Monday, October 26, 2015

ตำนานธชัคคสูตร

ตำนานธชัคคสูตร

ธชัคคสูตร เป็นมนต์บทที่ ๕ ใน ๗ ตำนาน ธชัคคสูตรนี้ แปลว่าเรื่องยอดธงหรือชายธง เป็นสูตรใหญ่ โดยมากนิยมสวดทั้งสูตรเฉพาะภายในวัด เช่น สวดประจำพรรษา ในพระอุโบสถเพราะใช้เวลามาก ถ้าจะสวดทำบุญตามบ้าน หรือแม้ในพระบรมมหาราชวัง ก็ไม่สวดเต็ม ตัดสวดเฉพาะพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ นี้นิยมเป็นเนติปฏิบัติสืบมา อนึ่ง ในสมัยเมื่อแรกมีงานสาบานธง หรือ ฉลองธงประจำกอง ที่ได้รับพระราชทานใหม่ พระเคยสวดธชัคคสูตรเต็มสูตรบ้าง เห็นจะมุ่งอนุวัตรให้เข้ากับเรื่องธง ดูก็เหมาะสมดี บัดนี้ไม่เห็นสวดแล้ว 

ธชัคคสูตรนี้ มีตำนานเล่าว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ณ เมืองสาวัตถี ทรงมีพระประสงค์จะเตือนพุทธบริษัทให้ใส่ใจหมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เพื่อเพิ่มพูนกำลังใจในการปฏิบัติ ระงับความฟุ้งซ่านจิต ระงับความสะดุ้งหวาดเสียวขณะที่ประสบภัย ทั้งประสงค์จะประกาศอานุภาพของพระรัตนตรัย ว่าทรงคุณ ควรแก่การระลึกถึงจริงๆ จึงได้แสดงธชัคสูตร

เ ป็นความจริงเหลือเกิน ที่การใส่ใจ เป็นคุณสมบัติผลักดันสรรพธุระของทุกคนที่ประกอบให้พลันลุล่วง ไม่ว่าธุระนั้น จะเป็นทางโลก หรือ ทางธรรม ไม่ว่าจะเป็นโลกียะหรือโลกุตตระ ไม่ว่าจะเป็นธุระในป่าหรือในบ้าน จะเป็นส่วนตัวหรือส่วนรวม ถ้าได้ลงมือปฏิบัติแล้ว หากขาดความใส่ใจ ไม่ระลึกถึง ธุระนั้นก็ยากที่จะสำเร็จ ตรงข้ามกับมีคุณธรรม คือ การใส่ใจ หมั่นระลึกถึงธุระนั้นไว้เนื่องๆ แม้ที่สุด การหลีกจากความวุ่นวายของสังคม เร้นหาความสงบสุขก็ดี ในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงอนุสสติไว้ ๑๐ ประการ ว่าเป็นอารมณ์ทำใจให้สงบสุข ในอนุสสติทั้ง ๑๐ นั้น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ ๓ ประการ ที่จะกล่าวในที่นี้เป็นอนุสสติที่ไม่จำกัดบุคคล ไม่เลือกนิสัย ไม่เป็นข้าศึกแก่ธรรมารมณ์ เหมาะแก่ชนทุกชั้น ทุกวัย ทุกเพศ และทุกกาล ดังนั้น ผู้รู้จึงสรรเสริญ

อ นุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า นั้น ความจริงไม่เพียงเป็นทางให้จิตผ่องใส สดชื่น มีปิติ อิ่มใจ ให้สงบอารมณ์ฟุ้งซ่าน เท่านั้น พระบรมศาสดายังตรัสบอกว่า ยังเป็นคุณช่วยกำจัดความสดุ้ง หวาดเสียว ถึงตัวสั่นได้ด้วย

