Thursday, April 26, 2012

บทสวดจักรพรรดิ วัดพุทธพรหมปัญโญ(วัดถ้าเมืองนะ) ต้าบลเมืองนะ อ้าเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่


ตังสัจจะอธิษฐาน เวลา 20.30 น.
ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะอธิษฐาน ขอกราบอาราธนาเมตตาบารมีรวมกาลังหลวงปู่ทวด บารมีรวมกาลังหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นที่สุด ขอหลวงปู่ท่านได้โปรดเมตตา อาราธนาบารมีรวมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมองค์พระบรมมหาจักรพรรดิทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิมาจนถึงบรมมหาจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระโพธิสัตว์เจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรมและพระอริยะสงฆ์ทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบันและอนาคต โดยมีบารมีรวมของหลวงปู่ทวด บารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ และบารมีรวมของหลวงตาม้า เป็นที่สุด

ขอหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้โปรดเมตตาน้อมนาภพภูมิต่างๆ ทั้งหลาย ทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ อันประกอบไปด้วย เทพ 6 ชั้น พรหม 20 ชั้น เทพพรหมทุกชั้นฟ้ามหาสมุทรโดยทั่วทั้งแสนหมื่นโกฎิจักรวาลและอนันตจักรวาล เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ หลวงตาม้า เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ท่านท้าวมหาราชทั้ง 4 พระยายมราชพร้อมบริวารทั้งหมดทั้งมวล พระศรีสยามเทวาธิราชทุกๆ พระองค์ เทพพรหมเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สถิตบริเวณวัดถ้าเมืองนะ วีรบุรุษและวีรสตรีทั้งหลายที่คอยปกป้องรักษาแผ่นดินสยามและแผ่นดินล้านนา ดวงวิญญาณและโอปปาติกะทั้งหลาย ฤาษีและดาบสทั้งหลาย ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทุกๆ จังหวัด พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬชัยศรี พระราหู เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พระเพลิง พระพาย พญาครุฑ พญานาค คนธรรพ์ กุมภ์ภัณฑ์พร้อมบริวารทั้งหมดทั้งมวล ชาวเมืองลับแล สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยไปอธิษฐานไว้ และสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในทั่วทั้งสามแดนโลกธาตุ และแผ่ไปยังรูปลักษณ์ที่ข้าพเจ้าและหมู่คณะได้สร้างขึ้น ขอหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้โปรดเมตตา น้อมนาท่านทั้งหลายให้มาร่วมสวดบทพระมหาจักรพรรดิพร้อมกันกับข้าพเจ้าทุกครั้งโดยอัตโนมัติไปจนตลอดชีวิตของข้าพเจ้า เพื่อเป็นการเพิ่มกาลัง
 
บทบูชาพระ
พุทธัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
 
กราบพระ 6 ครั ง(กราบด้วยจิต)
พุทธัง วันทามิ(กราบ)
ธัมมัง วันทามิ(กราบ)
สังฆัง วันทามิ(กราบ)
ครูอุปัชฌาอาจาริยคุณัง วันทามิ(กราบ)
มาตาปิตุคุณัง วันทามิ(กราบ)
พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ(กราบ)
 
บทสมาทานศีล 5
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 ครั้ง)
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อะพรัหมะจะริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
สุราเมระยะ มัชชะปะมา ทัฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาทิยามิ(3 ครั้ง)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโส ธะเย
 
บทอาราธนาพระ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 ครั้ง)
พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ
 
คาถาหลวงปู่ทวด
น้อมระลึกถึงหลวงปู่ทวดแล้วว่าคาถาดังนี้
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภะคะวา(3 ครั้ง)
 
คาถาหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
น้อมระลึกถึงหลวงปู่ดู่แล้วว่าคาถาดังนี้
นะโม โพธิสัตโต พรหม ปัญโญ(3 ครั้ง)

บทขอขมาพระรัตนตรัย
โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
 
บทสวดพระคาถามหาจักรพรรดิ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 ครั้ง)

(ให้สวดตามกาลังวัน อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17 พฤหัส 19 ศุกร์ 21 เสาร์ 10 เช่นสวดในวันอาทิตย์ ก็ให้สวด 6 จบ)

นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ
มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา(สุ-ท้า-มา)
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวลี จะมหาเถรัง
อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

ครั งที่ 1 การอธิษฐานสัพเพให้สามแดนโลกธาตุ
ข้าพเจ้าขอกราบอาราธนาบารมีรวมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระโพธิสัตว์เจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิมาจนถึงบรมมหาจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน พระธรรม พระอริยะสงฆ์ทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันและอนาคต โดยมีบารมีรวมของหลวงตาม้า และบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นที่สุด ขอให้หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้โปรดเมตตารวมบารมีและกาลังจักรพรรดิทั้งหมดทั้งมวล เพื่อน้อมนาส่งไปยังสามแดนโลกธาตุ อันมีอบายภูมิอยู่เบื้องล่าง มนุษย์ภูมิอยู่เบื้องกลาง เทวโลกและพรหมโลกอยู่เบื้องสูง ส่งให้ทุกท่านทุกรูปทุกนามที่มีกระแสสามารถรับพลังงานบุญของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญได้ รวมถึงเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้าตั้งแต่ในอดีตภพชาติปางก่อนทุกๆ ภพชาติ จนถึงเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้าในภพชาติปัจจุบัน รวมถึงญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว และที่ยังมีชีวิตอยู่ ขอเชิญทุกท่านทุกรูปทุกนามได้ร่วมอนุโมทนารับบุญที่ส่งให้นี้ด้วยเทอญ

