Sunday, April 22, 2012

เรื่อง .... เปลี่ยนปมปัญหาเป็นเครื่องมือ

เกือบทุกคนมีปมปัญหาที่แก้ไม่ตก ในที่นี้จะไม่มุ่งปมปัญหาภายนอกอันได้แก่เรื่องราวต้นสาย
ปลายเหตุของความทุกข์ใจ แต่จะพูดถึง ‘นิสัยทางจิต’ อันเป็นปมปัญหาภายใน ซึ่งหากแก้ได้แม้ปม
ปัญหาภายนอกจะรุมเร้ารุนแรงสักแค่ไหน ก็ทำให้ทุกข์ใจได้ไม่มาก หรือถึงแม้ทำให้ทุกข์ใจได้มากก็ไม่
ขาดสติขนาดทำเรื่องเลวร้ายเยี่ยงคนจำนนจนตรอกทั้งหลาย

นิสัยทางจิตที่ทำให้ทุกข์แรง รวมทั้งบั่นทอนสุขภาพกายสุขภาพจิตขนาดที่ควรจัดเป็น ‘โรคทาง
ใจ’ มีอยู่ ๕ ข้อ เรียงตามระดับความเป็นอันตรายอันเริ่มเข้าขั้นวิกฤติในโลกปัจจุบันได้ดังนี้

๑) โรคบ้ากาม หมกมุ่นขนาดขาดความยับยั้งชั่งใจก่ออาชญากรรมทางเพศได้
๒) โรคอาฆาต คั่งแค้นจุกอกจนวูบเผลอก่อคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญได้
๓) โรคช่างท้อ หดหู่เซื่องซึมจนเข้าขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ
๔) โรคคิดมาก เคร่งเครียดกระทั่งหลุดโลกจนเป็นบ้าได้
๕) โรคขี้ลังเล จับจดจับฉ่ายจนทำอะไรไม่ประสพความสำเร็จสักอย่าง

ถ้าใครมีข้อใดข้อหนึ่งเป็นโรคประจำตัว จะเห็นอยู่กับตนเองว่าแม้ยังไม่เกิดโทษรุนแรงขั้นสูงสุด
ดังกล่าวแต่ละข้อ อย่างน้อยก็ก่อทุกข์ก่อโศกให้คุณมากบ้าง น้อยบ้าง ไม่เว้นแต่ละวัน หรือกระทั่งแต่ละ
ขณะจิต

นิสัยหรือพฤติกรรมทางจิตผิดๆที่เกิดขึ้นเป็นประจำนั้น ไม่เคยมีแบ่งว่าทำร้ายเราทางโลกหรือ
ทางธรรม ตราบใดนิสัยทางจิตยังเป็นไปในทางลบ ตราบนั้นชีวิตทางโลกจะตกต่ำดำดิ่งลงไปเรื่อยๆ และ
ชีวิตทางธรรมจะไม่อาจก้าวหน้าไปไหนรอดด้วย

หากคุณทดลองตามรู้ลมหายใจให้สม่ำเสมอดังที่กล่าวไว้แล้วในบทก่อนๆจนเกิดความเป็น
อัตโนมัติขึ้นมาระดับหนึ่ง ก็จะพบความน่าอัศจรรย์ที่โรคทางใจต่างๆลดลงโดยไม่ต้องพึ่งยา ไม่ต้องหา
หมอ ไม่ต้องรอให้เรื่องนอกตัวดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนเมืองแล้ว มีโรคชนิดหนึ่งที่แก้ให้หายขาดได้ยาก นั่นคือโรคคิดมาก
เคร่งเครียด ไม่อาจขจัดพายุความฟุ้งซ่านออกจากหัวสำเร็จ เพราะคนเมืองต้องทำงาน และงานใน
ปัจจุบันก็เต็มไปด้วยมรสุมนานาชนิด หากวิธีคิดขณะทำงานของคุณผิดพลาด คุณจะไม่มีวันหยุด
ฟุ้งซ่านได้ด้วยอุบายใดๆเลย เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคุณจะใช้ไปเพื่อก่อเหตุแห่งความฟุ้ง

