Friday, October 23, 2015

ทำไมพระสงฆ์จึงต้องออกบิณฑบาตในตอนเช้า ? ....ทำไมพระสงฆ์จึงต้องออกบิณฑบาตในตอนเช้า ?

ทำไมพระสงฆ์จึงต้องออกบิณฑบาตในตอนเช้า ?
๒๑. ทำไมพระสงฆ์จึงต้องออกบิณฑบาตในตอนเช้า ?

          ในการที่เราจะเห็นความหมายของกิจวัตรข้อนี้ได้       เราต้องมีความเข้าใจ
พื้นฐานเกี่ยวกับสังคมของชาวพุทธเสียก่อน   สังคมของชาวพุทธนั้นประกอบด้วย
พุทธบริษัท ๔  ได้แก่ ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  ทั้งภิกษุและภิกษุณี
นั้นเป็น   ผู้ที่ได้ละบ้านเรือนออกบวช    เพื่อใช้ชีวิตในการศึกษาและปฏิบัติแล้ว
ก็ควรนำคำสอนมาเผยแผ่อบรมสั่งสอนคฤหัสถ์เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

          สำหรับอุบาสก  อุบาสิกา  ซึ่งเป็นคฤหัสถ์นั้น ยังคงดำเนินชีวิตตามโลกียวิสัย
จึงมีความรับผิดชอบในการที่จะจัดหาปัจจัย    ๔       ที่จำเป็นแก่การยังชีวิตของ
เพศสมณะให้แก่พระสงฆ์ ได้แก่ จีวร  อาหาร  ที่อยู่อาศัย   และเภสัช  สังคมพุทธ
จึงอยู่กันด้วยความเอื้ออาทรและมีความรับผิดชอบต่อกันและกันเช่นนี้

          เมื่อพระออกบิณฑบาต   พิจารณาจากแง่มุมของพระท่านออกมาโปรดสัตว์
ให้โอกาสแก่คฤหัสถ์ที่จะได้ทำบุญ       โดยการจัดหาอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์  
เพราะถือว่าเป็น  "นาบุญ"   เป็นบุคคลที่ควรรับของที่คฤหัสถ์ถวาย  นอกจากนั้น
การที่คฤหัสถ์ดูแลความเป็นอยู่ของพระ       ก็ย่อมเป็นการสร้างความมั่นคงถาวร
ให้เกิดแก่พุทธศาสนาและสถาบันศาสนาโสตหนึ่ง และนับได้ว่าเป็นการยกระดับ
การปฏิบัติของคฤหัสถ์ไปพร้อม ๆ กัน

๒๒. เมตตาสากลหรือการแผ่ความปรารถนาดีไมตรีจิตไปทั่วสากลมีการสอนในพระพุทธศาสนาอย่างไร ?

          เมตตา หมายถึงการแผ่ความปรารถนาดีหรือการบำเพ็ญคุณประโยชน์
ซึ่งตรงกันข้ามกับความพยาบาทหรือปองร้าย            พระพุทธศาสนาสอนให้
แผ่เมตตาไปยังผู้มีชีวิตทั้งปวง    ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือมิใช่มนุษย์      ถ้าโลก
ปฏิบัติตามคำสอนเรื่องการแผ่เมตตาสากลได้       ความขัดแย้งทั้งหลายก็อาจ
แก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้วิธีเผชิญหน้ากัน    แต่อาจแก้ไขได้โดยสันติวิธี
๒๓. คำสอนของพระพุทธเจ้าว่าด้วยเรื่องชาติ   ชั้นวรรณะมีว่าอย่างไร?

          ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะในพระพุทธศาสนา  ในบางประเทศระบบชั้นวรรณะ
เป็นโครงสร้างสำคัญยิ่งทางสังคม       อย่างไรก็ตาม  พระพุทธศาสนาไม่มีอคติทา
ชาติ    ชั้นวรรณะ   และเพศ   ทุกคนมีความเสมอภาคในศักยภาพทางจิตวิญญาณ
ที่จะบรรลุธรรม

          พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า       ความดีหรือความชั่วของคนมิได้ขึ้นอยู่กับ
ชาติกำเนิดหรือทรัพย์สมบัติ     แต่ขึ้นอยู่กับการกระทำของเรา      ผู้ที่เข้ามาบวช
ในพระพุทธศาสนามีสิทธิเท่าเทียมกัน   เช่น   สิทธิในการออกเสียงในการประชุม
ความแตกต่างกันมีอยู่เพียงลำดับอาวุโส ซึ่งเป็นไปตามการบวชก่อนหรือหลัง

          พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องความเสมอภาคของมนุษย์   โดยชี้ไปที่ความรู้ดี
และความประพฤติดีว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด   พระพุทธองค์ตรัสสอนว่าบุคคล
ผู้มีความรู้ดีและความประพฤติดีเป็นผู้ประเสริฐสุดในเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

๒๔. พระพุทธศาสนามีทัศนะต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไร ?

          เป็นที่รู้กันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงวางกฏและระเบียบไว้แก่      สาวกของ
พระองค์    เพื่อให้เอาใจใส่ดูแลสิ่งแวดล้อมมากว่า ๒,๕๐๐  ปีแล้ว    ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้


๑. ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรที่มีข้าวสุกลงในละแวกบ้าน

๒. ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเสลดน้ำลายลงบนต้นไม้ใบหญ้า

๓. ไม่พึงถ่ายอุจจาระ   ปัสสาวะ   หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ

๔. ไม่พึงตัดหรือทำลายพืชพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต

๕. ไม่พึงเผาป่า

๖. ไม่พึงทิ้งขยะทางหน้าต่าง

๗. ไม่พึงปล่อยให้ห้องสุขาสกปรก   โดยมิได้ทำความสะอาดเอง  หรือขอให้ผู้อื่น
ทำความสะอาด

          พุทธศาสนิกชนได้รับการส่งเสริมให้รักษาดุลยภาพระหว่างธรรมชาติกับ
การพัฒนาทางวัตถุ   และการหมุนเวียนนำวัสดุที่ใช้แล้วมาแปรรูปใหม่  ก็มีการ
กล่าวถึงมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว  พระพุทธศาสนาสอนว่า  ชีวิตเป็นส่วนหนึ่ง
ของธรรมชาติทุกสิ่งต่างอาศัยกันและกัน        ดังนั้น    แนวคิดต่อการอนุรักษ์
ธรรมชาติ และ ความตระหนักในปัญหาของระบบนิเวศ     จึงมีปรากฏเป็น
คำสอนของพระพุทธศาสนามานานแล้ว

          ถ้าเราเข้าไปในหมู่บ้านชนบทเราจะได้เห็นวัดวาอารามที่ร่มรื่น        สงบเย็น
อากาศบริสุทธิ์   ธรรมชาติสวยงามด้วยต้นไม้   ดอกไม้    ตลอดจนได้เห็นสัตว์เลี้ยง
ที่อยู่กับชาวบ้านอย่างเป็นสุขพึ่งพาอาศัยกัน
๒๕. เป็นความจริงหรือไม่ที่ว่าพระพุทธศาสนาเป็นทุนิยม คือมองโลกในแง่ร้าย ?

          ความเชื่อที่ว่าพระพุทธศาสนาเป็นทุนิยม   คือมองโลกในแง่ร้าย   เกิดขึ้นจาก
ความเข้าใจผิดในอริยสัจข้อแรก          ที่สอนว่า       สัตว์มีชีวิตทั้งปวงจะต้องได้รับ
ความทุกข์อันเกิดจากความเกิด      ความแก่      และความตาย       เมื่อบุคคลยอมรับ
ความจริง       คือทุกข์ข้อนี้             ก็จะพิจารณาสอบสวนถึงสาเหตุแห่งความทุกข์
ความดับทุกข์    และการปฏิบัติตามมรรคา    ซึ่งนำไปสู่ความดับทุกข์