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยังพลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส
(สวด 5 จบ)

(ขณะที่สวดบทสัพเพฯ ให้กาหนดเป็นภาพพลังงานบุญ แผ่ออกจากกายของหลวงปู่ดู่ ส่งผ่านมาที่ตัวเรา แล้วให้เราน้อมจิตแผ่บุญนั้นออกไปยังเป้าหมายที่กาหนด)
พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ
(ให้อธิษฐานจิต แล้วน้อมนาพลังงานแผ่ออกไป)
 

ครั งที่ 2 การอธิษฐานสัพเพให้บูรพกษัตริย์ไทย ให้ผู้สร้างประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ให้พระเจ้าแผ่นดิน ให้ประเทศชาติ และให้โลก
 
ข้าพเจ้าขอกราบอาราธนาบารมีรวมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระโพธิสัตว์เจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิมาจนถึงบรมมหาจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน พระธรรม พระอริยะสงฆ์ทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันและอนาคต โดยมีบารมีรวมของหลวงตาม้า และบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นที่สุด ขอให้หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้โปรดเมตตารวมบารมีและกาลังจักรพรรดิทั้งหมดทั้งมวล เพื่อน้อมนาส่งไปยังบูรพกษัตริย์ไทยทุกๆ พระองค์ ให้ผู้ที่ทานุบารุงพระพุทธศาสนาทุกท่าน ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ให้แก่พระเจ้าแผ่นดิน ให้แก่ประเทศชาติ(กาหนดภาพแผนที่ประเทศไทยในใจ) และให้แก่โลก(กาหนดภาพแผนที่โลกหรือลูกโลกในใจ)

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยังพลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส
(สวด 3 จบ)

(ขณะที่สวดบทสัพเพฯ ให้กาหนดเป็นภาพพลังงานบุญ แผ่ออกจากกายของหลวงปู่ดู่ ส่งผ่านมาที่ตัวเรา แล้วให้เราน้อมจิตแผ่บุญนั้นออกไปยังเป้าหมายที่กาหนด)
พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ
(ให้อธิษฐานจิต แล้วน้อมนาพลังงานแผ่ออกไป)
 

ครั งที่ 3 การอธิษฐานสัพเพให้หลวงปู่รวบรวมบารมีทั ง 10 ของเราเพื่อน้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ (รวมบุญ)
ข้าพเจ้าขอกราบอาราธนาบารมีรวมกาลังขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระโพธิสัตว์เจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิมาจนถึงบรมมหาจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน พระธรรม พระอริยะสงฆ์ทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันและอนาคต บารมีรวมของหลวงปู่ทวด บารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ บารมีรวมของหลวงตาม้า บารมีใดที่ข้าพเจ้าเคยได้สั่งสมอบรมมา เคยปฏิบัติมาจากอดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ข้าพเจ้าขอรวมบารมีทั้ง 10 นี้ น้อมถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิมาจนถึงบรมมหาจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ถวายแด่หลวงปู่ทวด ถวายแด่หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ขอถวายเป็นพุทธะบูชา มหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มหาปัญโญ สังฆะบูชา มหาโภคะวะโห ถวายแด่องค์พระพุทธ องค์พระธรรม องค์พระสงฆ์ ขอกราบอาราธนาบารมีรวมหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้โปรดเมตตาน้อมนาบารมีและกาลังจักรพรรดิของสมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ และบรมมหาจักรพรรดิทุกๆ พระองค์ และกาลังจักรพรรดิของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญทั้งหมด มายังข้าพเจ้าเป็นเท่าทวีคูณ ให้ข้าพเจ้าและครอบครัวจงมีความสาเร็จความคล่องตัวในทุกๆ เรื่อง ให้ข้าพเจ้าและครอบครัวจงมีกินมีใช้ในชีวิตประจาวันสามารถสร้างบุญสร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบายอย่างคล่องตัวโดยอย่าได้มีปัญหาติดขัด อย่าได้มีศัตรูหมู่มาร และอุปสรรคใดๆ มาขัดขวางได้เลย เพื่อข้าพเจ้าจะได้มีกาลังในการช่วยชาติ ศาสนา ราชบัลลังก์ หมู่คณะ เทพพรหมและเทวดา มนุษย์ สัตว์ ดวงวิญญาณและโอปปาติกะทั้งมวล

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยังพลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส
(สวด 5 จบ)

(ขณะที่สวดบทสัพเพฯ ให้กาหนดเป็นภาพพลังงานบุญ แผ่ออกจากกายของหลวงปู่ดู่ ส่งผ่านมาที่ตัวเรา แล้วให้เราน้อมจิตแผ่บุญนั้นออกไปยังเป้าหมายที่กาหนด)
พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ
(ให้อธิษฐานจิต แล้วน้อมนาพลังงานแผ่ออกไป)
 
ครังที่ 4 การอธิษฐานเฉพาะตัวของเรา
ข้าพเจ้าขอกราบอาราธนาบารมีรวมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระโพธิสัตว์เจ้าทุกๆ พระองค์ บารมีรวมพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิมาจนถึงบรมมหาจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน พระธรรม พระอริยะสงฆ์ทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันและอนาคต โดยมีบารมีรวมของหลวงตาม้า และบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นที่สุด ขอให้หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้โปรดเมตตารวมบารมีและกาลังจักรพรรดของสมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ และบรมมหาจักรพรรดิทุกๆ พระองค์ และกาลังจักรพรรดิของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ทั้งหมด ส่งให้....(ตามแต่จะอธิษฐาน)...
สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยังพลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส
(สวด 5 จบ)

