Tuesday, February 28, 2012

บทสวดมนต์ - บทนมัสการพระพุทธเจ้า

ภาษาบาลี 
นโม ตสสฺ ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสสฺ ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสสฺ ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส


คำอ่านเป็นภาษาไทย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

 
คำแปลภาษาไทย
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง 



ที่มา www.fungdham

จุดธูปกี่ดอก บอกอะไร



ธูป 1 ดอก ไหว้ศพ เจ้าที่ วิญญาณธรรมดา ที่ไม่ได้ขึ้นชั้นเทพ
          
ธูป 2 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่
         
ธูป 3 ดอก ใช้บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
         
ธูป 5 ดอก ใช้บูชาพระรัตนตรัย บูชารัชกาลที่ 5 ธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า พระภูมิ
         
ธูป 7 ดอก ไหว้พระพรหม บูชาพระอาทิตย์ ถือคติคุ้มครองทั้ง 7 วันในสัปดาห์
         
ธูป 8 ดอก บูชาเทพเจ้าของชาวฮินดู
         
ธูป 9 ดอก บูชาแก้ว 9 ประการ พระพุทธคุณ ทั้งเก้า และพระเทพารักษ์
         
ธูป 10 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่ตามความเชื่อของชาวจีนบางกลุ่ม
         
ธูป 12 ดอก บูชาเจ้าแม่กวนอิม บูชาพระคุณของแม่
         
ธูป 16 ดอก บูชาเทพชั้นครู หรือ พิธีกลางแจ้ง ที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น
         
ธูป 19 ดอก บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ
         
ธูป 21 ดอก บูชาพระคุณของพ่อ
         
ธูป 32 ดอก ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ
         
ธูป 108 ดอก บูชาสิ่งสูงสุดทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า


ที่มา zazana.com

บทสวดมนต์ - บทพระพุทธคุณ



ภาษาบาลี
อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
สตฺถาเทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ

 
คำอ่านเป็นภาษาไทย
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

 
คำแปลภาษาไทย 
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้แจกจ่ายธรรม
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ(ความรู้และความประพฤติ)
เสด็จไปดี(คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก
ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้
ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม
 

บทพระพุทธคุณ (ทำนองสรภัญญะ)
  องค์ใดพระสัมพุทธ
ตัดมูลกิเลสมาร
  หนึ่งนัยพระทัยท่าน
ราคี บ พันพัว
  องค์ใดประกอบด้วย
โปรดหมู่ประชากร
  ชี้ทางบรรเทาทุกข์
ชี้ทางพระนฤพาน
  พร้อมเบญจพิธจัก-
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล
  กำจัดน้ำใจหยาบ
สัตว์โลกได้พึ่งพิง
  ข้าฯ ขอประณตน้อม
สัมพุทธการุญ-
สุวิสุทธสันดาน
บ มิหม่นมิหมองมัว
ก็เบิกบานคือดอกบัว
สุวคนธกำจร
พระกรุณาดังสาคร
มละโอฆกันดาร
และชี้สุขเกษมศานต์
อันพ้นโศกวิโยคภัย
ษุจรัสวิมลใส
ก็เจนจบประจักษ์จริง
สันดานบาปแห่งชายหญิง
มละบาปพำเพ็ญบุญ
ศิระเกล้าบังคมคุณ
ญภาพนั้นนิรันดรฯ 




 ที่มา fungdham.com

บทสวดมนต์ - บทบูชาพระรัตนตรัย

   
บทบูชาพระรัตนตรัย  

ภาษาบาลี
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา
พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
ธมฺมํ นมสฺสามิ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
สงฺฆํ นมามิ

คำอ่านเป็นภาษาไทย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

คำแปลภาษาไทย 
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต์
หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค : พระพธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคปฏิบัติดีแล้ว



ที่มา http://www.fungdham.com/pray/pray01.html

ประวัติหลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม



หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม  ( พระครูสันติวรญาณ )
วัดสันติวรญาณ
10 หมู่ 6 บ้านกุดพันสะเดา ต.วังศาล อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ 67240

หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม หรือ พระครูสันติวรญาณ เป็นพระผู้ใหญ่ที่พุทธศาสนิกชน กราบไหว้ยกย่องนับถือในวัตรปฏิบัติและปฏิปทา รวมทั้งการเทศนาสอนธรรมกัมมัฏฐาน
ด้วยคำเทศนาหรือบทธรรมของท่าน ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ภัยในชีวิตประจำวัน
 
หลวงปู่อ่ำ เป็นพระสายวัดป่าที่เน้นเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นด้านหลัก และเป็นศิษย์รุ่นกลางของ

 หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต   (ศึกษาธรรมธุดงควัตรหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
บูรพาจารย์สายปฏิบัติวิปัสสนาชื่อดัง   วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

ปัจจุบัน หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม สิริอายุ 81 พรรษา 42 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติวรญาณ ต.วังศาล อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ 
 
อัตโนประวัติและชาติภูมิ หลวงปู่อ่ำ เกิดในสกุล ลาสิม เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2471 ที่ ต.ตระการ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายมา และ นางตา ลาสิม ครอบครัวประกอบอาชีพชาวนา มีฐานะยากจน
 
ในช่วงวัยเยาว์ได้เรียนหนังสือเบื้องต้น จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดบ้านโพนเมือง และช่วยครอบครัวหาเลี้ยงด้วยการประกอบอาชีพทำนาทำไร่
 
ยามว่างจากการงานอาชีพ มักจะขอติดตามบิดามารดา เข้าวัดฟังธรรมเป็นประจำ ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
 
กระทั่งอายุ 26 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2497 ณ วัดประชาพิทักษ์ ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยมีพระครูพุทธสารสุนทร วัดประชาพิทักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาปัญญา กุสโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์  ได้รับฉายา ธมฺมกาโม มีความหมายว่า ผู้ปรารถนาในพระธรรม   หลังอุปสมบท ท่านได้อยู่ปฏิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ระยะเวลาหนึ่ง ต่อมา ได้กราบลาขอเดินทางไปยัง จ.สกลนคร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม
สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท และเอก ตามลำดับ จากสำนักเรียนวัดคามวาสี อ.สว่างดินแดน จ.สกลนคร 
 
ต่อมา ท่านได้ไปขอฝากตัวเป็นอันเตวาสิกของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร  

 หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ(ศึกษาประวัติ) วัดประสิทธิธรรม ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
   
เพื่อศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน นั่งสมาธิเจริญจิตตภาวนา พร้อมกับได้ออกเดินธุดงควัตร ไปตามสถานที่ต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ท่านได้มีโอกาสศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับ

หลวงปู่ขาว อนาลโย(ศึกษาประวัติ วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
                         
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร(ศึกษาประวัติ วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
                                                               

หลวงปู่อ่อน ญาณสิร(ศึกษาประวัติ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
ท่านได้เดินธุดงค์ ผ่านมายังพื้นที่บริเวณบ้านเขาน้อย ต.วังทรายพูน อ.เมือง จ.พิจิตร พบว่าเป็นสถานที่สงบวิเวก เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม ประกอบกับญาติโยม แลเห็นถึงจริยาวัตรของท่าน จึงได้นิมนต์ขอให้อยู่จำพรรษา ก่อนทำการสร้างวัดในเวลาต่อมา ชื่อ วัดป่าเขาน้อย และอยู่จำพรรษาเป็นเวลานานหลายปี
กระทั่งเมื่อเห็นว่า ชุมชนวัดป่าเขาน้อยมีความเจริญมากขึ้น มีประชากรเข้ามาอาศัยอยู่หนาแน่น ท่านจึงได้มอบหมายการดูแลปกครองพระสงฆ์ ให้แก่ 
 
   หลวงปู่จันทา ถาวโร (ศึกษาประวัติหลวงปู่จันทา ถาวโร)
ซึ่งเป็นสหธรรมิกของท่านอีกรูปหนึ่ง
              