          ในความหมายนี้ เราย่อมเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนา   มิใช่ทั้งทุนิยมมองโลก
ในแง่ร้าย    หรือสุนิยม   มองโลกในแง่ดี    น่าจะเป็นสัจนิยม      คือนิยมความจริง
มากกว่า   พระพุทธเจ้าอาจเทียบได้กับนายแพทย์ผู้ค้นหาสมุฏฐานได้ว่า   มนุษย์มี
โรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง แต่มิได้ทรงหยุดเพียงนั้น  พระองค์ทรงชี้ว่า  โรคภัยไข้เจ็บ
นั้นอาจจะแก้ไขได้         และได้ทรงบอกถึงตัวยาที่จะรักษา       พระพุทธศาสนา
แสวงหาการเอาชนะความทุกข์ของมนุษย์ชาติ      ปัจเจกบุคคลพึงพัฒนา       ศีล
สมาธิ   และปัญญา    เพื่อที่จะคลี่คลายปัญหาชีวิต     ชาวพุทธได้รับการสอนให้
เผชิญหน้ากับโลกตามความเป็นจริง     และพยายามเอาชนะพลังผูกมัดของโลก    
ละในที่สุดก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นทางจิตใจ     ที่เรียกว่า    นิรวาณ      หรือ
นิพพาน

๒๖. เหตุไฉนชาวพุทธจึงสร้างและบูชาพระพุทธรูป ?

          ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปขึ้น    เตือนใจให้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า

          ประชาชนในประเทศทั้งหลาย   สร้างธงชาติขึ้นในรูปลักษณะและสีต่าง ๆ
เพื่อแทนชาติของตน   ซึ่งถือว่ามีความสำคัญสูงสุด  ควรแก่การเคารพ  การปฏิบัติ
เช่นนั้น   มิได้หมายความเพียงการเคารพผ้าหรือสีของผ้าเท่านั้น   แต่ถือว่าเป็นการ
เคารพสถาบันสูงสุดของชาติฉันใด  การสร้างพระพุทธรูป   เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่ง
พระพุทธเจ้า  และเป็นที่เคารพบูชาก็เป็นฉันนั้น

          ความเคารพมิได้หยุดอยู่เพียงแค่ไม้หรือโลหะซึ่งสร้างจำลองขึ้น    แต่ทำให้
นึกน้อมไปถึงพระคุณ   ๓  ประการ   คือ    พระปัญญาคุณ   พระบริสุทธิคุณ   และ
พระมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้า

          การที่ชาวพุทธเคารพบูชาพระพุทธรูป         ก็เป็นทางหนึ่งที่ช่วยเตือนใจว่า
จะต้องพัฒนาปัญญา ความบริสุทธิ์   และความกรุณา (คิดจะช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์)
ให้เกิดขึ้นในตนเอง         เพื่อเป็นการดำเนินตามพระคุณทั้ง       ๓     ประการของ
พระพุทธเจ้าไปในขณะเดียวกันด้วย
๒๗. การทำบุญ หมายความว่าอย่างไร ?

          ถ้าแปลตามศัพท์แล้ว   คำว่า  "บุญ"   หมายถึง  "การชำระการทำให้
บริสุทธิ์สะอาด"   การทำบุญ   จึงหมายความว่า "การชำระใจให้บริสุทธิ์
จากความโลภ  ความโกรธ  และความหลง"    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงสอนศาสนิกชนให้ทำบุญด้วยการบริจาคทาน     การรักษาศีล     และภาวนา        (การทำความสงบและปัญญาให้เกิดขึ้น)           เมื่อเรารู้ความหมายที่แท้จริงของ
การทำบุญดังกล่าวข้างต้นแล้ว  เราจึงตัดสินได้ด้วยตนเองว่า       การทำบุญนั้น
มีหลายวิธี     เมื่อไรก็ได้ในชีวิตประจำวัน     เช่น     แม้ขณะที่เราอาจจะนั่งอยู่บน
เก้าอี้ อย่างสบาย    และพยายามที่จะขัดเกลาความโลภ   ความโกรธ   ความหลง
และกิเลสต่าง ๆ   ก็นับเป็นวิธีทำบุญได้เหมือนกัน
๒๘. การทำทาน มีความหมายอย่างไร ?