ดังกล่าวแล้วว่าบทนี้จะมองนิสัยทางจิตผิดๆเป็นปมปัญหา คราวนี้มาพูดถึงการใช้วิปัสสนามา
เยียวยาความเครียดหรือโรคคิดมากกัน สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ โดยหลักการอาจดูว่าง่ายจนเกินเชื่อว่าทำ
ได้จริง แต่ในทางปฏิบัติอาจเห็นว่ายากจนเหลือที่จะฝืน ฉะนั้นขอให้ทำใจเป็นกลาง และทดลองดูหลายๆ
ครั้ง จะพบด้วยตนเองว่าไม่ต้องเรียนรู้วิชาการให้ซับซ้อนเท่าจิตแพทย์คุณก็สามารถแก้โรคเครียด โรค
คิดมากด้วยตนเองได้

ก่อนอื่นต้องสำรวจตนเองจริงจัง ว่าความคิดในรูปแบบที่คุณเป็นอยู่นั้น นำไปสู่ความเครียด หรือ
พูดง่ายๆว่าเป็นคน ‘คิดแล้วเครียด’ หรือไม่ขอให้ลองตอบคำถามเหล่านี้ดู

๑) รู้สึกอึดอัดขณะกำลังคิด เหมือนยิ่งคิดยิ่งเพิ่มแรงกดดัน
๒) คิดเรื่องใดเสร็จแต่รู้สึกเหมือนยังคิดไม่เสร็จ
๓) เมื่อตั้งใจพักผ่อน กลับย้ำคิดวกวนไม่รู้จบ
๔) แม้มีเรื่องเล็กน้อยให้คิดก็หน้านิ่วคิ้วขมวดหรืออย่างน้อยก็เกร็งตัว
๕) มีใจเร่งร้อนเกินกาล หรือทุ่มกำลังในการคิดมากเกินเหตุเสมอ
สำรวจดูตัวเองแล้ว ยิ่งตรงกับสิ่งที่คุณเป็นอยู่มากเท่าไหร่ยิ่งแปลว่าคุณมีความเครียดมากขึ้นเท่านั้น ซึ่ง
จะมากหรือน้อยไม่สำคัญ ที่สำคัญคือคุณได้รู้ตัวว่ายังเป็นคนคิดแล้วเครียด หรืออีกนัยหนึ่งคือมีลักษณะ
คิดจากพื้นนิสัยเคร่งเครียดจริงๆ
 
หลักวิปัสสนาเพื่อแก้นิสัยคิดเครียด
๑) ก่อนอื่นต้องสลัดความเชื่อเดิมๆทิ้งไป ที่เคยนึกว่าความเครียดมาจากสิ่งกระทบภายนอก
เช่นความบีบคั้นในที่ทำงานหรือที่บ้าน ขอให้ตั้งมุมมองใหม่ปักใจเชื่อว่าความเครียดมาจากวิธีคิด
เท่านั้น เพื่อให้ขอบเขตในการจัดการแก้ปัญหาแคบลงมากที่สุด คือแก้กันที่ลักษณะการคิดอย่างเดียว

กตึง อึดอัดอยู่ในอก มือเกร็งเท้างอ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดรวมกันหรือเปล่า ถ้ามีอยู่
ขอให้หยุดคิดชั่วคราว หันความสนใจมาสำเหนียกรู้สึกถึงลักษณะเครียดที่เกิดขึ้นในร่างกายตรงจุดที่เรา
รับรู้ได้เด่นชัดที่สุด พิจารณาว่านั่นเป็น ‘ส่วนเกิน’ ต่างหากจากความคิด อย่าทำอะไรมากกว่าเห็น
ส่วนเกินนั้น ให้เฝ้าดูเฉยๆ แล้วจะพบว่าส่วนเกินนั้นละลายหายไปเอง อาจช้าหรือเร็ว แต่มันจะหายไป
ขอให้ลองดูจริงๆก็แล้วกัน