 ส่วนตัวท่านได้เดินธุดงค์ไปยังป่าเขาเขียว เขตทุ่งแสลงหลวง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก อยู่จำพรรษาอยู่หลายปี ปรากฏว่า สำนักสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่สามารถจะสร้างเป็นวัดได้ ท่านจึงได้เดินทางเข้ามายัง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์
ญาติโยม คหบดี ชาวอ.พิจิตร ทราบว่า หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม เดินธุดงค์มายังบ้านวังชะนาง ต.วังศาล อ.วังโป่ง จึงได้พากันรวบเงินซื้อที่ดินบริเวณบ้านวังชะนางจำนวน 68 ไร่ ถวายให้หลวงปู่อ่ำ ก่อตั้งเป็นสำนักธุดงคสถาน พร้อมทั้งชักชวนญาติโยม เข้ามารักษาศีลปฏิบัติธรรม 
 
หลวงปู่อ่ำและชาวบ้าน ได้ร่วมกันก่อสร้างศาสนสถาน ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ และมหาเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมา จึงได้รับการยกฐานะเป็นวัด ถูกต้องตามกฎหมาย ชื่อ วัดสันติวรญาณ
 
ตลอดเวลาที่อยู่จำพรรษา หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม จะสั่งสอนอบรมญาติโยม ให้รู้จักเจริญสติภาวนา ตามหลักการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ตามแนวทางของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทุกประการ ด้วยอุปนิสัยที่สงบเสงี่ยม พูดแต่น้อย และพูดอย่างระมัดระวังและมีสติกำกับ 
 
หลวงปู่จะสอนเสมอว่า จริตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีมากบ้าง น้อยบ้างต่างกัน เป็นเรื่องของสัตว์โลกที่เกิดมา ได้สร้างความดีไว้ที่ต่างกัน ทุกคนจึงต้องเป็นตามกรรมนั้นๆ จริตของคนเราที่เกิดมาในโลก มี 6 ประการ คือ ราคจริต เป็นผู้ที่รักสวยรักงาม เป็นเจ้าเรือน โทสจริต เป็นผู้มักโกรธง่าย ผูกโกรธไว้เป็นเจ้าเรือน โมหจริต เป็นผู้หลงงมงาย มืดมน วิตกจริต เป็นผู้ไม่แน่นอน ตกลงใจไม่ได้ สัทธาจริต เป็นผู้มักเชื่อง่าย ถือมงคลตื่นข่าว และพุทธิจริต เป็นผู้ใช้ปัญญาตรึกตรองมาก จริตทั้ง 6 ประการ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้และหมั่นพิจารณาเนืองๆ ว่า ตนนั้นตกอยู่ในจริตข้อใด หรือจริตข้อใด เป็นเจ้าเรือน เมื่อรู้แล้ว จงกำหนดจิตของตน ให้แน่วแน่ละจริตนั้นๆ เสีย ทำบ่อยๆ จนจิตสงบ เยือกเย็น ได้ชื่อว่า เป็นผู้ละกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เกิดขึ้นได้   ในบางครั้ง หลวงปู่อ่ำ ได้รับการนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีนั่งปลุกเสกอธิษฐานจิตวัตถุมงคลหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ท่านจะปฏิเสธ 
 
หลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม  เป็นพระที่เคร่งครัดวินัยมาก วัตรที่ปฏิบัติ คือ นอกจากจะทำวัตรสวดมนต์ เป็นประจำแล้ว สิ่งที่ถือเป็นกิจวัตรคือ การออกบิณฑบาต โปรดญาติโยม ทุกเช้า แม้อายุจะล่วงเข้าวัยชรา สุขภาพร่างกายของท่าน ยังดูแข็งแรง เดินทางได้ระยะไกลๆ หลวงปู่จะบอกว่า ที่ท่านมีสุขภาพร่างกาย แข็งแรง เป็นเพราะท่านปฏิบัติกัมมัฏฐาน เจริญสติภาวนา เป็นประจำ  เมื่อจิตนิ่ง จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก หรือส่ายไปส่ายมา จนถึงขั้นเป็นเอกัคคตาจิต ความสุข ความสันติ ก็จะตามมา เป็นหลักคำสอนในการฝึกจิตของหลวงปู่อ่ำ ธมฺมกาโม
 
ทุกวันนี้ หลวงปู่อ่ำ  ธมฺมกาโม  ในวัย 81 ปี ยังคงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยความรู้ ความสามารถ และความเสียสละ บำเพ็ญคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติบ้านเมือง คำนึงถึงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ยึดมั่นที่จะสร้างสรรค์ พัฒนาสังคม ให้มีความเจริญรุ่งเรืองด้วยความรู้คู่กับคุณธรรม
 
อีกทั้ง เป็นพระอริยสงฆ์ผู้เจริญธรรมตามรอยบูรพาจารย์ทุกประการ
  


ฟังธรรมะจาก หลวงปู่จันทา ถาวโร



หลวงปู่จันทา ถาวโร
วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร




ฟังเทศน์หลวงปู่จันทา ถาวโร ในวันสงกรานต์ต้นเหตสร้างพระมหาเจดีย์ปฐมเหตุพระเจ้าห้าพระองค
ฟังเทศนาธรรม หลวงปู่จันทา ถาวโร เรื่อง อินทรีย์ 5
ฟังเทศนาธรรม หลวงปู่จันทา ถาวโร เรื่อง ขันธ์ 5 กามตัณหา
ฟังเทศนาธรรม หลวงปู่จันทา ถาวโร เรื่อง มรรค 8 ทางเดินสู่นิพพาน
ฟังเทศนาธรรมหลวงปู่จันทา ถาวโร เรื่อง ธุดงค์ปลอม
ฟังเทศนาธรรม หลวงปู่จันทา ถาวโร เรื่อง ปลุกเสกตน

 



ข้อมูลได้มาจาก http://www.luangphujuntathawaro.com/J4.htm และ http://www.fungdham.com/sound/janta.html


ข่าวด่วน หลวงปู่จันทา ถาวโร ละสังขาร เวลาประมาณ 05.00 น. เช้าวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 เวลา 16.00 น.


หมายกำหนดงานถวายเพลิงสรีระสังขาร

ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ถึง วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2555
  เวลา 07.00 น.  พระภิกษุ สามเณร ออกรับบิณฑบาตรอบศาลา
  เวลา 08.00 น.  ฉันภัตตาหารเช้า
  เวลา 09.00 น.  บำเพ็ํญกุศลตลอดทั้งวัน
  เวลา 19.00 น.  ทำวัตรสวดมนต์เย็น
  เวลา 19.30 น.  แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
  เวลา 20.00 น.  ทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี
                         (ไม่มีสวดพระอภิธรรม)
      
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2555
  เวลา 07.00 น.  พพระภิกษุ สามเณร ออกรับบิณฑบาตรอบศาลา
  เวลา 08.00 น.  ฉันภัตตาหารเช้า
  เวลา 10.00 น.  เคลื่อนสรีระสังขารองค์หลวงปู่จันทา ถาวโร
                        จากศาลาการเปรียญขึ้นสู่จิตตกาธาน
  เวลา 19.00 น.  ทำวัตรสวดมนต์เย็น
                         แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
                         พระสงฆ์ 10 รูป พิจารณาผ้าบังสุกุล
                         เจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรม   พระสงฆ์อนุโมทนา
      
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2555
  เวลา 07.00 น.  พพระภิกษุ สามเณร ออกรับบิณฑบาตรอบศาลา
  เวลา 08.00 น.  ฉันภัตตาหารเช้า
  เวลา 13.00 น.  แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
                        พระสงค์ทั้งนั้น สวดมาติกาบังสุกุล
  เวลา 14.00 น.  พระมหาเถระ 10 รูป พิจารณาผ้าบังสุกุลบนจิตตกาธาน
  เวลา 15.00 น.  ทอดผ้ามหาบังสุกุล
                         วางดอกไม้จันทน์ ถวายเพลิงสรีระสังขาร เป็นอันเสร็จพิธี
 
                              

 ขอเชิญศิษยานุศิษย์มาร่วมงาน

ที่มา http://www.luangphujuntathawaro.com

เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา

"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"

ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์

จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา

http://www.fungdham.com/sound/jarun.html
http://board.agalico.com/forumdisplay.php?s=1bd78b1f5e1a52f60afab4f418cef359&f=167

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21128 

ประวัติและปฏิปทา ของ หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร



หลวงปู่จันทา ถาวโร

วัดป่าเขาน้อย
ต.วังทรายพูน อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร



ก. ชีวิตฆราวาส

๑. ชาติภูมิ

หลวงปู่จันทา ถาวโร เป็นบุตรของ นายสังข์ ไชยนิตย์ และนางเลี่ยม ชมภูวิเศษ ท่านถือกำเนิดในวันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๕ ณ หมู่บ้านแดง ต.เหนือ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน มีชื่อตามลำดับดังนี้

๑) นายนู ไชยนิตย์ (ถึงแก่กรรม)
๒) นางต่วน ชมภูวิเศษ
๓) นายแก้ว ไชยนิตย์ (ถึงแก่กรรม)
๔) หลวงปู่จันทา ถาวโร
๕) นายบุญ ไชยนิตย์
๖) นายน้อย ไชยนิตย์ (ถึงแก่กรรม)

๒. ลูกกำพร้า

หลวง ปู่เล่าเรื่องชีวิตในวัยเด็กไว้ว่า “อย่างข้าพเจ้านี้มันก็แสนทุกข์ยากลำบากเกิดมาชีวิตนี้ คิดแล้วน้ำตาไหล พออายุได้ ๗ ปี ได้น้อง ๒ คน แม่ก็ตาย เพราะกินผิด คือ แม่เอาอาหารไปถวายพระตอนเพล แล้วไปกินป่นปลากับผักผีพวย นั่นแหละก็เลยผิดกรรมเสีย เมื่อผิดกรรมแล้วทำอย่างไร สมัยนั้นหมอยาก็มีแต่ยารากไม้ รักษาไม่ได้ ผลสุดท้ายก็เลยตาย”

ก่อน ตาย แม่ก็สั่งว่า “ลูกคนเล็กๆ ๓ คนนี้ให้แม่ป้าพ่อลุงเอาไปเลี้ยง เพราะเขาเป็นเชื้อผู้ใหญ่ และมีเรือนอยู่ติดกัน ส่วนลูกคนโตๆ นั้น ให้อยู่กับน้าบ่าวน้าสาว”

พอแม่ตาย พ่อก็เลยไปเอาเมียใหม่มาเลี้ยง ให้เมียใหม่มาช่วยเลี้ยงลูก แม่ใหม่กับลูกสาวก็เหมือนหมากับแมวนะ ลูกสาวก็ด่าเอาว่า “มึงไม่ใช่แม่กู อย่ามาทำสำออยเจ้าน้อย ให้กูตักน้ำมาให้อาบ ไม่ดอก” นั่นแหละ ผลสุดท้ายก็เลยแตกกัน เหมือนนกแตกรังเหมือนควายแตกคอก พ่อก็เลยไปอยู่กับแม่ใหม่เสีย แหม...ทีนี้ ก็เร่ร่อนสัญจรไปไหนมาไหนก็แสนทุกข์ยากลำบาก ทำงานหากินเลี้ยงชีพ

๓. ลูกชาวนา...ไร้การศึกษา

เรา เกิดมาชาตินี้ แสนทุกข์ยากลำบาก เกิดขึ้นท่ามกลางไร่นา อายุ ๗ ปี แม่ตาย ๑๐ปี พ่อตาย เราก็เป็นลูกกำพร้า อยู่กับพี่น้องเขาก็พาให้เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไม่ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนอะไร ทำนาตั้งแต่อายุ ๗ ปี นะ เริ่มทำจากนั้นมาถึง ๒๕ ปี แหมมันแสนทุกข์ยากลำบาก ๕ โมงเช้าถึงจะได้กินข้าว นั่นแหละปวดหลัง ปวดเอว บ่นเพ้อละเมอใจว่า เมื่อไหร่หนอเราจะพ้นจากการทำนา มันทุกข์ยากลำบาก

๔. นายพรานใหญ่

หลวง ปู่เล่าต่อไปอีกว่า ผมเป็นนายพรานใหญ่นะ บ้านอยู่ฝั่งแม่น้ำชี จ.ร้อยเอ็ด สมัยผมเกิดนะไปหาปลาหาบตะกร้าไป บ้านนั้นมี ๑๐ หลังคาเรือนคุ้มนี้นะ ๒ คนนี่หาบตะกร้าไปเลย ลงไปหนองน้ำ ปลานี่ชุกชุมยุบยับ...ๆ...ๆ ไปถึงก็กำเอาๆ จนเต็ม ๒ หาบตะกร้า เอามาตั้งไว้กลางบ้าน แล้วก็ร้องบอกชาวบ้าน

“มาเด๊อ !...ไผอยากได้ก็มาเอา”

ตั้ง ไว้แล้วก็ไป ชาวบ้านก็ถือตะกร้าลงมา อยากได้ตัวไหนก็เอาไป พอเขากลับกันหมดแล้ว ปลาที่เหลือจึงไปเอามากินนะ ข้อยไปก็อย่างนั้น เจ้าไปก็อย่างนั้น แต่ก่อนไม่ได้ซื้อไม่ได้ขาย จะเอาไปทำอะไร สัตว์นั้นมันหลาย นั่นแหละ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมามากแล้วชีวิตนี้

๕. ได้เมียแม่หม้าย

พอ เติบใหญ่ อายุได้ ๒๓ ปี เขาก็บังคับให้มีครอบครัว แต่แล้วครอบครัวนั้นเป็นอย่างไร ได้แม่ร้างแม่หม้าย ลูก ๓ ผัวเขาตาย เหลือแต่ของไม่ดีนั่นแหละ ของดีเขาเอาไปกินหมดแล้วสมขี้หน้าไหมเล่า แต่แล้วเราก็เหมือนกับแมว หญิงหม้ายนั้นเหมือนกับสุนัขตัวใหญ่ มันก็คั้นคอเอาอย่างนั้นทุกวัน นั่นแหละเพราะบุญพาวาสนาส่งไม่ดี ผลสุดท้ายก็เลยแยกทางกัน

เหตุที่แยกกับภรรยานั้น หลวงปู่เคยพูดว่า “วันหนึ่งสะพายข้องและแหไปหาปลา หว่านแหดำน้ำหาปลาตั้งแต่เช้ายันค่ำ ไม่ได้ปลาสักตัว ดำน้ำจนตาแดงกล่ำ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ตอนเย็นเดินคอตกกลับบ้านไม่ได้อะไร พอเห็นหน้าภรรยาสุดที่รัก ก็พูดบอกให้ฟัง แทนที่จะเห็นใจ กลับขู่ตะคอกต่อว่า หาว่า ไปมัวเถลไถลเที่ยวเล่น จนมืดค่ำ แล้วภรรยาก็เอาเครื่องมือหาปลามีข้องและแห เป็นต้น ถลกผ้าถุงปัสสาวะใส่ต่อหน้าต่อตา เห็นแล้วก็เกิดความสลดสังเวชอย่างใหญ่หลวง คิดว่า โอ๋...เมียเราทำไมทำได้ขนาดนี้ ทำถึงขนาดนี้แล้ว อยู่ด้วยกันไปก็ไม่เป็นมงคลอะไรจึงตัดสินใจแยกทางกับเมีย อย่างเข็ดหลาบ”

ที นี้จะทำอย่างไรเล่า ทำอะไรก็ไม่ทันสมัยกับเขา เลี้ยงแต่ควาย ทำแต่นา ทำอะไรก็ไม่ดีกับเขาสักอย่าง สร้างโลก (มีครอบครัว) ก็สร้างแล้ว มีแต่จมกับจม สิ่งใดก็ไม่ดีทั้งหมดผลสุดท้ายก็มาคิดว่าทำอย่างไรมันจึงจะดี




ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่จันทา ถาวโร


วัดป่าเขาน้อย
ต.วังทรายพูน อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร



ก. ชีวิตฆราวาส

๑. ชาติภูมิ

หลวงปู่จันทา ถาวโร เป็นบุตรของ นายสังข์ ไชยนิตย์ และนางเลี่ยม ชมภูวิเศษ ท่านถือกำเนิดในวันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๕ ณ หมู่บ้านแดง ต.เหนือ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน มีชื่อตามลำดับดังนี้

๑) นายนู ไชยนิตย์ (ถึงแก่กรรม)
๒) นางต่วน ชมภูวิเศษ
๓) นายแก้ว ไชยนิตย์ (ถึงแก่กรรม)
๔) หลวงปู่จันทา ถาวโร
๕) นายบุญ ไชยนิตย์
๖) นายน้อย ไชยนิตย์ (ถึงแก่กรรม)