          ทาน  การให้   เป็นการแสดงออกซึ่งความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อันเป็นข้อปฏิบัติ
อย่างหนึ่งในวิธีการบำเพ็ญบุญ   ๓  ประการคือ   ทาน    ศีล   และภาวนา    หรือ
การทำคุณธรรมให้เกิดให้มีขึ้น  ภาวนานั้นมี  ๒  อย่าง  คือ  สมถภาวนา   การทำ
ความสงบให้เกิดขึ้น    กับวิปัสสนาภาวนา    การทำปัญญาความรู้แจ้งเห็นจริงให้
เกิดขึ้น  ทาน  หรือการให้นั้น มี  ๓  แบบ  ดังนี้


๑. การอนุเคราะห์   เป็นการให้แก่ผู้ที่ยากจน   ผู้ที่เดือดร้อน  เช่น   เด็กกำพร้า
เป็นต้น

๒. การสงเคราะห์   เป็นการให้แก่เพื่อนหรือมิตรสหาย    เพื่อเป็นการผูกมิตร

๓. การให้เพื่อบูชาคุณ เช่น การให้แก่บุคคลเพื่อความกตัญญู   ได้แก่  ให้แก่บิดา
มารดา  หรือการถวายทานแก่บุคคลที่เคารพ เช่น พระภิกษุสงฆ์

          ในความหมายของการให้อย่างแท้จริง   ชาวพุทธควรให้  หรือ   บริจาคโดย
ไม่หวังผลตอบแทน         กล่าวอีกอย่างหนึ่ง     การให้เพื่อการลดความเห็นแก่ตัว
ฉะนั้น      การให้จึงเป็นวิธีหนึ่งแห่งการทำให้ความทะยานอยากและความยึดมั่น
ถือมั่นให้ลดน้อยลง

๒๙. การที่ชาวพุทธรับไตรสรณคมน์นั้น หมายความว่าอย่างไร ?

          ขั้นตอนของการเป็นชาวพุทธ  คือ  การรับไตรสรณคมน์   ขอถือ พระพุทธ
พระธรรม และ พระสงฆ์  เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกถึง

          ในการรับพระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั้น   อาจมีระดับความเข้าใจที่แตกต่างกัน
ความหมายของพุทธะในขั้นต้นนั้น    หมายถึง   พระพุทธรูป    ซึ่งเป็นเครื่องเตือน
ให้ระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ ทรงชี้ทาง
เพื่อให้ชาวพุทธทั้งหลายได้ปฏิบัติตาม         เพื่อบรรลุความหลุดพ้น          พุทธะใน
ความหมายสูงขึ้นหมายถึง     ความเป็นพุทธะ       ซึ่งเป็นคุณสมบัติทางจิตวิญญาณ
อันสูงสุดที่พวกเราชาวพุทธอาจ         เข้าถึงได้หากปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของ
พระพุทธองค์

          ในการทำความเข้าใจกับธรรมะก็เช่นกัน ในขั้นต้นอาจหมายถึง พระไตรปิฎก
ซึ่งเป็นคัมภีร์คำสอนในพุทธศาสนาในระดับสูง   หมายถึง  คำสอนของพระพุทธองค์
ซึ่งเมื่อเข้าถึงก็ย่อมทำให้บุคคลนั้นตรัสรู้แจ้งในพระธรรมอันประเสริฐ      สมเด็จ-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยรับสั่งว่า "ผู้ใดเห็นธรรม    ผู้นั้นเห็นตถาคต   ผู้ใดเห็น
ตถาคต   ผู้นั้นเห็นธรรม"   นั้นหมายความว่า   เมื่อผู้นั้นปฏิบัติธรรมก็ย่อมเข้าถึง
การตรัสรู้ด้วยตนเอง