๓) เมื่อเห็นภาวะเครียดหายไป จะเกิดความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งเบาขึ้นแทน ณ จุดเดิมนั้นๆ กับ
ทั้งมีความรู้สึกในอิริยาบถปัจจุบัน เช่นนั่งหรือยืน ขอให้ทำความรู้สึกอยู่กับสภาพเบากายครู่หนึ่ง
เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความต่างระหว่างสภาพหนักเมื่อครู่ก่อนกับสภาพเบาในปัจจุบัน การ
กำหนดรู้ถึงความแตกต่างระหว่างหนักกับเบาจะมีส่วนสำคัญยิ่ง เพราะสภาพหนักกับสภาพเบาเป็นสิ่งที่
จิตจดจำได้ดังนั้นเมื่อลองสังเกตให้เห็นจนเกิดความหมายรู้สามารถแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างสอง
สภาพ สิ่งที่ตามมาคือปัญญาเห็นตามจริง คือหนักก็แค่ภาวะหนึ่งของกายกับจิต เบาก็แค่ภาวะหนึ่งของ
กายกับจิต ไม่ใช่มีภาวะใดภาวะหนึ่งเป็นตัวคุณอย่างถาวรเลย ยิ่งเห็นภาวะต่างบ่อยขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่ง
เกิดปัญญาเห็นทุกภาวะไม่ใช่ตัวตนของคุณมากขึ้นเท่านั้น

ด้วยหลักการง่ายๆ ๓ ข้อข้างต้นเพียงเท่านี้เมื่อกลับไปคิดถึงภาระหน้าที่การงานอีกครั้งด้วย
กายที่สบายและใจที่ปลอดโปร่งกว่าเดิม คุณจะพบว่าที่ผ่านมาคุณทำตัวเองให้เครียดไปโดยเปล่า
ประโยชน์แท้ๆ เพราะเราจะทำงาน หรือแบกภาระปัญหาได้ดีที่สุดขณะกายกับใจมีความสงบนิ่ง ปลอด
โปร่ง เหมือนเตรียมถนนว่างๆให้พรักพร้อมรับการแล่นฉิวของขบวนความคิดนับสิบนับร้อยระลอก
เพื่อเป็นแบบฝึกหัดเบื้องต้นที่สามารถทดลองทำได้ขณะกำลังอ่านหนังสืออยู่นี้ขอให้ลองทำตาม
เป็นข้อๆข้างล่างดู

๑) สังเกตนิสัยทางการอ่านหนังสือของตัวเอง ว่ามีอาการเพ่งหรืออาการรู้สบายๆ ถ้าเพ่งจะเห็น
ตัวหนังสือแคบจำกัด แต่ถ้ารู้สบายๆ หัวคิ้วไม่ขมวด หน้าผากผ่อนคลาย หลังตั้งคอตรง คุณจะทอดตา
มองเห็นได้กว้างขึ้น หากรู้ตัวว่ามีนิสัยทางการอ่านแบบเพ่ง แรกๆให้สังเกตอาการขึงตา หรืออาการ
เกร็งตัว และให้ทราบว่านั่นเป็นเครื่องสะท้อนว่าใจกำลังเพ่งหนักโดยไม่จำเป็น ขอให้หยุดอ่านเพื่อสังเกต
ความแข็งตัวติดค้างทางจิต เพียงสองสามวินาทีจะรู้สึกว่างโล่งขึ้นนิดหนึ่ง ให้จำภาวะนั้นไว้ใช้อ่าน
หนังสือต่อไป ติดความเครียดอีกก็หยุดอ่านอีก ทำบ่อยๆจะค่อยๆกลายเป็นนิสัยใหม่ถาวร แต่อาจไม่ใช่
ในชั่วข้ามคืนหรือข้ามอาทิตย์นิสัยการอ่านแบบสบายอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและทำได้ทันทีเพราะวินาที
นี้คุณก็กำลังอ่านอยู่!

๒) เดินไปในที่ที่มีต้นไม้ใบหญ้าและอากาศที่ปลอดโปร่ง หากเป็นเวลาที่ฟ้าใสด้วยจะเหมาะมาก
ถ้าเดินเท้าเปล่าเหยียบผืนหญ้านุ่มได้ยิ่งดีใหญ่แล้วสังเกตว่าขณะตามองดอกไม้ ขณะที่หูฟังเสียงนกร้อง
ขณะที่ฝ่าเท้ารับสัมผัสใบหญ้า ใจคุณกำลังคิดถึงอะไร หากไม่เกี่ยวกับดอกไม้ที่ตาเห็น ไม่เกี่ยวกับเสียง

