Thursday, October 22, 2015

ตัณหา หรือ โลภะ

ตัณหา หรือ โลภะ

ตัณหา หรือ โลภะ คือความติดข้อง พอใจ ยินดี ซึ่ง ตัณหา หรือ โลภะ เป็นเหตุแห่ง
ทุกข์ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง หลากหลายนัย   เพื่อให้สัตว์โลกได้เข้าใจตาม
ความเป็นจริง แม้แต่เรื่อง ตัณหา หรือ โลภะที่เป็นความติดข้อง ต้องการ ยินดี ก็มีหลาก
หลายนัย ตามลักษณะ ความติดข้อง คือ ต้องมีสิ่งที่ให้ติดข้อง  สิ่งที่ให้ติดข้องมีหลาย
อย่าง หลายประการ เพราะฉะนั้นตัณหา จึงหลายอย่าง บางครั้งพระองค์แสดง ถึงตัณหา
3 อย่าง บางครั้งแสดง ตัณหา 6 หรือ ตัณหา 18 หรือ ตัณหา 108 ก็เพื่อเข้าใจถึงความ
ละเอียดของสภาพธรรมที่เป็นตัณหา    คือ ความยินดี พอใจติดข้องในสิ่งต่างๆที่มีมาก
มายนั่นเองครับ

กามตัณหา หมายถึง ความยินดี พอใจติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รสสิ่งที่กระทบสัมผัส
ที่มีในชีวิตประจำวัน เช่น เห็นสิ่งใดแล้วก็ชอบ เพียงแค่นี้ก็เป็นกามตัณหาแล้วครับ ได้
ยินเสียง ก็ติดข้อง แม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นกามตัณหาอีกเช่นกัน     ดังนั้นจึงมีกามตัณหา
เป็นปกติในชีวิตประจำวันโดยส่วนมากครับ

ภวตัณหา คือ  ความยินดี พอใจ โลภะเจตสิกที่ติดข้องยินดีในการเกิดขึ้นของนาม
รูป  ยินดีในความมีชีวิตอยู่   หรือ   หมายถึง   โลภะเจตสิกที่เจือด้วยสัสสตทิฏฐิ คือมี
ความเห็นผิดยึดถือว่าเที่ยง คือ ยินดีพอใจ ในความเห็นผิดว่า ตายแล้วต้องเกิด มีสัตว์
บุคคลที่เกิดต่อไปในภพหน้า(สัสสตทิฏฐิ)    เห็นว่าโลกเที่ยง     เคยเกิดเป็นสัตว์หรือ
บุคคลเช่นไร  เมื่อตายไปแล้ว   ก็จะเกิดเป็นบุคคลเช่นนั้นอีก     ขณะที่มีความเห็นผิด
เช่นนี้ ขณะนั้นต้องมีความยินดี พอใจเกิดร่วมด้วย  ทีเป็นตัณหา หรือ โลภะ จึงเรียกว่า
ภวตัณหา
 
วิภาตัณหา คือ โลภะ หรือความยินดีพอใจ ในความเห็นที่ผิดว่า ตายแล้วก็ไม่เกิดอีก
จบกัน ขาดสูญ(อุจเฉททิฏฐิ) การที่ยินดีพอใจในความเห็นนั้น ขณะนั้นเป็นวิภวตัณหา
เป็นความยินดีพอใจในความเห็นผิดนั้นที่สัตว์ตายแล้วไม่เกิดอีก




No comments:

Post a Comment