๒. ลูกกำพร้า

หลวง ปู่เล่าเรื่องชีวิตในวัยเด็กไว้ว่า “อย่างข้าพเจ้านี้มันก็แสนทุกข์ยากลำบากเกิดมาชีวิตนี้ คิดแล้วน้ำตาไหล พออายุได้ ๗ ปี ได้น้อง ๒ คน แม่ก็ตาย เพราะกินผิด คือ แม่เอาอาหารไปถวายพระตอนเพล แล้วไปกินป่นปลากับผักผีพวย นั่นแหละก็เลยผิดกรรมเสีย เมื่อผิดกรรมแล้วทำอย่างไร สมัยนั้นหมอยาก็มีแต่ยารากไม้ รักษาไม่ได้ ผลสุดท้ายก็เลยตาย”

ก่อน ตาย แม่ก็สั่งว่า “ลูกคนเล็กๆ ๓ คนนี้ให้แม่ป้าพ่อลุงเอาไปเลี้ยง เพราะเขาเป็นเชื้อผู้ใหญ่ และมีเรือนอยู่ติดกัน ส่วนลูกคนโตๆ นั้น ให้อยู่กับน้าบ่าวน้าสาว”

พอแม่ตาย พ่อก็เลยไปเอาเมียใหม่มาเลี้ยง ให้เมียใหม่มาช่วยเลี้ยงลูก แม่ใหม่กับลูกสาวก็เหมือนหมากับแมวนะ ลูกสาวก็ด่าเอาว่า “มึงไม่ใช่แม่กู อย่ามาทำสำออยเจ้าน้อย ให้กูตักน้ำมาให้อาบ ไม่ดอก” นั่นแหละ ผลสุดท้ายก็เลยแตกกัน เหมือนนกแตกรังเหมือนควายแตกคอก พ่อก็เลยไปอยู่กับแม่ใหม่เสีย แหม...ทีนี้ ก็เร่ร่อนสัญจรไปไหนมาไหนก็แสนทุกข์ยากลำบาก ทำงานหากินเลี้ยงชีพ

๓. ลูกชาวนา...ไร้การศึกษา

เรา เกิดมาชาตินี้ แสนทุกข์ยากลำบาก เกิดขึ้นท่ามกลางไร่นา อายุ ๗ ปี แม่ตาย ๑๐ปี พ่อตาย เราก็เป็นลูกกำพร้า อยู่กับพี่น้องเขาก็พาให้เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไม่ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนอะไร ทำนาตั้งแต่อายุ ๗ ปี นะ เริ่มทำจากนั้นมาถึง ๒๕ ปี แหมมันแสนทุกข์ยากลำบาก ๕ โมงเช้าถึงจะได้กินข้าว นั่นแหละปวดหลัง ปวดเอว บ่นเพ้อละเมอใจว่า เมื่อไหร่หนอเราจะพ้นจากการทำนา มันทุกข์ยากลำบาก

๔. นายพรานใหญ่

หลวง ปู่เล่าต่อไปอีกว่า ผมเป็นนายพรานใหญ่นะ บ้านอยู่ฝั่งแม่น้ำชี จ.ร้อยเอ็ด สมัยผมเกิดนะไปหาปลาหาบตะกร้าไป บ้านนั้นมี ๑๐ หลังคาเรือนคุ้มนี้นะ ๒ คนนี่หาบตะกร้าไปเลย ลงไปหนองน้ำ ปลานี่ชุกชุมยุบยับ...ๆ...ๆ ไปถึงก็กำเอาๆ จนเต็ม ๒ หาบตะกร้า เอามาตั้งไว้กลางบ้าน แล้วก็ร้องบอกชาวบ้าน

“มาเด๊อ !...ไผอยากได้ก็มาเอา”

ตั้ง ไว้แล้วก็ไป ชาวบ้านก็ถือตะกร้าลงมา อยากได้ตัวไหนก็เอาไป พอเขากลับกันหมดแล้ว ปลาที่เหลือจึงไปเอามากินนะ ข้อยไปก็อย่างนั้น เจ้าไปก็อย่างนั้น แต่ก่อนไม่ได้ซื้อไม่ได้ขาย จะเอาไปทำอะไร สัตว์นั้นมันหลาย นั่นแหละ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมามากแล้วชีวิตนี้

๕. ได้เมียแม่หม้าย

พอ เติบใหญ่ อายุได้ ๒๓ ปี เขาก็บังคับให้มีครอบครัว แต่แล้วครอบครัวนั้นเป็นอย่างไร ได้แม่ร้างแม่หม้าย ลูก ๓ ผัวเขาตาย เหลือแต่ของไม่ดีนั่นแหละ ของดีเขาเอาไปกินหมดแล้วสมขี้หน้าไหมเล่า แต่แล้วเราก็เหมือนกับแมว หญิงหม้ายนั้นเหมือนกับสุนัขตัวใหญ่ มันก็คั้นคอเอาอย่างนั้นทุกวัน นั่นแหละเพราะบุญพาวาสนาส่งไม่ดี ผลสุดท้ายก็เลยแยกทางกัน

เหตุที่แยกกับภรรยานั้น หลวงปู่เคยพูดว่า “วันหนึ่งสะพายข้องและแหไปหาปลา หว่านแหดำน้ำหาปลาตั้งแต่เช้ายันค่ำ ไม่ได้ปลาสักตัว ดำน้ำจนตาแดงกล่ำ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ตอนเย็นเดินคอตกกลับบ้านไม่ได้อะไร พอเห็นหน้าภรรยาสุดที่รัก ก็พูดบอกให้ฟัง แทนที่จะเห็นใจ กลับขู่ตะคอกต่อว่า หาว่า ไปมัวเถลไถลเที่ยวเล่น จนมืดค่ำ แล้วภรรยาก็เอาเครื่องมือหาปลามีข้องและแห เป็นต้น ถลกผ้าถุงปัสสาวะใส่ต่อหน้าต่อตา เห็นแล้วก็เกิดความสลดสังเวชอย่างใหญ่หลวง คิดว่า โอ๋...เมียเราทำไมทำได้ขนาดนี้ ทำถึงขนาดนี้แล้ว อยู่ด้วยกันไปก็ไม่เป็นมงคลอะไรจึงตัดสินใจแยกทางกับเมีย อย่างเข็ดหลาบ”

ที นี้จะทำอย่างไรเล่า ทำอะไรก็ไม่ทันสมัยกับเขา เลี้ยงแต่ควาย ทำแต่นา ทำอะไรก็ไม่ดีกับเขาสักอย่าง สร้างโลก (มีครอบครัว) ก็สร้างแล้ว มีแต่จมกับจม สิ่งใดก็ไม่ดีทั้งหมดผลสุดท้ายก็มาคิดว่าทำอย่างไรมันจึงจะดี


ข. ออกบวช

๑. เหตุแห่งการบวช

ก็ มาคิดปรารภถึงแม่ผู้บังเกิดเกล้านั่นแหละ คิดถึงแม่เวลาใด น้ำตาไหลนะ ถามนักปราชญ์ทั้งหลายว่า ทำอย่างไรจึงจะตอบแทนบุญคุณแม่ได้ นักปราชญ์ท่านก็ว่า จะทำนาค้าขายตอบแทนก็ไม่ได้ดอก มีแต่ออกบวชเท่านั้นแหละ บวชแล้วบำเพ็ญบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ทีนี้ก็เลยตั้งใจใฝ่ฝันว่าจะบวชบำเพ็ญบุญให้แม่สัก ๒-๓ พรรษา แล้วก็จะสึก จากนั้นก็เข้าวัดฝึกหัดขานนาค เพราะไม่ได้เรียนหนังสือ เขียนไม่เป็น อ่านไม่ออก นั่นแหละมันปึก (โง่) จึงท่องไม่ได้ ท่องแล้วท่องเล่า จนจะถอยหลังนะ เอ้าตั้งใจใหม่ โอ๋...คนอื่นเขายังได้เว้ย ! เอาวันละคำนะ “เอสาหัง ภันเตฯ...” อยู่นั่นแหละ มักน้อยเอาวันละคำก็เลยได้ เข้าวัดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พอขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ (พฤษภาคม) จึงได้บวช ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยมีหลวงปู่หนู ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่ที่วัดบ้านปลาฝา ซึ่งเป็นวัดฝ่ายมหานิกายมาบวชให้ แล้วจำพรรษาอยู่วัดบ้านขมิ้น ๑ พรรษา จากนั้นจึงมาจำพรรษาที่วัดศรีจันทร์ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านแดง มีหลวงปู่นัน ตาปโส เป็นเจ้าอาวาส