นกที่ได้ยิน ไม่เกี่ยวกับใบหญ้าที่สัมผัส ขอให้ถือว่านั่นเป็น ‘ราก’ ของความเครียดทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่
ความอยากให้คนที่เรารักมาชมสวนด้วยกัน แต่หากความคิดของคุณวนเวียนอยู่กับความสังเกตสังกา
สีสันและรูปทรงสัณฐานของมวลไม้ขอให้ถือเป็นตัวอย่างการว่างจากความเครียด

๓) เมื่ออยู่ระหว่างวัน ไม่ว่าจะเจอใคร คุยกันเรื่องอะไร หรืออยู่คนเดียวแล้วครุ่นคิดถึงสิ่งใด
ขอให้สังเกต สังเกต และสังเกต ว่าขณะหนึ่งๆเครียดแล้วคิด คิดแล้วเครียดยิ่งขึ้นอีก หรือว่างจากเครียด
แล้วค่อยคิด เพียงเมื่อเปรียบเทียบได้บ่อยๆจนเห็นว่าเครียดก็แค่ภาวะหนึ่งที่ปรากฏให้รู้ว่าง
สบายก็แค่อีกภาวะหนึ่งที่ปรากฏให้รู้เช่นเดียวกัน ไม่มีภาวะใดภาวะหนึ่งเป็นตัวคุณ คุณไม่ต้อง
จมปลักอยู่กับภาวะนั้นๆตลอดไป เท่านี้ก็เรียกว่าเป็นวิปัสสนาขั้นต้นได้แล้ว

หลังจากฝึกไปสักสองสามวัน ขอให้ลองประเมินผลด้วยการสำรวจตนเองดูหากสิ่งเหล่านี้
ปรากฏ ‘บ่อยขึ้นเรื่อยๆ’ หรือกระทั่ง ‘เป็นประจำทุกครั้ง’ แปลว่าคุณว่างจากความเครียดก่อนคิดแล้ว

๑) รู้สึกผ่อนคลายขณะกำลังคิด เหมือนยิ่งคิดยิ่งมีสติรู้ชัด
๒) คิดเรื่องใดเสร็จแต่รู้สึกว่าโล่งอก งานจบไม่ตกค้าง
๓) เมื่อตั้งใจพักผ่อน รู้สึกปลอดโปร่งสบายยิ่ง
๔) แม้มีเรื่องหนักหนาให้คิดก็มีสีหน้าผ่อนคลายสบายทั้งตัว

๕) ใจเย็นรอผลสมเหตุตามควรแก่เวลา และใช้กำลังในการคิดนิดเดียวแต่ได้เหตุได้ผลสมบูรณ์แบบ
หากประเมินดูแล้วพบว่าคุณมีคุณสมบัติครบทั้ง ๕ ข้อ ขอให้สังเกตความเครียดหรือความเกร็งที่
เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยขณะเผลอตัว กับทั้งกำหนดพิจารณาว่าริ้วรอยความเครียดที่แทรกตัวเข้า
มาท่ามกลางความสบายกายใจนั้น มีความไม่เที่ยง เมื่อถูกรู้แล้วต้องคลายลงเป็นธรรมดา แต่
คลายแล้วก็ควบคุมให้หายไปตลอดกาลไม่ได้ เพราะความเครียดไม่ใช่ตัวคุณ และตัวคุณไม่ใช่
ความเครียด

สรุป
บทนี้พูดถึงปัญหาใหญ่หลวงของคนยุคปัจจุบัน คือโรคเครียด ที่ความจริงแล้วแก้ได้ง่ายนิดเดียว
ไม่จำเป็นต้องไปเข้าคอร์สอบรมหรือขอยาจากไหนเลย แค่คิดให้เป็น คิดจากอาการสบายให้คล่องเท่านั้น
ไม่กี่วันก้อนแข็งๆที่เลวร้ายในโพรงกะโหลกและในโพรงอกก็จะละลายไปจนหมด สำคัญคือคนไม่รู้วิธีคิด
จากความสบายกันเอง เลยซ้ำเติมความเครียดเข้าไปไม่หยุดหย่อน วันหนึ่งก็ระเบิดโพละออกมา ซึ่ง
นับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่มีวิปัสสนา และหลักวิปัสสนาก็ช่วยให้พ้นจาก
ความเครียดได้ง่ายแสนง่ายด้วย



เขียนโดย ดังตฤณ


No comments:

Post a Comment