ค วามกลัว ซึ่งเรียกว่า ภัย นั้น ย่อมบังเกิดแก่ผู้แม้จะนั่งอยู่ในที่วิเวก ชนิดที่เรียกว่า ปลอดสรรพภัยพิบัติทั้งหลายแล้วได้ เพราะเขาผู้นั้นอาจกลัวต่อความเงียบ แปลว่า ความเงียบที่เขาต้องการกลับเป็นภัยขึ้นก็ได้ บางคราว ก็กลัวแม้แต่เสียงลมพัด นกร้อง จิ้งหรีดร้อง ตุ๊กแกร้อง เสียงใบไม้แกรกกราก เสียงกิ่งไม้แห้งตกลงมา ก็เกิดขนลุกขนพอง นั่งอยู่ไม่ได้ กลัวแม้แต่เงาของตัวเอง หวาดแม้แต่เสียงฝีเท้าของตัวเองและบางครั้งก็ขลาดต่ออารมณ์ที่นึกสร้างขึ้นม าเป็นรูปหลอนใจ ให้สะดุ้งคิดเห็นเป็นลางร้ายจักให้โทษ เบียดเบียน ภัยเหล่านี้ใครช่วยไม่ได้ แม้จะมีแสนยานุภาพก็ไม่สามารถจะช่วยบำบัดได้ ด้วยเป็นอารมณ์เกิดกับจิต ผู้นั้นอาจคิดเห็นไปว่า ผู้ที่ติดตามให้อารักขาเหล่านั้นแล กำลังจะเป็นศัตรูร้ายต่อตัวในขณะนี้ ดังนั้น ภัยเหล่านี้จึงมีอำนาจเหมือนภัยทั้งหลาย

พ ระบรมศาสดาทรงพระมหากรุณาประทาน ธชัคคสูตร โดยตรัสสอนให้ใส่ใจ หมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เพราะอานุภาพของคุณพระรัตนตรัยที่บุคคลหมั่นระลึกไว้ดีแล้ว จักสามารถบำบัดสรรพภัยทั้งผองนี้ได้ ทั้งตรัสว่า ทรงอานุภาพเหนืออำนาจเทพเจ้าชั้นสูงสุดด้วย โดยตรัสเล่าเรื่องเก่าๆ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า

แ ต่ปางก่อน เมื่อสงครามเทวดากับอสูร ได้ประชิดกันขึ้นในเทวโลก ครั้งนั้น เหล่าเทวดาก็มีความสะดุ้งหวาดกลัวต่อพวกอสูรไม่น้อยถึงกับท้าวสักกะผู้เป็นจ อมเทพเจ้า ๓ ชั้นฟ้า ให้ประชุมเทพยดาทั้งสิ้น แล้วจัดทำธงชัยประจำทัพทั้ง ๔ ทิศ เป็นสัญญาณต่อต้านพวกอสูร โดยเทวบัญชาว่า “ ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ในขณะทำสงครามกับเห

ล่าอสูร ความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า อันจะทำให้เสียกำลังรบ อาจเกิดมีแก่บางท่านได้ ดังนั้น ถ้าคราวใดเกิดมีความกลัวขึ้น ขอให้ทุกท่านจงมองดูชายธงของเรา แล้วความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าของท่านจะหายไปได้ หรือถ้าไม่มองชายธงของเรา ก็จงมองดูชายธงของท้าวปชาบดี ของท้าววรุณ หรือของท้าวอีสานะ องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อท่านทั้งหลายได้มองดูชายธงแล้ว ความกลัว ความสดุ้ง ขนพองสยามเกล้าจักหายไป

ภ ิกษุทั้งหลาย ถึงเทวดาที่มองดูชายธงของท้าวเทวราชทั้ง ๔ พระองค์นั้น บางครั้งก็หาย บางครั้งก็ไม่หาย คือ หายบ้าง ไม่หายบ้าง หรือ หายแล้วก็กลับกลัวอีก ข้อนั้น เพราะอะไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะท้าวสักกะเทวราช ท้าวปชาบดี ท้าววรุณ และท้าวอีสานะ ผู้เป็นเจ้าของธงชัยนั้น ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีกิเลส จึงยังกลัว ยังหวาดเสียว ยังสดุ้ง ยังหนีอยู่ ก็เมื่อจอมเทพ จอมทัพ ยังกลัว ยังสะดุ้ง ยังหนีอยู่แล้วอย่างไร ชายธงของท้าวเธอจึงจะบำบัด ความกลัว ความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ที่ทำให้เสียขวัญถึงแก่หนี ไม่คิดสู้เขาเสมอไปได้เล่า