๒. อุทิศบุญให้แม่

หลวง ปู่เล่าว่า พอบวชแล้วออกจากโบสถ์มาก็อุทิศส่วนบุญให้แม่เลย “บุญที่ข้าพเจ้าบวชในวันนี้ ขอฝากแต่แม่เจ้าธรณีเทพเจ้าเหล่าเทวา นำบุญนี้ไปให้แม่ข้าพเจ้า มีนามว่า นางเลี่ยม ชมภูวิเศษ ดวงจิตของเขานั้น ไปอยู่สถานที่ใด ไปตกนรกก็ดี หรือไปมนุษย์ก็ดี หรือไปเป็นเปรต เป็นผี ก็ดี ขอให้ได้รับส่วนบุญนั้น ขอให้พ้นทุกข์ ให้กลับมาเกิดในตระกูลเดิม จะได้เห็นอำนาจในการบำเพ็ญบุญ ส่วนผู้นำข่าวบุญไปนั้น ก็ขอแบ่งส่วนบุญให้”

จาก นั้นก็ตั้งใจบำเพ็ญบุญ ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ยืนภาวนา เดินจงกรม วันยังค่ำ บางกาลสมัย ๕ ปีนะ ไม่นอนตลอดไตรมาส ๓ เดือน เดิน ยืน นั่ง เท่านั้นแหละ ๔ - ๕ วัน ฉันครั้ง เพราะวิตกวิจารณ์ใจ กลัวว่าจะได้บุญน้อย จะไม่ไปช่วยเหลือแม่ นั่นแหละ ก็ทำอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ

๓. ให้พระเณรช่วยสอน

เมื่อ หลวงปู่ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีจันทร์ ในหมู่บ้านแดงซึ่งมีหลวงปู่นัน ตาปโส เป็นเจ้าอาวาส หนังสือไม่ได้เรียน อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็น เป็นแต่เลี้ยงควาย ไถนา คราดนา เท่านั้น วิชาความรู้ประจำชีวิตทางฝ่ายโลกก็ไม่เป็น เมื่อเข้ามาทางฝ่ายธรรม จะมาเรียนปริยัติ ตรี โท เอก ก็ไม่มี เพราะเขียนไม่เป็น อ่านไม่ได้

ที นี้ก็มาตั้งใจประพฤติวัตรปฏิบัติ อ่อนน้อมค้อมตัวต่อพระเณร “ครูบาท่าน !...เมตตาสงเคราะห์ไอ้คนทุปัญญาเถอะว้า บางทีผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แล้วนั้นก็จะได้ผลบุญผลกุศลจากผมที่ได้ธรรมมะจาก ท่านฝึกสอนให้นี้นั้น ไปอบรมบ่มนิสัย ไหว้พระสวดมนต์ ภาวนา จะได้เป็นบุญกุศลของตน และท่านผู้ฝึกสอนถ่ายทอดความรู้ให้นั้น”

เขา เหล่านั้น บางองค์ก็พอใจฝึกสอนให้ บางองค์ก็เฉยถือตัวสำคัญว่า ผมนี้บุญน้อย วาสนาน้อย ฝึกสอนความรู้ให้แล้วก็คงจะไม่เป็นไปดอก ดูกิริยามารยาทแล้ว จะไม่เป็นไปในทางศาสนาดอก ถึงบวชก็ได้เพียงแค่พรรษาเดียว ก็จะตายเท่านั้นแหละ

แม้อาจารย์ที่เป็นผู้ปกครอง คือ หลวงปู่นัน ตาปโส ท่านก็พูดแล้ว พูดเล่า พูดกับพี่สาวผมนั่นแหละ “แม่ต่วน !...เอาผีบ้ามาบวชใช่ไหมเล่า ? ดูแล้วมันไม่ใช่คน ไม่เต็ม ขาดสลึงหนึ่ง ไม่เต็มคน มันจะไม่เป็นไป ”

พี่สาวก็เลยว่า “ โอ๋...ตั้งแต่วันเกิดมา ฉันเองเป็นคนเลี้ยงมาแต่น้อย จนถึงใหญ่ น้องทุกคน ทั้งที่ตายแล้วหรือยังอยู่ก็ดี สมบัติ สีสัน วรรณะ กิริยา มารยาท ก็ไม่เหมือนกัน แต่ไม่เป็นบ้าใบ้อะไรหรอกปู่ พอมีบุญอยู่ แต่ก็ขอให้ปู่ช่วยรับสงเคราะห์ต่อไปเถิด จะดีหรือชั่วก็จะได้เห็นกันข้างหน้าโน้น”

เรื่องดีชั่ว ที่สะสมมาแต่ชาติปางก่อนโน้น ก็ไม่อาจล่วงรู้กันได้ จะรู้กันได้ก็แต่ในปัจจุบันกับอนาคต นั่นแหละ แต่แล้วพระบางองค์ ท่านก็รังเกียจ เห็นว่า วิชาความรู้อะไรก็ไม่มี อ่านหนังสือก็ไม่ได้ เขียนก็ไม่เป็น ก็เลยไม่สอนให้ เณรบางองค์ก็รังเกียจ บางองค์ก็เมตตา แต่แล้วก็มีน้องชาย ๒ คน ซึ่งเป็นลูกน้าสาว (น้องแม่) เขาบวชอยู่แล้ว องค์หนึ่งบวชเป็นพระได้นักธรรมโท อีกองค์หนึ่งเป็นเณร ได้นักธรรมเอก เขาก็เมตตาสอนให้ ถ้าได้ดีข้างหน้าโน้นแล้วจะได้พึ่งพิงอิงอาศัยบ้าง และจะเป็นบุญเป็นกุศลของผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ นั่นแหละ

๔. คำสั่งสอนของอุปัชฌาย์อาจารย์

พอบวชแล้วอุปัชฌาย์อาจารย์ท่านก็บอกว่า

“พระ จันทา (ครับ) เธอนั้นเป็นคนทุกข์ยากลำบาก ความรู้วิชาอะไรก็ไม่ทันเขา วาสนาก็น้อย บุญก็น้อย พลอยรำคาญทุกข์ยากนานไม่มีวันว่างเว้น ถ้าบวชแล้วอย่าสึกนะ (ครับ) สึกไป ฟ้าผ่าห่ากินนะ ให้มันตายฉิบหาย มันไม่มีสติปัญญาวิชาความรู้เกิดมาภพน้อย ภพใหญ่ ทำตนเป็นคนกำพร้า อนาถา ทุกข์ยากเดือดร้อน อาทรใจอยู่อย่างนี้ ใช้ไม่ได้ ไม่มีสติปัญญา เขาเหมือนเรา เราเหมือนเขา แต่ไม่เหมือนกัน เขามีที่พึ่งพิงอิงอาศัย เราไม่มี เหมือนกับสุนัขกลางบ้าน นั่นแหละ สุนัขกลางบ้านทั้งเป็นขี้เรื้อน อีกด้วย”

“นั่นแหละ อย่าสึกนะ !...สึกแล้วฟ้าผ่าห่ากิน ไปไหน ให้มันตายมันโง่นี่ มันไม่มีสติปัญญาฉลาด จะไม่ทำคุณงานความดี ใส่ตนหลงไปตามแต่อารมณ์ของโลก เรื่องโลกๆ ฟังแต่ว่าโลก มันประกอบไปหมดทุกอย่าง รวมอยู่นั้นเรียกว่าโลก ส่วนเรื่องธรรมนี่มันน้อยนัก แต่ละภพแต่ละชาติที่จะได้มาประสบพบปะ ได้เจริญธรรมนั้นก็เป็นของยาก ทีนี้มาชีวิตนี้ได้พบแล้ว ก็ตั้งใจเจริญสะสมบุญ ให้เกิดมีขึ้นทุกเมื่อ อย่าได้ขาด เอาชีวิตเป็นแดน”

“ครับ” มีแต่ครับ รับได้เลย เพราะมองเห็นแล้วว่า อะไรก็ไม่เหมือนเขา เอ้า...ตั้งใจ

“ถ้าผมประพฤติวัตรปฏิบัติไปอย่างครูบาอาจารย์ หรืออุปัชฌาย์สอนนี่ จะเป็นบุญหรือเป็นบาป จะดีขึ้น หรือเสมอเดิมหรือถอยหลัง”

