Thursday, October 22, 2015

การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย

การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย


           สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ใช้เวลา ๑ ปี จึงสำเร็จ เมื่อทำการฉลองสมโภชแล้วก็ได้ให้สร้างมณเฑียร ในวัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ตัวอักษรที่ใช้ใน การจารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้นคงเป็นอักษรแบบไทยลานนาคล้ายอักษรพม่า มีผิดเพี้ยนกันบ้าง และพอเดาออกเป็นบางตัว

           สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพฯ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ (คือวัด มหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ในปัจจุบัน) สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๓๐ ใช้เวลา ๑ ปี จึงสำเร็จ พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์จ้างช่างจารจารึกพระไตร ปิฎกลงในใบลาน และให้แปลฉบับอักษรลาวอักษรมอญ เป็นอักษรขอม สร้างใส่ตู้ไว้ในหอมณเฑียรธรรม และสร้างพระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง นอกจากนั้น ยังทรง ให้ช่างปิดทองแท่งทับทั้งใบปกหน้าหลังและกรอบทั้งสิ้นเรียกว่าฉบับทอง ห่อด้วยผ้ายก เชือกรัด ถักด้วยไหมแพรเบญจพรรณ มีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึกและฉลากทอเป็นตัวอักษรบอก ชื่อพระคัมภีร์ทุกคัมภีร์

           สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ สาระสำคัญที่ได้กระทำ คือ คัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลานเป็นตัวไทย แล้วชำระแก้ไข และพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม

           สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ มีข้อที่พึงกล่าวถึงดังนี้
           ๑. ได้ใช้เครื่องหมายและอักขรวิธีตามแบบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งทรงคิดขึ้นใหม่
           ๒. พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ เหลืออีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
           ๓. การพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ นับว่าได้เพิ่มเติมส่วนที่ยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์
           ๔. ผลของการที่ส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อสามารถอ่าน พระไตรปิฎกฉบับไทยได้ เช่น พระญาณติโลกเถระ ชาวเยอรมัน ที่ได้ชมเชยไว้ว่า ฉบับพระไตรปิฎกของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษเป็นอันมาก
           ๕. ในการพิมพ์ครั้งนี้ ได้ทำอนุกรมต่างๆ ไว้ท้ายเล่มเพื่อสะดวกในการค้น แม้จะไม่สมบูรณ์แต่ก็มี ประโยชน์มาก


No comments:

Post a Comment