 
(ขณะที่สวดบทสัพเพฯ ให้กาหนดเป็นภาพพลังงานบุญ แผ่ออกจากกายของหลวงปู่ดู่ ส่งผ่านมาที่ตัวเรา แล้วให้เราน้อมจิตแผ่บุญนั้นออกไปยังเป้าหมายที่กาหนด)
พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ
(ให้อธิษฐานจิต แล้วน้อมนาพลังงานแผ่ออกไป)

 
*** ขอสิ่งที่ข้าพเจ้าอธิษฐานนี้จงศักดิ์สิทธ์ สาเร็จ เป็นจริง โดยฉับพลัน ทันใจ ทุกประการ ***
***นั่งสมาธิภาวนาตามเวลาสมควร***
 
กราบพระ

 
พุทธัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
พุทธัง วันทามิ(กราบ) ธัมมัง วันทามิ(กราบ)
สังฆัง วันทามิ(กราบ) ครูอุปัชฌาอาจาริยคุณัง วันทามิ(กราบ)
มาตาปิตุคุณัง วันทามิ(กราบ) พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ(กราบ)
 

 ค้าแปลบทสวดมหาจักรพรรดิ
นะโมพุทธายะ - ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาต่อพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ คือ
นะ - พระกกุสันธะ (พระแก้วขาว)
โม - พระโกนาคมนะ (พระแก้วเหลือง)
พุธ - พระกัสสปะ (พระแก้วฟ้า)
ธา - พระโคตรมะหรือพระสมณโคดม (พระแก้วเขียว หรือพระแก้วมรกต)
ยะ - พระศรีอริยเมตไตรย (พระแก้วแดง)
พระพุทธไตรรัตนญาณ - พระพุทธเจ้าซึ่งมีพระญาณแก้วทั้งสาม อันหมายถึงบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ
มณีนพรัตน์ - มีสมบัติคือแก้ว 9 ประการ มีเพชร ทับทิม เป็นต้น ซึ่งหมายถึง พระนวโลกุตรธรรม
สีสะหัสสะ สุธรรมา - มีมือถึงพันมือ หมายถึงการที่พระพุทธองค์ทรงแจกแจงหลักธรรม คือพระไตรปิฎกถึง 84,000 พระธรรมขันธ์
พุทโธ - เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ธัมโม - ธรรมของพระพุทธเจ้า
สังโฆ - พระสาวกที่ปฏิบัติตาม
ยะธาพุทโมนะ - ขอพระพุทธเจ้าปางมหาจักรพรรดิ ซึ่งมีชัยชนะแก่พญาชมพูผู้มีฤทธิ์มาก พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ จงบังเกิดขึ้น ณ บัดนี้ด้วยเทอญ
พุทธะบูชา - ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า
ธรรมะบูชา - ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม
สังฆะบูชา - ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์
อัคคีทานัง วะรังคันธัง - ด้วยสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ ธูป เทียน ไฟ หรือแสงสว่างและของหอมทั้งมวลมีดอกไม้และน้าอบ เป็นต้น
สีวลี จะมหาเถรัง - ขอนมัสการพระสีวลีเถระเจ้า ผู้เป็นเลิศทางลาภสักการะ
อะหังวันทามิ ทูระโต - ขอนมัสการสถานศักดิ์สิทธิ์ทั่วไป มีสังเวชนีสถานเป็นต้น
อะหังวันทามิ ธาตุโย - ขอนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุทั้งหลายทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล
อะหังวันทามิ สัพพะโส - ขอนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
พุทธะ ธรรมะ สังฆะ - ซึ่งเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ปูเชมิ - ด้วยเทอญ

อานิสงส์การสวดบทพระคาถามหาจักรพรรดิ
บทสวดพระคาถามหาจักรพรรดินี้ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นผู้เรียบเรียงโดยมีที่มาจาก การที่ศิษย์ของหลวงปู่ท่านหนึ่ง ต้องการพระคาถาเพื่อใช้สวดบูชาพระพุทธรูปที่เขาได้จัดสร้างขึ้น เป็นการสวดเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ตลอดทั้งพระนิพพาน รวมถึงพระธรรมเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันตาขีณาสพเจ้า พระอริยะสงฆ์ และพระสงฆ์สาวกทั้งมวล เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในภัทรกัป(กัปปัจจุบันนี้) อีกทั้งยังเป็นการอัญเชิญกาลังแห่งพระพุทธเจ้าจักรพรรดิ กาลังแห่งพระโพธิญาณของพระโพธิสัตว์เจ้าทุกๆ พระองค์ นับตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต น้อมนากาลังของเทพพรหม พระอริยะเจ้าทั้งหลาย อาราธนารวมเข้าที่กาย ใจ จิต วิญญาณของผู้สวด เป็นการอาราธนาบารมีแห่งคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ เทพ พรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าสู่ตัว เพื่อคุ้มครองป้องกันภัย และเสริมโชคลาภให้แก่ผู้สวด เนื่องจากในบทสวดมีการระลึกถึงพระสีวลี ผู้ซึ่งเป็นพระอสีติมหาสาวกเอตทัคคะในทางผู้มีลาภมากรวมอยู่ด้วย