ภ ิกษุทั้งหลาย ส่วนพระรัตนตรัย ที่ท่านทั้งหลายคารวะนับถือปฏิบัติอยู่นั้น ทรงคุณ ทรงอานุภาพ เหนือท้าวเทวราชเหล่านั้น เหนือธงชัยของท้าวเทวราชเหล่านั้น ดังนั้น เมื่อท่านทั้งหลาย จะอยู่ในป่าก็ตาม อยู่ที่โคนไม้ก็ตาม หรือจะอยู่ในเรือนว่างก็ตาม หากความกลัวหรือความหวาด ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ก็ดี บังเกิดขึ้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าว่า “ อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ” เป็นต้น เมื่อท่านทั้งหลายระลึกด้วยดีแล้ว ความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าเหล่านั้นจักหายไป
ภ ิกษุทั้งหลาย หากท่านทั้งหลายจะไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็พึงระลึกถึงพระธรรมเจ้าว่า “ สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” เป็นต้น หรือไม่ก็พึงระลึกถึงพระสงฆ์เจ้าว่า “ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ” เป็นต้น ก็ได้ ด้วยอานุภาพคุณพระธรรมและพระสงฆ์นั้น จัดบำบัดความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าให้หายไปแท้เทียว ข้อนั้นเพราะอะไร

ภ ิกษุทั้งหลาย เพราะพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีกิเลส ไม่กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าใดๆ ไม่หนี ดังนั้น อานุภาพของพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า จึงสามารถบำบัดความกลัว ความสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าของบุคคลที่มาระลึกถึงให้หายไปได้เสมอแท้ทีเดียว ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ แสดงว่า พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เป็นคุณอันทรงอานุภาพ ควรแก่การเจริญ ควรแก่การระลึกอย่างยิ่ง ฯ. ธชัคคสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย  สคาถาวรรค

ธชัคคสูตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยอานุภาพแห่งการระลึกถึง    พระรัตนตรัย ที่พระพุทธองค์ทรงนำเอาเรื่องการทำสงครามระหว่างเทพกับเทพอสูรมาเป็นข้อ เปรียบเทียบ เพื่อเตือนใจภิกษุผู้ไปทำความเพียร อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรอันเงียบสงัด ห่างไกลจากผู้คนสัญจรไปมา

การ อยู่ท่ามกลางป่ากว้างดงลึกของภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนเช่นนั้น ย่อมจะก่อให้เกิดความหวาดกลัวขนผองสยองเกล้า เมื่อเกิดความรู้สึก  หวาดกลัว พระพุทธองค์แนะนำให้ภิกษุระลึกถึงธง คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ หรือพระสังฆคุณ  แล้วจะสามารถข่มใจระงับความหวาดกลัวบำเพ็ญเพียร ต่อไปได้
การส วดธชัคคสูตรก็เพื่อเป็นการทำลายความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้า สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปอยู่ต่างถิ่น หรือในสถานที่ที่ไม่       คุ้นเคย โดยน้อมเอาคุณของพระรัตนตรัยมาสร้างเสริมกำลังใจให้เกิด ความอาจหาญแกล้วกล้าในการต่อสู่อันตรายและอุปสรรคนานาประการ

นอกจากนั้น ธชัคคสูตรยังช่วยคุมครองป้องกันอันตรายจากที่สูง หรืออันตรายทางอากาศ เช่น อันตรายจากการขึ้นต้นไม้สูง  อันตรายจากการเดินทางที่ต้องผ่านหุบเขาเหวผาสูงชัน อันตรายจากสิ่งที่ตกหล่นมาจากอากาศ และในปัจจุบันยังนิยมใช้สวดเพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดจากการเดินทางโดย เครื่องบิน
โดยทั่วไปการสวดบทธชัคคสูตรไม่นิยมสวดทั้งสูตร แต่จะสวดเฉพาะบทสรรเสริญพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ  พระสังฆคุณ  ซึ่งเป็นหัวใจของพระสูตรนี้  เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า  "สวดอิติปิโส"   เว้นไว้แต่มีเวลามากและต้องการสวดเป็นกรณีพิเศษจึงจะสวดทั้งสูตร

ธชัคคสูตร

เอ วัมเม  สุตัง  ฯ  เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา  สาวัตถิยัง  วิหะระติ  เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม  ฯ  ตัตระ  โข  ภะคะวา  ภิกขู  อามันเตสิ  ภิกขะโวติ  ฯ  ภะทันเตติ  เต  ภิกขู  ภะคะวะโต  ปัจจัสโสสุง  ฯ  ภะคะวา  เอตะทะโวจะ

ภูตะปุพพัง  ภิกขะเว  เทวาสุระสังคาโม  สะมุปัพะยุฬโห  อะโหสิฯ  อะถะโข  ภิกขะเว  สักโก  เทวานะมินโท  เทเว  ตาวะติงเส  อามันเตสิ  สะเจ  มาริสา  เทวานัง  สังคามะคะตานัง  อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  มะเมวะ  ตัสะมิง  สะมะเย  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  มะมัง  หิ  โว  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน  เจ  เม  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ

อะถะ ปะชาปะติสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  ปะชาปะติสสะ  หิ  โว  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง                      ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน  เจ  ปะชาปะติสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ

อะถะ  วะรุณัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  วะรุณัสสะ  หิ  โว  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน  เจ  วะรุณัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ

อะ ถะ  อีสานัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ  อีสานัสสะ หิ   โว   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง   ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง   วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะตีติ  ฯ
ตัง  โข  ปะนะ  ภิกขะเว  สักกัสสะ  วา  เทวานะมินทัสสะ  ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง  ปะชาปะติสสะ  วา  เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง   วะรุณัสสะ  วา  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  อีสานัสสะ  วา  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง   วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยเยถาปิ  โนปิ  ปะหิยเยถะ  ตัง  กิสสะ  เหตุ  สักโก  หิ  ภิกขะเว  เทวานะมินโท  อะวีตะราโค  อะวีตะโทโส  อะวีตะโมโห  ภิรุฉัมภี  อุตะราสี  ปะลายีติ  ฯ

อะหัญจะ  โข  ภิกขะเว  เอวัง  วะทามิ  สะเจ  ตุมหากัง  ภิกขะเว  อะรัญญะคะตานัง  วา  รุกขะมูละคะตานัง  วา  สุญญาคาระคะตานัง  วา  อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  มะเมวะ  ตัสะมิง  สะมะเย  อะนุสสะเรยยาถะ

อิติปิ  โส   ภะคะวา   อะระหัง   สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะ - สัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู   อะนุตตะโร   ปุริสะทัมมะสาระถิ  สัตถา เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง  หิ  โว ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา   โส  ปะหิยยิสสะติ   โน  เจ  มัง  อะนุสสะเรยยาถะ  อะถะ  ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ

สวากขาโต   ภะคะวะตา   ธัมโม  สันทิฏฐิโก   อะกาลิโก             เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ ธัมมัง  หิ  โว  ภิกขะเว   อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส   วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน  เจ  ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ  อะถะ   สังฆัง   อะนุสสะเรยยาถะ
สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อุชุปะฏิปันโน               ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง  จัตตาริ ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย    ปาหุเนยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ

สังฆัง  หิ  โว  ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง   วา  ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  ตัง  กิสสะ  เหตุ    ตะถาคะโต  หิ  ภิกขะเว  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วีตะราโค   วีตะโทโส   วีตะโมโห  อะภิรุ  อัจฉัมภี  อะนุตราสี  อะปะลายีติ   ฯ  อิทะมะโวจะ   ภะคะวา  อิทัง  วัตะวานะ  สุคะโต  อะถาปะรัง  เอตะทะโวจะ  สัตถา

อะรัญเญ  รุกขะมูเล  วา                 สุญญาคาเร  วะ  ภิกขะโว
อะนุสสะเรถะ  สัมพุทธัง                 ภะยัง  ตุมหากะ  โน  สิยา
โน  เจ  พุทธัง  สะเรยยาถะ           โลกะเชฏฐัง  นะราสะภัง
อะถะ   ธัมมัง  สะเรยยาถะ             นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
โน  เจ  ธัมมัง  สะเรยยาถะ            นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
อะถะ  สังฆัง  สะเรยยาถะ             ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
เอวัมพุทธัง  สะรันตานังธัมมัง  สังฆัญจะ  ภิกขะโว
ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วาโลมะหังโส  นะ  เหสสะตีติ  ฯ

คำแปล 
ข้าพเจ้า   ได้สดับมาอย่างนี้

สมัย หนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร  อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี  ใน             เวลานั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า  "ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  "พระพุทธเจ้าข้า"  ดังนี้แล้ว       พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์ต่อไปว่า