          คำว่า  สงฆ์   ก็อาจจะเข้าใจได้หลายระดับ    ขั้นต้นหมายถึงพระภิกษุและ
ภิกษุณีสงฆ์     แต่ในระดับสูงหมายถึง    พระอริยสงฆ์      ซึ่งเป็นบุคคลในอุดมคติ
โปรดสัตว์ในการเทศน์สอนและชี้นำสรรพสัตว์

          ในการรับไตรสรณคมน์         จึงเป็นการน้อมรับเอาคุณสมบัติที่ปรากฏใน
พระพุทธ  พระธรรม   พระสงฆ์  มาปรับให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง
๓๐. พระพุทธคืออะไร ?

          พุทธศาสนิกชนต้องนับถือพระรัตนตรัย   คือ   พระพุทธ   พระธรรม  และ
พระสงฆ์  เป็นสรณะ (ที่พึ่ง ที่ระลึก)


พระพุทธ หมายถึง   พระผู้ตรัสรู้ คือรู้อย่างจำรัส   หรือแจ่มแจ้ง

พระธรรม หมายถึง ความจริงหรือสัจธรรมทพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
และนำมาสั่งสอน

พระสงฆ์ หมายถึง พระพุทธสาวก  ผู้ปฏิบัติดี   ปฏิบัติชอบ  พระสงฆ์
ในระดับสูงได้แก่ ท่านผู้บรรลุความเป็นพระอริยบุคคล  ๔
ประเภท

          ความหมายของพระรัตนตรัย   หรือ  พระพุทธ  พระธรรม   พระสงฆ์ จัดได้
๓  ระดับ   ดังต่อไปนี้

ระดับที่ ๑

พระพุทธ คือ   ท่านผู้ตรัสรู้ ซึ่งมีพระพุทธรูปเป็นองค์แทน

พระธรรม คือ  ความจริงหรือสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ ตรัสรู้ และนำมา
สั่งสอน  ซึ่งมีพระไตรปิฎก   หรือ   คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
เป็นองค์แทน

พระสงฆ์ คือ พระอริยสาวกของพระพุทธเจ้า   ซึ่งมีภิกษุ  ภิกษุณี
โดยทั่วไปเป็นองค์แทน   ผู้ซึ่งยังไม่เป็นพระอริยบุคคล ๔
พระสงฆ์ในระดับนี้  เรียกว่า สมมติสงฆ์

ระดับที่ ๒

พระพุทธ หมายถึง   พระผู้ตรัสรู้เอง        พระองค์คือ  เจ้าชายสิทธัตถะ
แห่งวงศ์ศากยะ   ผู้สละละทิ้งชีวิตแบบชาวโลกเพื่อแสวงหา
สัจธรรม    หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว     ก็ได้ประดิษฐาน
พระพุทธศาสนาขึ้น

พระธรรม หมายถึง ความจริงหรือสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ
และเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชน       ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ
ได้เรียนรู้และปฏิบัติ

พระสงฆ์ หมายถึง    สาวกของพระพุทธองค์ผู้เป็นพระอริยบุคคลแล้ว

ระดับที่ ๓

          พระพุทธ   พระธรรม  พระสงฆ์   รวมเป็นหนึ่งเดียวในระดับนี้

          พระพุทธก็คือ   พระธรรมคำสั่งสอน   ดังพระพุทธวจนะที่ว่า

          "ผู้ใดเห็นธรรม   ผู้นั้นเห็นเรา   ผู้ใดเห็นเรา   ผู้นั้นเห็นธรรม"   แสดงว่า
พระพุทธภาวะ   คือ   พระธรรม    และพระธรรมก็คือ     พระพุทธภาวะนั่นเอง
พระสงฆ์ในอุดมคติสูงสุดก็คือพระธรรมที่ปรากฏในตัวท่านนั้นเอง





No comments:

Post a Comment