การสวดครั้งหนึ่ง มีอานิสงส์แผ่ไปทั่วจักรวาลตลอดสามแดนโลกธาตุ(เทพ พรหมภูมิ, มนุษย์ภูมิ, อบายภูมิ) สามารถแผ่ส่วนบุญปรับภพภูมิแก่สรรพสัตว์ ตลอดจนเทวดาประจาตัว ญาติมิตร ครอบครัว เจ้ากรรมนายเวร และหากนาบทสวดนี้ไปสวดหรือแผ่ไปในนรก(อบายภูมิ) ไฟนรกจะดับชั่วขณะ นอกจากนี้ การสวดบทพระคาถามหาจักรพรรดินี้ ยังเป็นการสร้างกาแพงแก้วคุ้มกันตัวแก่ผู้สวดอีกด้วย
บทสวดพระคาถามหาจักรพรรดินี้มีพลังงานมากมาย เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้สวดก่อนหรือระหว่างการนั่งภาวนากัมมัฏฐาน เพราะจะก่อให้เกิดกระแสพุทธานุภาพครอบคลุมและคุมการปฏิบัติภาวนาของเรา และหากได้สวดอยู่เป็นประจาจะสามารถอธิษฐานเรื่องราวใดที่มีข้อติดขัด เรื่องร้ายทั้งหลาย ทาให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี นามาซึ่งความเจริญแก่ผู้สวดทั้งในทางโลกและทางธรรม




ข้อมูลจาก 
วัดพุทธพรหมปัญโญ(วัดถ้าเมืองนะ) ต้าบลเมืองนะ อ้าเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
โทร.0870034884,0817315303,0844857448
www.watthummuangna.com
www.jukkaput.net



พระอริยบุคคล ๔ จำพวก มีดังนี้


. อรหัตโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นสูงสุด) มี ๒ ประเภท
(). เจโตวิมุตติ เป็นผู้ปฎิบัติสมถกรรมฐานได้ฌานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อจนสาเร็จพระอรหันต์ หรือ ผู้ที่ปฎิบัติเฉพาะวิปัสสนา เมื่อได้มรรคผลนั้นพร้อมกับได้วิชา ๓ อภิญญา ๖ สามารถแสดงฤทธิ์ได้
(). ปัญญาวิมุตติ สาเร็จพระอรหันต์ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานล้วนๆ ไม่ได้บาเพ็ญสมถกรรมฐานมาก่อนเลย เรียกว่าสุกขวิปัสสกพระอรหันต์ คือ ผู้ปฏิบัติทาให้ฌานแห้งแล้ง ผู้ถึงภูมินี้เป็นผู้ที่สมควรแก่การบูชา ของเหล่าเทพยาดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะสิ้นกิเลสด้วยโดยตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการได้
สามารถเข้าอรหันตผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานได้ตามปรารถนา และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกในวัฎสงสาร เมื่อถึงอายุขัยก็ดับขันธ์ปรินิพพาน หรือ แบ่งได้อีกเป็น 4 ประเภท คือ
1.สุขวิปัสสโก แปลว่าผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง หมายถึง ท่านผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่มีสมถเข้ามาเกี่ยวข้อง เจริญแต่วิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียว จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์ปัญญาวิมุตติ ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีอภิญญา
2. เตวิชโช คือ ผู้ได้วิชชา 3 หมายถึงผู้ได้ความรู้แจ้ง 3 ประการ คือ 1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือการระลึกชาติได้ ได้แก่ การเกิดของเหล่าสัตว์ที่ผ่านกันมาในอดีตกาล ไม่สามารถกำหนดนับชาติได้

2.จุตูปปาตญาณ (ทิพพจักษุ) คือ รู้จักกาหนดการจุติและการเกิดของสัตว์ทั้งหลายในโลกนั้น รู้เห็นว่าเกิดมาจากกรรมที่บุคคลเหล่านั้นได้กระทาเอาไว้ ภายในชาตินั้นๆ
3.อาสวักขยญาณ คือ ญาณที่ทาให้กิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดาน ที่เก็บสะสมข้ามภพข้ามชาติเป็นเวลาที่นับไม่ได้ ให้หมดสิ้นไป ด้วยการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 และญาณทั้ง 3 ตามลาดับ
 3. ฉฬภิโญญ คือ ผู้ได้อภิญญา 6 คาว่า อภิญญา แปลว่า ปัญญาเป็นเครื่องหยั่งรู้ จาแนกไปน 6 ประการ คือ
1.อิทธิวิธิ คือการแสดงฤทธิ์ เช่น คนเดียวสามารถเนรมิตให้เป็นหลายคนได้ ล่องหนได้ ดาดินได้ เดินบนผิวน้าได้ เหาะได้
2.ทิพพโสต คือ หูทิพย์ สามารถฟังได้ทั้งเสียงทิพย์ เสียงมนุษย์ ทั้งเสียงใกล้ เสียงไกล หรือเสียงกระซิบ
3.เจโตปริยญาณ คือรู้จักกาหนดใจผู้อื่น หมายถึง กาหนดด้วยใจของตนเอง แล้วได้รู้ใจของบุคคลอื่นว่าบริสุทธิ์หรือเศร้าหมองอย่างไร รวมทั้งสามารถทายใจของบุคลอื่นว่ากาลังคิดอะไรอยู่ และกาหนดรู้อัธยาศัยของบุคคลอื่นด้วย
4.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติได้
5.ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์
6.อาสวักขยญาณ 4. ปฏิสัมภิทัปปัตโต คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ปฏิสัมภิทา แปลว่า ปัญญาอันแตกฉาน จาแนกออกเป็น 4 ประการ คือ 1.อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ หมายถึง ความรอบรู้แตกฉานในเนื้อหาของธรรมะย่อๆ สามารถอธิบายให้พิสดาร เช่น พระมหากัจจายนะ หรือความเข้าใจที่สามารถคาดกาลข้างหน้าถึงผลอันจักมี ด้วยอานาจ อนาคตังสญาณ
2.ธัมมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉานในธรรม หมายถึงความเข้าใจ อุทเทส ถือเอาความใจความของอรรถาธิบายนั้นๆ ตั้งเป็นกระทู้ขึ้นได้ หรือความเข้าใจสาวหาสาเหตุในหนหลัง ด้วยอานาจอตีตังสญาณ
3.นิรุตติปฏิสัมภิทา คือปัญญาอันแตกฉานในนิรุตติ หมายถึงรู้และเข้าใจในเรื่องของภาษาต่างๆ ฉลาดและรู้จักใช้ถ้อยคาในภาษานั้นๆ ตลอดถึงรู้และเข้าใจในภาษาต่างประเทศ สามารถชักนาบุคคลทั้งหลายให้นิยมตามคาพูดได้
4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ หมายถึง เรื่องของการมีไหวพริบ ความเข้าใจทาให้สบเหมาะในทันทีทันใด ในเมื่อเหตุเกิดขึ้นโดยฉุกเฉิน ปฏิภาณนี้คือ ความคิดว่องไว มีความรู้ความคิดทันคน ไม่จานนต่อคาถาม นับเข้าในปัจจุปปันนังสญาณ