“อ้าว !...มันก็เป็นบุญ มีแต่ดีขึ้น ไม่ถอยหลัง คงที่ก้าวหน้าไปเท่านั้นแหละ ความโง่ก็จะหมดไป ความฉลาดก็จะเกิดขึ้น นั่นแหละบวชบำเพ็ญบุญล้างบาป บาปคือความโง่หลาย ทุกข์ยากลำบาก นั่นแหละบาป โทษปาณาติบาตที่ทำไว้ก็หนักมหันต์ เธอต้องบวชบำเพ็ญบุญล้างบาป ถ้าไม่อย่างนั้น ไม่ไหวนะ ตายไปตกนรกหมกไหม้เป็นทุกขเวทนา หาวันจบสิ้นไม่ได้”

อุปัชฌาย์อาจารย์ สอนแล้วสอนเล่า ก็พอใจ มองดูโลกคือหมู่สัตว์ มันเหมือนกันไหมเล่า สูงต่ำ ดำขาว จนมี ดีชั่ว ฉลาด โง่เขลาเบาปัญญา นั่นแหละ มันไม่เหมือนกัน เพราะเหตุใดจึงไม่เหมือนกัน เพราะกรรมดีกรรมชั่ว เป็นผู้ตกแต่งโลกคือหมู่สัตว์นั้นให้ต่างกัน

กัม มุนา วัตตะตี โลโก โลกคือหมู่สัตว์ กรรมย่อมจำแนกตกแต่งให้ฉลาดโง่เขลา เบาปัญญา อายุสั้นพลันตายหรืออายุยืนยาว ไม่เหมือนกัน ร่ำรวย สวย จน ก็ไม่เหมือนกัน เพราะกรรมเป็นผู้ตกแต่งให้ ไม่ใช่สิ่งใดดอกที่จะตกแต่งให้ มีแต่กรรมเท่านั้น

กรรมดี กรรมชั่ว นั่นแหละ ที่ตกแต่งให้โลก ได้แก่สัตว์ทั้งหลายนี้ ไม่เหมือนกัน ถ้ากรรมดีมีแล้ว ก็ได้ดั่งใจหมาย จะทำไร่ทำนา ก็เจริญ ค้าขายก็เจริญ ศึกษาเล่าเรียนก็เจริญ ทันสมัยเขา เป็นเจ้าเป็นนาย ฉลาดมีสติปัญญาดี เพราะบุญเป็นเครื่องเสริม นั่นแหละ ถ้าบุญไม่มีแล้ว จะทำอะไรก็ล้าสมัยเขา ผลสุดท้ายก็ บ่าแบกหลังหนุน น้ำเหงื่อไหลไคลย้อย ทุกข์จนค่นแค้นแสนกันดาร ทำงานวันยังค่ำก็ไม่พอกิน

โอ้....เห็น จริงๆ นะ แหม...ผมนั้นรูปร่างล่ำสันใหญ่เขาจ้างให้ขุดโพนใหญ่ ๒-๓ วัน แล้วเลย (เสร็จเลย) พอได้กินสืบวันเท่านั้น นี่มันต่างกัน คนเขาร่ำรวยมีวาสนาไม่ได้ทำมากเท่าใด ก็เหลือกิน เหลือใช้ นั่นแหละคงจะเป็นอย่างว่า เกิดขึ้นเพราะกรรมดี กรรมชั่ว ทั้งนั้น

ที นี้ ก็ตั้งใจเจริญบุญตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ เจริญบุญ ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น เดินภาวนา ยืนภาวนา นั่งภาวนา อดนอน ผ่อนอาหารมาไม่ลดละ เมื่อเจริญมรรค เครื่องส่งจิตเข้าสู่ความสงบได้ ความสุขเยือกเย็นเกิดขึ้นภายใน คือ ความสงบสุขนั้น นั่นแหละก็เห็นอำนาจของบุญ คือ ความสุขเยือกเย็นที่แท้ หาสิ่งใดเสมอเหมือนไม่มี สมัยเป็นฆราวาส กินลาบวัวลาบควายกับเหล้า ก็นึกว่ามันอร่อยเต็มที่แล้วนะ ซุบหน่อไม้ส้มกับปูนา แต่ก่อนนะมันอร่อยแหม ๑๐๐ ครั้ง ก็ไม่เท่าจิตสงบครั้งหนึ่งนะ

จิตสงบครั้งหนึ่ง แหมมันอร่อยเยือกเย็นหาสิ่งใดเสมอเหมือนไม่มี นั่นแหละเป็นรสชาติอันอร่อย การสะสมบุญก็ส่งผลมาเป็นระยะๆ ถ้าบุญพาวาสนาส่งทั้งภพชาติก่อนโน้น จะได้สะสมไว้ในศาสนาพระพุทธเจ้าองค์ก่อนก็ดี มาองค์นี้ก็ดี ก็ขอจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้ามีความยึดมั่นถือมั่นในศาสนาพุทธไม่ลดละ อย่าได้หวั่นไหวไปตามโลก ตามสงสาร มีความยึดมั่นกระสันพอใจเจริญธรรม ทั้งเช้า กลางวัน เย็น กลางคืนอยู่ทุกเวลา ไม่ประมาท นั่นแหละ มันก็เห็น เป็นอย่างนั้น มีความมั่นมาเสมอ
 
๕. ผลบุญช่วยให้แม่พ้นจากนรกมืด

ตั้งแต่ ออกบวช ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ก็ตั้งใจบำเพ็ญบุญไม่ลดละ เดินจงกรม ยืนภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้ว ๔ ทุ่ม ๕ ทุ่ม ก็อุทิศส่วนกุศลไปให้แม่ผู้บังเกิดเกล้าทุกวัน “ปุญญัง อุททิสสะ ทานัง สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ ขอบุญจงไปช่วยเหลือแม่ของข้าพเจ้านะ ชื่อว่า นางเลี่ยม ชมภูวิเศษ ดวงจิตเขานั้นไปสิงสถิตอยู่สถานที่ใด ไกลหรือใกล้นั้น ขอบุญจงไปช่วยเหลือ ให้พ้นจากทุกข์นั้น” นั่นแหละ ก็อุทิศส่วนบุญไปให้อย่างนั้น จนกระทั่งอายุพรรษาล่วงมาได้ ๒๕ พรรษา แม่ก็พ้นจากนรกมืดมาเกิดกับหลานสาว พออายุ ๒ ปี ก็พูดจาได้ความรู้เรื่อง

แม่ยายเขาเรียกใช้ “อีหล้า ไปหยิบของมาให้แม่หน่อย”

“มึงอย่ามาเรียกกู อีหล้า กูเป็นแม่มึงนะ”

“เป็นแม่ได้อย่างไร เพิ่งเกิดมาได้ ๒ ปี”

“สมบัติร่างกายนี้ไม่ใช่แม่หรอก เป็นหลาน แต่ว่าใจของฉันนั้นเป็นแม่ของพวกท่าน”

นั่นแหละ เขาก็เลยมานิมนต์ให้ไปซักไซ้ไต่ถามดู ก็เลยได้ความว่า เคยเป็นแม่ในชาติก่อน เมื่อถามว่า เป็นแม่นั้น มีบุตรกี่คน

เขา ก็ตอบได้ว่า มีบุตร ๖ คน คนที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, และ ๖ เขาก็ไล่ชื่อเสียงเรียงนามได้ทั้งหมด รวมทั้งสามี ภรรยา ญาติมิตรสายโลหิต ปู่ ย่า ตา ยาย เพื่อนบ้าน เขาบอกได้ถูกต้องทุกอย่าง ตลอดจนเรื่องเรือกสวนไร่นานั้น ก็บอกได้ถูกต้อง รวมทั้งหลักฐาน เครื่องหมายต่างๆ ก็บอกได้ ไม่ผิด

แต่แล้วก็ยังไม่ลงเอยกันนะ จึงได้ถามเขาต่อไปอีกว่า “หลวงพ่อ คิดถึงเจ้านั่นแหละ จึงได้ออกบวช แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้ ได้รับหรือไม่ ?”

