาร เมื่อถึงอายุขัยก็ดับขันธ์ปรินิพพาน หรือ แบ่งได้อีกเป็น 4 ประเภท คือ
1.สุขวิปัสสโก แปลว่าผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง หมายถึง ท่านผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่มีสมถเข้ามาเกี่ยวข้อง เจริญแต่วิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียว จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์ปัญญาวิมุตติ ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีอภิญญา
2. เตวิชโช คือ ผู้ได้วิชชา 3 หมายถึงผู้ได้ความรู้แจ้ง 3 ประการ คือ 1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือการระลึกชาติได้ ได้แก่ การเกิดของเหล่าสัตว์ที่ผ่านกันมาในอดีตกาล ไม่สามารถกำหนดนับชาติได้

2.จุตูปปาตญาณ (ทิพพจักษุ) คือ รู้จักกาหนดการจุติและการเกิดของสัตว์ทั้งหลายในโลกนั้น รู้เห็นว่าเกิดมาจากกรรมที่บุคคลเหล่านั้นได้กระทาเอาไว้ ภายในชาตินั้นๆ
3.อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทาให้กิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดาน ที่เก็บสะสมข้ามภพข้ามชาติเป็นเวลาที่นับไม่ได้ ให้หมดสิ้นไป ด้วยการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 และญาณทั้ง 3 ตามลาดับ
 3. ฉฬภิโญญ คือ ผู้ได้อภิญญา 6 คาว่า อภิญญา แปลว่า ปัญญาเป็นเครื่องหยั่งรู้ จาแนกไปน 6 ประการ คือ
1.อิทธิวิธิ คือการแสดงฤทธิ์ เช่น คนเดียวสามารถเนรมิตให้เป็นหลายคนได้ ล่องหนได้ ดาดินได้ เดินบนผิวน้าได้ เหาะได้
2.ทิพพโสต คือ หูทิพย์ สามารถฟังได้ทั้งเสียงทิพย์ เสียงมนุษย์ ทั้งเสียงใกล้ เสียงไกล หรือเสียงกระซิบ
3.เจโตปริยญาณ คือรู้จักกาหนดใจผู้อื่น หมายถึง กาหนดด้วยใจของตนเอง แล้วได้รู้ใจของบุคคลอื่นว่าบริสุทธิ์หรือเศร้าหมองอย่างไร รวมทั้งสามารถทายใจของบุคลอื่นว่ากาลังคิดอะไรอยู่ และกาหนดรู้อัธยาศัยของบุคคลอื่นด้วย
4.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติได้
5.ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์
6.อาสวักขยญาณ 4. ปฏิสัมภิทัปปัตโต คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา แปลว่า ปัญญาอันแตกฉาน จาแนกออกเป็น 4 ประการ คือ 1.อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ หมายถึง ความรอบรู้แตกฉานในเนื้อหาของธรรมะย่อๆ สามารถอธิบายให้พิสดาร เช่น พระมหากัจจายนะ หรือความเข้าใจที่สามารถคาดกาลข้างหน้าถึงผลอันจักมี ด้วยอานาจ อนาคตังสญาณ
2.ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉานในธรรม หมายถึงความเข้าใจ อุทเทส ถือเอาความใจความของอรรถาธิบายนั้นๆ ตั้งเป็นกระทู้ขึ้นได้ หรือความเข้าใจสาวหาสาเหตุในหนหลัง ด้วยอานาจอตีตังสญาณ
3.นิรุตติปฏิสัมภิทา คือปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ หมายถึงรู้และเข้าใจในเรื่องของภาษาต่างๆ ฉลาดและรู้จักใช้ถ้อยคาในภาษานั้นๆ ตลอดถึงรู้และเข้าใจในภาษาต่างประเทศ สามารถชักนาบุคคลทั้งหลายให้นิยมตามคาพูดได้
4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ หมายถึง เรื่องของการมีไหวพริบ ความเข้าใจทาให้สบเหมาะในทันทีทันใด ในเมื่อเหตุเกิดขึ้นโดยฉุกเฉิน ปฏิภาณนี้คือ ความคิดว่องไว มีความรู้ความคิดทันคน ไม่จานนต่อคาถาม นับเข้าในปัจจุปปันนังสญาณ

๒. โสดาบันโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลกชั้นที่ ๑) ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอริยะบุคคลโสดาบัน แบ่งเป็น (). เอกพิซีโสดาบัน จะเกิดอีกชาติเดียว แล้วก็บรรลุพระอรหันตผล ปรินิพพาน

().โกลังโกลโสดาบัน จะเกิดอีก ๒-๖ ชาติ เป็นอย่างมากแล้วก็บรรลุพระอรหันตผล ปรินิพพาน (). สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน จะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ แล้วก็จะบรรลุพระอรหันตผล ปรินิพพาน ๓. สกทาคามีโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นที่ ๒) ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าถึงพระอริยบุคคลสกทาคามี ซึ่งจะเกิดอีกเพียงชาติเดียวแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ
(). ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษยโลก และบรรลุพระอรหันตผลในมนุษย์โลก
(). ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษย์โลกแล้วไปบรรลุพระอรหันต์ผลในเทวโลก
(). ผู้ถึงภูมินี้ในเทวโลกและบรรลุอรหันต์ผลในเทวโลก (). ผู้ถึงภูมินี้ในเทวโลกแล้วมาบรรลุพระอรหันต์ผลในมนุษย์โลก
(). ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษยโลกแล้วจุติไปเกิดในเทวโลกแล้วกลับมาบรรลุพระอรหันตผลในมนุษยโลก ๔. อนาคามีโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นที่ ๓) ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอนาคามี จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ
(). อันตราปรินิพพายี สาหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรกของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่
(). อุปหัจจปรินิพพายี สาหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลังของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่
(). อสังขารปรินิพพายี สาหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในพรหมโลกที่สถิตอยู่โดยสะดวกสบายไม่ต้องใช้ความเพียรมาก
(). สสังขารปรินิพพายี สาหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในพรหมโลกที่สถิตอยู่โดยต้องพยายามอย่างแรงกล้า
(). อุทธังโสตอกนิฎฐคามี ไปเกิดในสุทธาวาสพรหมโลก ชั้นต่าที่สุด (อวิหาสุทธาวาส พรหมโลก) แล้วจึงจุติไปเกิด ชั้นสูงขึ้นไปตามลาดับ คือ อวิหา อัตัปปา สุทัสสา สุทัสสี แล้วสาเร็จเป็นพระอรหันต์ปรินิพพานในอกนิฎฐพรหมโลก



No comments:

Post a Comment