๒. โสดาบันโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลกชั้นที่ ๑) ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอริยะบุคคลโสดาบัน แบ่งเป็น (). เอกพิซีโสดาบัน จะเกิดอีกชาติเดียว แล้วก็บรรลุพระอรหันตผล ปรินิพพาน

().โกลังโกลโสดาบัน จะเกิดอีก ๒-๖ ชาติ เป็นอย่างมากแล้วก็บรรลุพระอรหันตผล ปรินิพพาน (). สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน จะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ แล้วก็จะบรรลุพระอรหันตผล ปรินิพพาน ๓. สกทาคามีโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นที่ ๒) ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าถึงพระอริยบุคคลสกทาคามี ซึ่งจะเกิดอีกเพียงชาติเดียวแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ
(). ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษยโลก และบรรลุพระอรหันตผลในมนุษย์โลก
(). ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษย์โลกแล้วไปบรรลุพระอรหันต์ผลในเทวโลก
(). ผู้ถึงภูมินี้ในเทวโลกและบรรลุอรหันต์ผลในเทวโลก (). ผู้ถึงภูมินี้ในเทวโลกแล้วมาบรรลุพระอรหันต์ผลในมนุษย์โลก
(). ผู้ถึงภูมินี้ในมนุษยโลกแล้วจุติไปเกิดในเทวโลกแล้วกลับมาบรรลุพระอรหันตผลในมนุษยโลก ๔. อนาคามีโลกุตรภูมิ (ภูมิพ้นโลก ชั้นที่ ๓) ผู้ถึงภูมินี้ได้ชื่อว่าพระอนาคามี จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ
(). อันตราปรินิพพายี สาหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งแรกของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่
(). อุปหัจจปรินิพพายี สาหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในอายุครึ่งหลังของสุทธาวาสภูมิพรหมโลกที่สถิตอยู่
(). อสังขารปรินิพพายี สาหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในพรหมโลกที่สถิตอยู่โดยสะดวกสบายไม่ต้องใช้ความเพียรมาก
(). สสังขารปรินิพพายี สาหรับเป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานภายในพรหมโลกที่สถิตอยู่โดยต้องพยายามอย่างแรงกล้า
(). อุทธังโสตอกนิฎฐคามี ไปเกิดในสุทธาวาสพรหมโลก ชั้นต่าที่สุด (อวิหาสุทธาวาส พรหมโลก) แล้วจึงจุติไปเกิด ชั้นสูงขึ้นไปตามลาดับ คือ อวิหา อัตัปปา สุทัสสา สุทัสสี แล้วสาเร็จเป็นพระอรหันต์ปรินิพพานในอกนิฎฐพรหมโลก



การบูชาพระธาตุยังได้ประโยชน์ ในด้านเป็นอนุสติ 10

ดังนี้คือ

  1. พุทธานุสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า (พระบรมสารีริกธาตุ)
  2. ธัมมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระธรรม (ธรรมที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
  3. สังฆานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (พระสงฆ์สาวกธาตุ)
  4. สีลานุสสติ คือ การระลึกถึงศีลของตน (ผลของศีลที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
  5. จาคานุสติ คือ การระลึกถึงทานของตน (ผลของทานที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
  6. เทวตานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา (เทวดารักษาพระธาตุ)
  7. มรณานุสสติ คือ การระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน (แม้พระอริยเจ้าก็ต้องตาย) 
  8. กายคตาสติ คือ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่าไม่งาม น่าเกลียด (เมื่อตายแล้วก็เหลือเพียงกระดูก)
  9. อานาปานสติ คือ การระลึกถึงสติกำหนดลมหายใจเข้าออก (ผลของสมาธิที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
  10. อุปสมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระนิพพาน (แดนพระนิพพานที่พระอริยเจ้าได้ก้าวล่วง)