เขาว่า “ได้รับ ได้รับแต่ตอนกลางคืน ๕ ทุ่ม ได้รับทุกคืน แต่ตอนเช้าไม่ได้รับ ไปอยู่ที่ไหนเล่า ?”

เขา ต่อว่ากลับมาอีก “โอ๋...ตอนเช้าหลวงพ่อ ทำบุญน้อย พอตี ๒ ก็ลุกขึ้นมาทุกวันแล้วนั่งสมาธิตั้งแต่นั้นไป จนกระทั่งรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วก็สวดมนต์ทำวัตรเช้า จากนั้นก็ไปทำกิจวัตร จึงไม่ได้อุทิศส่วนบุญไปให้ อุทิศให้เฉพาะตอนเย็น เพราะตอนเย็นเดินจงกรมตั้งแต่ ๖ โมงเย็นไปจนถึง ๕ ทุ่ม ทุกวัน แล้วก็หยุดยืน นั่งสมาธิ ไหว้พระ สวดมนต์ อุทิศส่วนบุญไปให้ เพราะตอนเย็นนั้น ได้บำเพ็ญบุญมาก”

เขาว่า “ถ้าได้ทั้งเช้าและเย็น ก็คงจะพ้นจากนรกมืดได้ เร็วกว่านี้”

ก็ถามเขาต่อไปว่า ”ไปอยู่นรกมืดนั้นเป็นอย่างไร ?”

เขา ก็ว่า “เมื่อขาดใจแล้ว นายนิริยบาลมาคุมตัวไปฝากไว้ในนรกมืด ไม่มีแสงสว่างเลย มืดทั้งวันทั้งคึน ไม่ได้เเห็นแสงพระอาทิตย์ พระจันทร์เลย”

“ในนรกมีคนมากเท่าไร ?”

“โอ๋...ดวงวิญญาณในนรกมืดนั้นแน่นขนัด อัดแอกันอยู่เหมือนข้าวสารยัดกระสอบนั่นแหละ”

ทีนี้เมื่อพวกท่านอุทิศส่วนบุญไปให้ จ่ายมบาลก็ว่า “นางเลี่ยม ชมภูวิเศษ จงมารับเอาส่วนบุญ ที่ลูกบวชในศาสนาอุทิศมาให้ทุกวันคืน”

นั่น แหละ ฉันก็ดีใจ เมื่อรับเอาบุญทุกวันคืน ตั้งแต่ปี ๒๔๙๐ ไปถึง ๒๕ พรรษา ก็เลยพ้นจากกรรมชั่วช้าลามกทั้งหลายทั้งปวงนั้น มาอยู่เหนืออำนาจการบังคับของจ่ายมบาล เพราะอำนาจของบุญนั้นตัดกระแสของบาปกรรมในนรกออกได้ เขาก็เลยปล่อยไปตามเรื่อง หมดกรรมเวรแล้ว ขอแม่เจ้าจงไปตามเรื่องเถิดจงไปเกิดที่เมืองมนุษย์ แล้วเขาก็เปิดประตูเหล็กให้ เสียงประตูดังสนั่นเหมือนฟ้าร้อง ได้เห็นแสงพระอาทิตย์สว่างจ้าก็ดีใจ แล้วก็หันหน้าไปร้องบอกลาพวกที่ยังอยู่ในนรกว่า

“พี่น้องทั้งหลาย ฉันขอลาไปเกิดเมืองมนุษย์ก่อนนะ”

พวก ที่เหลืออยู่ก็ร้องไห้กันสนั่นหวั่นไหว เหมือนอึ่งอ่างในฤดูฝน ไปไหนไม่ได้ เพราะบาปกรรมรึงรัดผูกมัดไว้กับสถานที่นั้น บาปไม่อนุญาตให้ไป เพราะยังไม่หมดเขตเวรกรรม

จากนั้น จ่ายมบาลก็ว่า ”ขอให้ไปดี โชคแม่มีแล้ว เพราะได้ลูกเป็นนักปราชญ์ชาติเมธี ใจดีมีศีลธรรม ออกบวชบำเพ็ญบุญ ส่งมาให้ก็ดีมาก นับว่าหาได้ยากในโลกนี้”

นั่นแหละ ก็เห็นอำนาจของการบวชบำเพ็ญบุญอุทิศส่วนบุญไปให้ แม่ไปตกนรกมืด บุญก็ไปช่วยเหลือให้มาเกิดในตระกูลเดิมได้ ก็หมดความห่วงใยอาลัยแล้วได้เห็นผลประจักษ์อย่างนั้น


๖. ทำบุญกับพระทุศีล อุทิศให้ไม่ถึง

ทีนี้ก็ย้อนมาถามพี่สาวบ้างว่า “ไม่ได้ทำบุญอุทิศไปให้แม่บ้างหรือ ?”

พี่สาวก็ว่า ทำ ๓ ครั้ง น้าสาว (น้องแม่) เขาคิดถึงพี่สาวเขาก็เลยพาหลานสาวทำบุญอุทิศไปให้แม่ ทำถึง ๓ ครั้ง

“ทำอย่างไรเล่า ?”

น้า สาวพาทำบุญใส่เหล้าลงไปครั้งละโหลนะ ครั้งละโหล ไหใหญ่ ๆ ฝังไว้ในป่าสับปะรด ป่ากล้วย ฆ่าวัว ฆ่าควาย สมัยนั้นวัวควายราคาถูก ทำบุญแต่ละครั้งหมดวัวควายไป ๔ - ๕ ตัว ตัวละ ๑๐ สลึงก็มี ตัวละ ๖ สลึงก็มี บาทหนึ่งก็มี ๕๐ สตางค์ก็มี สมัยนั้นวัวควายไม่มีราคา

“แล้วพระที่ไปทำบุญด้วยนั้น มีการประพฤติปฏิบัติอย่างไร ?”

“โอ๋...พระ เหล่านั้น กินข้าวแลงแกงร้อน (กินข้าวมื้อเย็น) เล่นสีกงสีกานารี ขุดดิน ฟันไม้ ถือเงินบายทอง (ใช้จ่ายเงินทองเยี่ยงฆราวาส) และที่วัดนั้นมีหมาพรานอยู่คู่หนึ่ง เย็นค่ำขึ้นมาก็พาหมาเข้าป่าไปล่าสัตว์ อีเห็น กระต่าย ได้มาก็เอามาทำอาหารกิน กินเหล้า กินยา ต่างๆ นานา”

ถ้าทำบุญอย่างนั้นก็ไม่ได้บุญหรอก ถึงจะอุทิศไปให้ก็ไม่ได้รับหรอก เหตุที่อุทิศไปให้ไม่ถึงก็เพราะ

๑) ฆ่าวัว ฆ่าควาย กรรมของสัตว์เหล่านั้นไปขวางไว้

๒) ผู้รับทานนั้น เป็นพระทุศีล พระทุศีล อุทิศให้ไม่ถึงนะ เพราะเครื่องส่งนั้นคือศีลนั้นมันขาด ขาดศีลเป็นเครื่องส่งบุญ แม้ตัวพระเองก็ไม่ได้รับ เพราะมีแต่บาป จะรับไทยทานส่งไปให้ผู้อยู่โลกหน้าก็ไม่ถึงทั้งนั้น

๗. ทำบุญอุทิศให้คนเป็น

หลวง ปู่ยังเล่าไว้อีกว่า หลานชายซึ่งเป็นลูกของพี่สาวเป็นทหารเสือพรานไปรบที่เวียดนามเหนือ แล้วถูกเขาจับขังไว้ ๔ ปีนะ ทุกข์ยากลำบากแสนที่จะตาย ก็นึกว่าจะไม่ได้กลับเมืองไทย ทีนี้ พี่สาวกับพี่เขย เขาก็มานิมนต์พาไปทำบุญหาหลานสงสัยจะตายไปแล้ว มาถึงก็พาเขาทำเลย อย่าฆ่าวัว ฆ่าควายนะ ถ้าต้องการก็ไปหาเนื้อปลาอาหารที่ตลาดที่เขาทำไว้แล้ว จึงจะอุทิศถึง นั่นแหละก็เลยทำ ทำเสร็จก็อุทิศให้ว่า

“ขอบุญจงไปถึง นายแขก เขาไปอยู่เวียดนามเหนือนั้นจะตายหรือยัง ถึงตายแล้วก็ดี หรือยังอยู่ก็ดี ขอบุญจงไปช่วยเหลือ ถ้ายังไม่ตายขอให้กลับคืนมาเมืองไทย”

ไม่ นานเขาก็มีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกกันนะ รัฐบาลเขาประกาศว่า ใครมีลูกมีหลาน ก็ไปรอรับเอาที่ขอนแก่น หรือโคราชนะ เขาจะขึ้นเครื่องบินมาลงที่นั่น นั่นแหละพี่น้องเขาก็ไปรอรับ โอ๋...ผอมดำเหมือนผี กลับมาแล้ว เขาก็ซักไซ้ไต่ถามดูว่า

“เป็นอย่างไรเล่า ทำบุญให้ได้รับไหม ?”