ภิกษุ ทั้งหลาย  เรื่องราวในอดีตกาลอันไกลโพ้นเคยมีมา              แล้ว  ได้เกิดสงครามระหว่างเหล่าเทวดากับเหล่าอสูรขึ้น  ครั้งนั้น                             ท้าวสักกเทวราช  ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทพ  ตรัสเรียกเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า  ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย  ถ้าพวกเทวดาเข้าสู่สงครามแล้วเกิดความกลัว  หวาดสะดุ้ง  ขนพองสยองเกล้า  ขอให้ท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเรา  เพราะเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราแล้วความกลัว      ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้าพวกท่านทั้งหลายแลดูยอดธงเราไม่ ได้  ก็ขอให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี  เพราะเมื่อท่านทั้งหลายมองดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีแล้ว  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้าท่านทั้งหลายแล ดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีไม่ได้      ก็ให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ  เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราช ชื่อวรุณแล้ว  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้าท่านทั้งหลายแลดูยอดธงของเท วราชชื่อวรุณไม่ได้  ก็ให้ แลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน  เพราะเมื่อท่านแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสานแล้ว  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ภิกษุทั้งหลาย  แท้จริงแล้ว  เมื่อเหล่าเทวดาทั้งหลายแลดูยอดธงของท้าวสักกเทวราช  แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี  แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ  หรือแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่  บางทีก็หายได้  บางทีก็ไม่หาย  เพราะเหตุไร   ภิกษุทั้งหลาย  เพราะว่าท้าวสักกเทวราชยังไม่สิ้นราคะ     ยังไม่สิ้นโทสะ  ยังไม่สิ้นโมหะ  ยังกลัว  ยังหวาดสะดุ้ง  ยังต้องหนี

ภิกษุทั้งหลาย  ส่วนเราตถาคตกล่าวอย่างนี้ว่า  ถ้าพวกเธอ       ทั้งหลายไปอยู่ตามป่า  ตามโคนไม้  ตามบ้านร้าง  หรือที่อื่นใดแล้วเกิด ความกลัว   หวาดสะดุ้ง   ขนพองสยองเกล้า  ขอให้เธอทั้งหลายระลึกถึงเราตถาคตว่า

"เพราะเหตุอย่าง นี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เป็นผู้ไกลจากกิเลส  ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ  เสด็จไปดีแล้ว  ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง  สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า  ทรงเป็นครูของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานด้วยธรรม  ทรงมีความสามารถในการจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์  ฯ"

ภิกษุทั้งหลาย  เพราะเมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงตถาคตอยู่  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้า ระลึกถึงตถาคตไม่ได้  ก็ให้ระลึกถึงพระธรรมว่า "พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว  ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง  เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล  สามารถ แนะนำผู้อื่นให้มาพิสูจน์ได้ว่า "ท่านจงมาดูเถิด" ควรน้อมนำมาไว้ในตัว  ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน  ฯ"
ภิกษุทั้งหลาย  เพราะเมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึงพระธรรมอยู่  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป

ถ้า ระลึกถึงพระธรรมไม่ได้  ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า  "พระสงฆ์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้วปฏิบัติ       เพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์  ปฏิบัติเหมาะสม  ได้แก่บุคคล           เหล่านี้คือ  คู่แห่งบุรุษ ๔  คู่ นับเรียงลำดับได้ ๘ ท่าน นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ซึ่งเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาน้อมนำมาบูชา  ควรแก่สักการะที่เขาเตรียมไว้ต้อนรับ  ควรรับทักษิณาทาน  เป็น ผู้ที่บุคคลทั่วไปควรให้ความเคารพ  เป็นเนื้อนาบุญของโลก  ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า  ฯ"

ภิกษุทั้งหลาย  เพราะเมื่อเธอทั้งหลาย  ระลึกถึงพระสงฆ์แล้ว  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จักหายไป  ที่เป็นเช่นนี้เพราะตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้นราคะ  สิ้นโทสะ  สิ้นโมหะ  ไม่มีความกลัว  ไม่หวาดสะดุ้ง   ไม่หนี  พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา   ครั้นตรัสพุทธพจน์นี้แล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์  ต่อไปอีกว่า

ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อเธอทั้งหลายไปอยู่ตามป่า  ตามโคนไม้     หรือตามบ้านร้าง  ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วพวกเธอก็จะไม่มี            ความหวาดกลัว  ถ้าพวกเธอทั้งหลายไม่สามารถระลึกถึงพระพุทธเจ้า  ผู้เป็นใหญ่ในโลก  ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน  ก็ให้ระลึกถึงพระธรรม             อันสามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์  ที่เราแสดงไว้ดีแล้วเถิด  ถ้าพวกเธอไม่สามารถระลึกถึงพระธรรมที่สามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์อันเราแสดง ไว้ดีแล้ว  ต่อจากนั้น  ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า  ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อท่านทั้งหลายน้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้า  พระธรรม  และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้  ความกลัว  ความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าก็จักไม่มีแล  ฯ



No comments:

Post a Comment