ที่มาได้มาจาก http://www.intaram.org/

วิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

สำหรับบ้านที่มีพระบรมสารีริกธาตุไว้บูชาอยู่แล้วคงจะทราบดี เป็นที่น่าแปลกคือ พระบรมสารีริกธาตุนั้น สามารถเพิ่ม หรือลดจำนวนได้เอง โดยสามารถเสด็จไปไหนมาไหนเองก็ได้ แม้ว่าจะเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทดีสักเท่าใดก็ตาม โดยเชื่อกันว่าหากไม่ดูแลรักษาเอาใจใส่ ประดิษฐานไว้ในที่ไม่สมควร หรือขาดการถวายความเคารพแล้ว พระบรมสารีริกธาตุอาจเสด็จหายจากสถานที่นั้นๆก็เป็นได้ โดยทางตรงกันข้าม หากได้รับการปฏิบัติบูชาดี ผู้สักการบูชา มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ อยู่ในศีลธรรม พระบรมสารีริกธาตุก็อาจเพิ่มจำนวนได้เช่นกัน

วิธีอัญเชิญโดยทั่วๆไปมีดังนี้

1. จัดที่บูชาให้สะอาด
2. ตั้งพานมะลิบูชา (ถ้ามี)
3. นำน้ำสะอาดใส่ขันสัมฤทธิ์ตั้งไว้หน้าที่บูชา (ตามวิธีโบราณ)
4. ชำระล้างร่างกายให้สะอาด
5. ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง มีสมาธิ
6. สมาทานศีล
7. ระลึกถึงพระพุทธคุณ (ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิโสฯ)
8. สวดคาถาอัญเชิญพระธาตุ ดังนี้



" อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิมะหันตา ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเสเม ปะตันเต "


หรือ
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ " 


ที่มาได้มาจาก http://www.intaram.org/

บทกล่าวอัญเชิญและบูชาพระธาตุ


คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

ปูชิตา นะระเทเวหิ,
สัพพัฏฐาเน ปะติฎฐิตา,
สิระสา อาทะเรเนวะ,
อะหัง วันทามิ ธาตุโย,

โย โทโส โมหะจิตเตนะ,
วัตถุตตะเย กะโต มะยา,
โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,
สัพพะปาปัง วินัสสะตุ,

ธาตุโย วันทะมาเนนะ*,
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม,
มาเหสุง ตัสสะ เตชะสาฯ


(* ถ้าผู้สวดเป็นหญิง เปลี่ยนคำว่า วันทะมาเนนะ เป็น วันทะมานายะ)
..........ข้า พระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้านมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานในที่ทุกสถาน ด้วยเศียรเกล้า
..........แม้บาปทั้งปวง ที่เคยล่วงเกินด้วยใหลหลง ข้าพระองค์ขอขมาโทษ ได้ทรงโปรดงดโทษนั้น ให้มีอันวินาศสิ้นสูญไป
..........ด้วย เดชะกุศลผลบุญ ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้น้อมเกล้านมัสการพระบรมสารีริกธาตุในกาลครั้งนี้ แม้สรรพอันตรายทั้งปวง จงอย่างได้บังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ.






  
คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

(นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง)
อะหัง วันทามิ อิธะ ปะติฏฐิตา พุทธะธาตุโย
ตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.

ข้าพเจ้า ขอนมัสการกราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผลบุญนี้ ขอให้ข้าพเจ้าประสบแต่ความสุขสวัสดี ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

  
คำไหว้พระธาตุ

ยาปาตุภูตา
อะตุลา
นุภาวาจีรัง
ปะติฏฐา
สัมภะกัปปะ
ปุเรเทเวนะ
ตุตตา
อุตตะราภีทับยานะมานิ
หันตัง
วะระชินะธาตุง