“โอ้...เดือน ๓ เพ็ญ นอนหลับฝันไปนะ มีแต่ข้าวต้มขนมเต็มอยู่ กินจนเต็มอิ่มนะ ตื่นขึ้นมาก็อิ่มอีกนะ โอ๊...อาจจะแม่นพ่อแม่เขาทำบุญมาให้นะ”

นั่นแหละไม่นานก็พ้นโทษ รัฐบาลทั้ง ๒ ก็แลกเปลี่ยนเชลยศึกกัน กลับมาแล้วก็ดีใจ นั่นแหละผลของบุญดีอย่างนั้น  

คัดลอกมาจาก หนังสือ 80 ปี หลวงปู่จันทา ถาวโร
http://www.geocities.com/janthathavaro/

ข้อมูลได้มาจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21128


Monday, February 27, 2012

What is meditation?



There are many things in life that are beyond our control. However, it is possible to take responsibility for and to change one’s state of mind. According to Buddhism this is the most important thing we can do, and Buddhism teaches that it is the only real antidote to the anxiety, hatred, discontentedness, sleepiness, and confusion that beset the human condition.
Meditation is a means of transforming the mind. 

Buddhist meditation practices are techniques that encourage and develop concentration, clarity, emotional positivity, and a clear seeing of the true nature of things. By engaging with a particular meditation practice one learns the patterns and habits of the mind, and the practice offers a means to cultivate new, more positive ways of being. With discipline and patience these calm and focused states of mind can deepen into profoundly tranquil and energised states of mind. Such experiences can have a transformative effect and can lead to a new understanding of life.

Over the millennia countless meditation practices have been developed in the Buddhist tradition. All of them may be described as ‘mind-trainings’, but they take many different approaches. The foundation of all of them, however, is the cultivation of a calm and positive state of mind.

Learning meditation

Every year thousands of people learn meditation with the Triratna Buddhist Community. We teach two basic meditations that were originally taught by the historical Buddha. These help develop the qualities of calmness and emotional positivity: the Mindfulness of Breathing and Loving-Kindness (Metta Bhavana) meditations. 

The techniques of meditation are very simple. However, reading about them is no substitute for learning from an experienced and reliable teacher. A teacher will be able to offer you guidance in how to apply the technique and how to deal with difficulties. Perhaps most importantly, a teacher can offer the encouragement and inspiration of their own example.
At Triratna Centres meditation is taught by members of the Triratna Buddhist Order, who are experienced meditators. Classes and courses are open to everyone: you need not be interested in Buddhism. Motives for learning meditation vary. Some people want to improve their concentration for work, study, or sports; others are looking for calm and peace of mind. Then there are people trying to answer fundamental questions about life. With regular practice, meditation can help all of us to find what we are looking for. Meditation Courses are excellent contexts for learning. Meditation Retreats offer ideal conditions to take things further.

Preparation

When you sit down to meditate you need to set up your meditation posture in a way that is relaxed but upright, usually sitting on a cushion and probably cross-legged. If this is not easy you can sit kneeling or else in a chair. Then you close your eyes, relax, and tune in to how you are feeling. It is important to be sensitive to your experience because this is what you work with in meditation. It is a good idea to take some time to sit quietly before starting a meditation, to slow down and relax. Some gentle stretching can also help.


Mind And Body

Buddhism teaches that the mind and the body cannot be understood independently of one another. This means that as well as cultivating the mind through meditation, the physical dimension of being is also very important. 

So as well as teaching meditation, many Triratna centres also teach classes in yoga, and some hold classes or retreats in tai chi, Aikido, and karate. Although these are not part of the core curriculum of centres, many people find huge benefits from practising such physical trainings with experienced teachers.

Look for your local Triratna Centre to see if it offers classes like these.

Learn how to do some basic breath and body work with this free guided introduction by Paramananda, from his bestselling book Change Your Mind.

Listen to a body scan meditation by Vidyamala.

 

Resources

There are lots of resources available to help you learn meditation – or to take your practice deeper.
Read an excellent meditation posture guide by Bodhipaksa, from Wildmind.
You can find answers to some common questions about Buddhist meditation with Clear Vision video.
For a comprehensive set of free audio and text resources on learning meditation, see free buddhist audio’s meditation pages.

What is Buddhism?

Buddhism is a path of practice and spiritual development leading to Insight into the true nature of reality. Buddhist practices like meditation are means of changing yourself in order to develop the qualities of awareness, kindness, and wisdom. The experience developed within the Buddhist tradition over thousands of years has created an incomparable resource for all those who wish to follow a path — a path which ultimately culminates in Enlightenment or Buddha hood. An enlightened being sees the nature of reality absolutely clearly, just as it is, and lives fully and naturally in accordance with that vision. This is the goal of the Buddhist spiritual life, representing the end of suffering for anyone who attains it.

Because Buddhism does not include the idea of worshiping a creator god, some people do not see it as a religion in the normal, Western sense. The basic tenets of Buddhist teaching are straightforward and practical: nothing is fixed or permanent; actions have consequences; change is possible. So Buddhism addresses itself to all people irrespective of race, nationality, caste, sexuality, or gender. It teaches practical methods which enable people to realize and use its teachings in order to transform their experience, to be fully responsible for their lives.

There are around 350 million Buddhists and a growing number of them are Westerners. They follow many different forms of Buddhism, but all traditions are characterized by non-violence, lack of dogma, tolerance of differences, and, usually, by the practice of meditation.


Who Was the Buddha?
Buddhism started with the Buddha. The word ‘Buddha’ is a title, which means ‘one who is awake’ — in the sense of having ‘woken up to reality’. The Buddha was born as Siddhartha Gautama in Nepal around 2,500 years ago. He did not claim to be a god or a prophet. He was a human being who became Enlightened, understanding life in the deepest way possible.
Siddhartha was born into the royal family of a small kingdom on the Indian-Nepalese border. 

According to the traditional story he had a privileged upbringing, but was jolted out of his sheltered life on realizing that life includes the harsh facts of old age, sickness, and death.

This prompted him to puzzle over the meaning of life. Eventually he felt impelled to leave his palace and follow the traditional Indian path of the wandering holy man, a seeker after Truth. He became very adept at meditation under various teachers, and then took up ascetic practices. This was based on the belief that one could free the spirit by denying the flesh. He practiced austerities so determinedly that he almost starved to death.

But he still hadn’t solved the mystery of life and death. True understanding seemed as far away as ever. So he abandoned this way and looked into his own heart and mind; he decided to trust his intuition and learn from direct experience. He sat down beneath a pipal tree and vowed to stay there until he’d gained Enlightenment. After 40 days, on the full moon in May, Siddhartha finally attained ultimate Freedom.

Buddhists believe he reached a state of being that goes beyond anything else in the world. If normal experience is based on conditions — upbringing, psychology, opinions, perceptions — Enlightenment is Unconditioned. A Buddha is free from greed, hatred and ignorance, and characterised by wisdom, compassion and freedom. Enlightenment brings insight into the deepest workings of life, and therefore into the cause of human suffering — the problem that had initially set him on his spiritual quest.

During the remaining 45 years of his life, the Buddha traveled through much of northern India, spreading his understanding. His teaching is known in the East as the Buddha-Sharma or ‘teaching of the Enlightened One’.

He reached people from all walks of life and many of his disciples gained Enlightenment. They, in turn, taught others and in this way an unbroken chain of teaching has continued, right down to the present day.

The Buddha was not a god and he made no claim to divinity. He was a human being who, through tremendous effort of heart and mind, transformed all limitations. He affirmed the potential of every being to reach Buddha hood. Buddhists see him as an ideal human being, and a guide who can lead us all towards Enlightenment.




ที่มา @ thebuddhistcentre.com