  
พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ

อะหังวันทามิธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุทั้งหลายที่สถิตอยู่ในจักรวาลทั้งหลาย ทั้งพรหมโลกและดาวดึงส์
อะหังวันทามิสัพพะโส ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายทั้งปวงด้วยเทอญ
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอ วังธาตุโย จัตตารี สะ สะ มาทันตา เกสา โลมา นะขา ขีจะ อะหังวันทามิธาตุโย
 คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ
..........อุ กาสะ ข้าพเจ้าจะขอยอกรบวรวันทนา ประนมนิ้วหัตถาขึ้นเหนือเศียร ต่างรัตนประทีปธูปเทียนแก้วเจ็ดประการ แลโกสุมสุมามาลย์ประทุมชาติอันโชติช่วงช่อชั้นวิจิตร แจ่มจำรัสสุนทโรภาส ด้วยเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้า เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน พระองค์ทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ สิริพระบรมธาตุทั้งหลายน้อยใหญ่ตวงได้สิบหกทะนานทอง พระรากขวัญทั้งสองพระเขี้ยวแก้วสี่ กับพระศรีอุณหิศหนึ่ง นับรวมกันได้ครบเป็นเจ็ดองค์ นี้แลคงตามสภาวะเดิม อันจะแหลกลาญด้วยเพลิงสังหารนั้นหามิได้ แต่พระอัฐิน้อยใหญ่ทั้งหลายนั้นไซร้พลันเพลิงไหม้สังหารละเอียดลง ยังคงแต่พระบรมสารีริกธาตุสามสถาน ใหญ่น้อยปานกลางมีประมาณต่างกันพระบรมธาตุขนาดใหญ่นั้น มีประมาณเท่าเมล็ดถั่วหักตักตวงได้ห้าทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานประมาณแม้นเหมือนหนึ่งพรรณทองอุไร พระบรมธาตุขนาดกลางนั้นไซร้ มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ตักตวงได้ห้าทะนานทรงพระบวรสัณฐานประมาณเหมือนพรรณแววแก้วผลึกอันเลื่อนลอย พระบรมธาตุขนาดน้อยประมาณแม้นเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดตวงได้หกทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานดังพรรณ สีดอกบุปผชาติพิกุลอดุลย์ใสสี พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ หมู่มนุษย์และเทวะนิกรอมรอินทร์พรหมภิรมย์ พากันเชิญเสด็จไปประดิษฐานรักษาไว้ พระบรมธาตุองค์ใหญ่ คือ พระรากขวัญซ้าย สถิตอยู่ชั้นพรหมา พระรากขวัญเบื้องขวากับพระนลาตะอุณหิศ เสด็จสถิตอยู่เมืองอนุราชสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องบน อยู่ดาวดึงษาสวรรค์ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องล่างนั้น สถิตอยู่เกาะแก้วลังกาสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องบนอยู่เมืองคันธาระวิไสย พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องล่างนั้นไซร้ สถิตอยู่เมืองนาคสถาน แต่พระบรมสารีริกธาตุทั้งสิบหกทะนานนั้น ประดิษฐานไว้ในแผ่นพื้นภูมิภาคแห่งพระนครทั้งแปด คือ เมืองราชคฤหบุรี เมืองเวสาลีสวัสดิ์ เมืองกบิลพัสดุ์มหานคร เมืองอัลปะกะบุรีรมย์ แลบ้านพราหมณ์นิคมเขต เมืองเทวะทะหะประเทศ เมืองปาวายะบุรินทร์ และเมืองโกสินรายน์ พระเกศา โลมา นะขา ทันตา ทั้งหลาย เรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทุกทิศทั่วทั้งจักรวาล ฝ่ายพระพุทธบริขารคือ บาตรแลจีวรท่อนผ้าสันถัตรัดประคดใน สมุกเหล็กไฟกล่องเข็มผ้ากรองน้ำธะมะการก วัสสิกะสาฏก ผ้าชุบสรง หนังนิสิทน์มีดโกนตลกบาตรเครื่องลาด แท่นพระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาทธาตุบริขารทั้งหลายนี้ องค์ขัติยาธิบดีพราหมณ์มหาศาลผู้เลื่อมใสกมลมาล ประกอบไปด้วยศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ได้อัญเชิญพระบรมธาตุบริขารสิบหกสิ่งนี้ไปประดิษฐานไว้ทั้งสิบเมือง ต่างกระทำสักการบูชารุ่งเรืองเห็นปรากฏ
..........‘กาย นทนธนํพระพุทธรัดประคด อยู่ ณ เมืองเทวะทะหะราฐ ปตฺโตบาตร อยู่เมืองอนุราธสิงหฬทวีปลังกา อุทกสาฏกํผ้าชุบสรงสถิตอยู่ ณ เมืองปัญจาละนคร จิวรผ้าจีวร อยู่เมืองพันทะวิไสย หรนีสมุกเหล็กไฟ อยู่เมืองตักสิลา วาสีสูจิฆรมีดโกนแลกล่องเข็ม ประดิษฐานอยู่เมืองอินระปัตมะไหสวรรค์ จมมํหนังนิสิทน์สันถัต สถิตอยู่เมืองคันธาระราฐถวิกาตลกบาตร แลเครื่องลาดที่พระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาททั้งคู่ อยู่บ้านอุสิระคาม ยังพระธาตุบริขารอื่นอีกหกสิ่ง คือพระอังคาร ถ่านเถ้าเสาเชิงตะกอนนั้นสถิตอยู่ ณ เมืองโมรียะประเทศ จุฬามุนีบรมเกษธาตุ ประดิษฐานอยู่ดาวดึงษาสวรรค์ กาสายะวัตถังผ้าทรง นั้นอยู่ ณ ชั้นพรหมาสุวณฺณโฑณทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุ สถิตอยู่นครโกสินรายน์รัตนมไหสวรรค์ พระบรมธาตุทั้งยี่สิบสองประการนั้นทรงพระคุณเป็นอันยิ่ง พระองค์ทรงอนุญาตประทานไว้ทุกสิ่งด้วยพระมหากรุณา หวังพระทัยเพื่อจะให้เป็นที่สักการบูชาเกิดผลานิสงส์อันเป็นสวัสดิมงคลแก่ ฝูงเทพามนุษย์ กว่าจะยุติสิ้นสุดพระพุทธศาสนา
..........ครั้น กาลล่วงนานมาในห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้เสด็จไปสู่ลังกาเกาะ เพื่อที่จะทรงสงเคราะห์ชาวสิงหฬ ให้เกิดสวัสดิมงคลด้วยกระทำสักการบูชาพระคุณ เมื่อถึงกาลพระพุทธศาสนาใกล้จะสิ้นสูญครบจำนวนถ้วนห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้จะเสด็จไปสู่ที่พระเจดีย์ฐานดำรงอยู่โดยจำเนียรกาลบ่ มิได้คลาด ครั้นถึงพระพุทธศักราชล่วงได้สี่พันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าพรรษาเศษ สังขยาเดือนล่วงได้สิบเอ็ดเดือนกับยี่สิบสองวัน วันพฤหัสบดีเดือนหกขึ้นเก้าค่ำ คิมหันตฤดูปีชวดนักษัตรอัฐศก เวลารุ่งอรุโณทัย พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ไซร้ จะเสด็จไปสู่สถานที่สันนิบาตมิทันนาน ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ด้วยพุทธฤทธิ์อันพิเศษ บังเกิดเป็นพุทธนิเวศน์ แลพระพุทธวรกายสูงได้สิบแปดศอก เปล่งพระรัศมีออกสิบหกประการ มีพระบวรสัณฐานวิจิตรจำรัสศรีสุนทโรภาส ทรงพระสิริวิลาศอันเพริศแพร้ว ดวงพระพักตร์ผุดผ่องแผ้ว ดังสีสุวรรณทองแท่งธรรมชาติ พระรูปองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ เสด็จขึ้นสถิตนั่งเหนือรัตนบัลลังก์อาสน์ทรงพระสมาธิมั่นในควงต้นไม้พระศรี มหาโพธิ์ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ โปรดสัตว์คนธรรพ์เทวะนิกรอมรฤษีสิทธิ์พิทยาธรกินนรนาคราช ทั้งหมู่อสุระเดียรดาษนั่งแน่นเหนือพื้นแผ่นพสุธา สตฺตาห ทรงตรัสพระธรรมเทศนาโปรดสัตว์อีกเจ็ดวัน ในครั้งนั้นได้สี่อสงไขยสองล้านสามแสนหกสิบเจ็ดพันโกฏิแล้ว พระเตโชธาตุก็พวยพุ่งรุ่งโรจน์โชตนาการ สังหารพระบวรพุทธสริรธาตุให้สิ้นสุดในวันพุธเดือนหกขึ้นสิบ(ห้า)ค่ำ ปีชวดนักษัตรอัฐศก พระพุทธศาสนาก็บรรจบครบจำนวนถ้วนห้าพันพรรษา
..........อหํ วนฺทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น, อหํ วนฺทามิ สพฺพโส ข้าพเจ้า ขอนมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ด้วยประการทั้งปวง
 

 บทนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ คำอธิบาย: http://www.relicsofbuddha.com/pics/dok_orange.gif

อิติปิโส ภะคะวา
มือข้าพเจ้าสิบนิ้ว

ยกเหนือหว่างคิ้ว
ต่างธูปเทียนทอง

วงภักตร์โสภา
ต่างมาลากรอง

ดวงเนตรทั้งสอง
ต่างประทีบถวาย

 


ผมเผ้าเกล้าเกศ


ต่างประทุมเมศ
บัวทองพรรณราย

วาจาเพราะผ่อง
ต่างละอองจันทร์ฉาย

ดวงจิตขอถวาย
ต่างรสสุคนธา




พระบรมธาตุ


พระโลกนาถ
อรหันตสัมมา

ทั้งสามขนาด
โอภาสโสภา

ทั้งหมดคณนา
สิบหกทะนาน




พระธาตุขนาดใหญ่


สีทองอุไร
ทรงพรรณสัณฐาน

เท่าเมล็ดถั่วหัก
ตวงตักประมาณ

ได้ห้าทะนาน
ทองคำพอดี




พระธาตุขนาดกลาง


ทรงสีสรรพางค์
แก้วผลึกมณี

เท่าเมล็ดข้าวสารหัก
ประจักษ์รัศมี

ประมาณมวลมี
อยู่ห้าทะนาน




ขนาดน้อยพระธาตุ


เท่าเมล็ดผักกาด
โอภาสสัณฐาน

สีดอกพิกุล
มนุญญะการ

มีอยู่ประมาณ
หกทะนานพอดี




พระธาตุน้อยใหญ่


สถิตอยู่ใน
องค์พระเจดีย์

ทั่วโลกธาตุ
โอภาสรัศมี

ข้าฯขออัญชลี
เคารพบูชา




พระธาตุพิเศษ


เจ็ดองค์ทรงเดช
ทรงคุณเหลือตรา

อินทร์พรหมยมยักษ์
เทพพิทักษ์รักษา

ข้าฯขอบูชา
วันทาอาจิณ




หนึ่งพระรากขวัญ


เบื้องขวาสำคัญ
อยู่ชั้นพรหมินทร์

มวลพรหมโสฬส
ประณตนิจสิน

บูชาอาจิณ
พร้อมด้วยกายใจ




สองพระรากขวัญ


เบื้องซ้ายสำคัญ
นั้นอยู่เมืองไกล

สามพระอุณหิส
สถิตร่วมใน

เจดีย์อุไร
อนุราธะบุรี




สี่พระเขี้ยวแก้ว


ขวาบนพราวแพรว
โอภาสรัศมี

อยู่ดาวดึงส์สวรรค์
มหันตะเจดีย์

พระจุฬามณี
ทวยเทพสักการ




ห้าพระเขี้ยวแก้ว


ขวาล่างพราวแพรว
โอภาสไพศาล

สถิตเกาะแก้ว
ลังกาโอฬาร

เป็นที่สักการ
ของประชากร




หกพระเขี้ยวแก้ว


ซ้ายบนพราวแพรว
เพริดพริ้งบวร

สถิตคันธาระ
วินัยนคร

ชุมชนนิกร
นมัสการ




เจ็ดพระเขี้ยวแก้ว


ซ้ายล่างพราวแพรว
รัศมีโอฬาร

สถิต ณ พิภพ
เมืองนาคสถาน

ทุกเวลากาล
นาคน้อมบูชา




พระธาตุสรรเพชร


เจ็ดองค์พิเศษ
นิเทศพรรณนา

ทรงคุณสูงสุด
มนุษย์เทวา

พากันบูชา
เคารพนิรันดร์

ด้วยเดชบูชา
ธาตุพระสัมมา

สัมพุทธภควันต์
ขอให้สิ้นทุกข์

อยู่เป็นสุขสันต์
นิราศภัยอันตราย บีฑา

แม้นเกิดชาติใด
ขอให้อยู่ใน พระศาสนา

รักธรรมดำเนิน
จำเริญเมตตา

ศีลทานภาวนา
กำจัด โลโภ

พ้นจากอาสวะ
โทโส โมหะ




ตามพระพุทโธ


อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส

ที่มาได้มาจาก  http://www.relicsofbuddha.com/

ที่มาได้มาจาก http://www.intaram.org/